เสียงจากผู้นิยมกษัตริย์ในอเมริกา
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314358982&grpid&catid=02&subcatid=0207
-----------------------------------------------------
สื่ออังกฤษตีแผ่ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ใช้องค์กรการกุศลบังหน้า หวังแทรกแซงทางการเมือง
Tue, 2011-08-30 12:52
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียนของอังกฤษเปิดเผยว่า องค์กรการกุศลในราชูปถัมป์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการล็อบบี้รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองที่อ่อนไหวในหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการ์เดียนชี้ว่า การกระทำดังกล่าว จะทำให้ข้อถกเถียงเรื่องบทบาททางการเมืองของราชวงศ์ กลายประเด็นอีกครั้งหนึ่ง
หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน ได้เปิดเผยจดหมายโต้ตอบระหว่างมูลนิธิในเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เช่น มูลนิธิธุรกิจในชุมชน (Business in the Community), มูลนิธิในราชูปถัมป์เพื่อสิ่งปลูกสร้าง (the Prince’s Foundation for the Built Environment) กับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐในกระทรวงต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความพยายามขององค์กรในราชูปถัมป์ต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐ เช่น เรื่องการออกแบบผังเมือง การลดภาษีมูลค่าเพิ่มในการบูรณะสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ เป็นต้น
จดหมายดังกล่าว ซึ่งนสพ. เดอะ การ์เดียน ได้มาจากการร้องขอผ่านพ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร เปิดเผยว่า Ros Kerslake ประธานกรรมการบริหารกองทุนบูรณะในราชูปถัมป์ (Prince’s Regeneration Trust) ได้เข้าพบ Grant Shapps รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะ เพื่อกดดันกรมคลังให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มในการฟื้นฟูบูรณะสิ่งก่อสร้าง นสพ.การ์เดียน ยังเปิดเผยว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จะได้ประโยชน์จากการลดอัตราภาษีดังกล่าวในการดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์ของพระองค์ด้วย
การกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดข้อกังวลว่า การใช้อำนาจทางการเมืองของฟ้าชายชาร์ลส์อาจก่อให้เกิดปัญหาทางรัฐธรรมนูญ
ศาสตราจารย์อดัม ทอมกินส์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ กล่าวว่า เนื่องจากมูลนิธิดังกล่าวก่อตั้งโดยเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งอาจแฝงวาระทางการเมืองไว้ ทำให้อาจมองได้ว่า การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นการแทรกแซงทางการเมือง และบั่นทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันซึ่งควรอยู่เหนือการเมือง
นอกจากนี้ มูลนิธิของเจ้าชายชาร์ลส์ ยังถูกมองว่า ใช้อภิสิทธิ์ในการเข้าถึงการพิจารณางบประมาณได้ง่ายและรวดเร็วมากกว่าองค์กรการกุศลอื่นๆ ทั่วไป
พอล ริชาร์ด รัฐมนตรีกระทรวงชุมชนและสุขภาพมองว่า ในความรู้สึกของตน มูลนิธิดังกล่าวได้รับสถานะพิเศษ และได้รับอภิสิทธิ์มากกว่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะภายใต้รัฐบาลใดๆ
“เมื่อมีจดหมายจากฟ้าชายชาร์ลส์เข้ามา [ในรัฐสภา] จะมีความรู้สึกของการวิ่งเต้นเป็นพิเศษ และช่องทางในการเข้าถึงสำหรับตำแหน่งและมูลนิธิของพระองค์ ก็ดูเหมือนจะง่ายมาก อย่างที่องค์กรอื่นๆ เทียบไม่ได้” ริชาร์ดกล่าว
ทั้งนี้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เป็นประธานมูลนิธิการกุศลทั้งหมด 20 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด พระองค์เป็นผู้ก่อตั้ง 18 แห่ง และถูกมองอย่างกว้างขวางว่า เป็นความพยายามของพระองค์ ในการขยายอิทธิพลทางด้านนโยบายสังคมและสิ่งแวดล้อมในสหราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตาม โฆษกของสำนักพระราชวังของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ กล่าวว่า มูลนิธิดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระที่มีคณะกรรมการเป็นผู้ดูแลกำกับ และมีการสื่อสารกับรัฐบาลอยู่แล้วเป็นเรื่องปรกติ
ก่อนหน้านี้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ ในเรื่องความพยายามใช้อิทธิพลส่วนตนต่อนโยบายสาธารณะ โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพบว่า พระองค์โปรดให้รัฐมนตรีจากหลายกระทรวงเข้าพบเป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพัฒนานานาชาติ แต่การพูดคุยดังกล่าว ถือว่าเป็นความลับ เนื่องจากเป็นข้อยกเว้นในพ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร จึงไม่อาจเปิดเผยได้ อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นของพ.ร.บ. ดังกล่าวไม่สามารถใช้กับองค์กรการกุศล
ศาสตราจารย์อดัม ทอมกินส์ ตั้งคำถามว่า การตั้งองค์กรเครือข่ายเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง เช่น มูลนิธิในราชูปถัมป์ดังกล่าว สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐธรรมนูญระบุไว้หรือไม่
“แผนการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทำให้เราตั้งคำถามว่า การทำงานรณรงค์เพื่อสาเหตุที่ดี [ขององค์กรการกุศล] แต่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองแฝงอยู่ด้วยเช่นนี้ จะทำลายการดำรงตนที่เหมาะสมของสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะการอยู่เหนือการเมือง และความเป็นกลางหรือไม่” ศาสตราจารย์ม.กลาสโกว์ กล่าว
อนึ่ง ในปี 2552 มูลนิธิในราชูปถัมป์เพื่อสิ่งปลูกสร้าง (the Prince’s Foundation for the Built Environment) ได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการการกุศล (Charity Commission) หลังจากได้รับการร้องเรียนว่า มูลนิธิดังกล่าว ใช้อิทธิพลส่วนพระองค์แทรกแซงการออกแบบสิ่งปลูกสร้างแห่งหนึ่งในลอนดอน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ คณะกรรมการฯ ได้ชี้แจงว่า ไม่มีการกระทำใดๆ ของมูลนิธิที่อยู่นอกเหนือจุดมุ่งหมายทางการกุศล
http://www.prachatai3.info/journal/2011/08/36692
-----------------------------------------------------
<<< การเปิดโอกาสให้วิจารณ์ราชวงศ์อังกฤษโดยไม่ผิดกฏหมาย ทำให้ราชวงศ์อังกฤษปรับปรุงตัวให้ทันยุคสมัยก่อนที่จะสายเกินแก้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/03/blog-post_16.html
-----------------------------------------------------
เมื่ออ่านทั้งฝ่ายที่เพรียกหาระบอบราชาธิปไตยในอเมริกา
และฝ่ายที่เริ่มเอือมระอาระบอบราชาธิปไตยในอังกฤษแล้ว
คิดว่าคงเข้าลักษณะคนในอยากออกคนนอกอยากเข้า
ของคนบางกลุ่มบางส่วนในสองประเทศนี้
พวกที่เคยอยู่ระบอบเดิมๆ ก็อยากเปลี่ยนใหม่
ซึ่งมีคนแบบนี้ทุกประเทศทุกระบอบการปกครอง
เหมือนนิสัยสองลักษณะ
พวกหนึ่งชอบยึดมั่นทำตามแบบแผน
แต่อีกพวกชอบการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
ซึ่งทั้งสองพวกนี้มีอยู่ทุกที่
อังกฤษก็มี อเมริกาก็มี ประเทศไหนๆ ก็มี
พวกชอบทำตามแบบแผนนี่
ไม่ใช่เฉพาะพวกที่นิยมแนวระบอบราชาธิปไตยอย่างเดียว
ถ้าเป็นอเมริกาก็จะเป็นพวกนิยมระบอบประธานาธิบดี
ส่วนพวกอยากเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศ
ก็จะถือเป็นพวกชอบการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
ประเทศอังกฤษคือแม่แบบระบอบราชาธิปไตย
ประเทศอเมริกาคือแม่แบบระบอบประธานาธิบดี
ซึ่งเป็นรูปแบบประชาธิปไตยต่างกัน
แต่ไม่ว่าคนสองประเทศนี้จะเลือกระบอบใด
หรือจะเชียร์สนับสนุนชื่นชมระบอบใดๆ ก็ตาม
ถ้าคนของทั้งสองประเทศแม่แบบประชาธิปไตย
ไม่เป็นเสรีชนก็ไร้ประโยชน์
กรณีระบอบราชาธิปไตยแบบอังกฤษ
ถ้าคนอังกฤษไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
ชาวโลกก็อาจจะไม่เห็นเรื่องอื้อฉาวอย่างที่เป็นข่าว
หรืออาจไม่มีเรื่องราวที่ไม่ดีของราชวงศ์ให้ได้ยินให้ได้เห็น
หรือหนักหน่อยก็อาจไม่มีระบอบกษัตริย์อีกต่อไป
เหมือนหลายๆ ประเทศที่ระบอบกษัตริย์ล่มสลายไปแล้ว
ล่าสุดคือประเทศเนปาล
<<< การปฏิวัติอเมริกา >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_14.html
<<< วันนั้นที่เนปาล ใครจะนึกว่า จะมีวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/1-httpmaha-arai.html
<<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_05.html
ส่วนกรณีระบอบประธานาธิบดีแบบอเมริกาก็เหมือนกัน
ถ้าคนอเมริกันเงียบเป็นเป่าสากไม่กล้าตรวจสอบ
หรือกล้าวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีของเขา
ระบอบประธานาธิบดีของอเมริกาก็อาจไม่แตกต่างกับ
ระบอบประธานาธิบดีในหลายๆ ประเทศตอนนี้
ที่โดนประชาชนขับไล่ เช่น ตูนีเซีย อียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย เป็นต้น
<<< ลำดับเหตุการณ์ สงครามกลางเมืองลิเบีย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/04/blog-post_6146.html
<<< ซีเรียกำลังเข้าสู่โหมดลิเบียโมเดล >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_6071.html
จะเห็นได้ว่ายังไม่มีระบอบการปกครองที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ที่เห็นว่ายังพอดูดีสำหรับระบอบประชาธิปไตยพอเป็นตังอย่างได้
ก็คือประเทศแม่แบบประชาธิปไตยทั้งสองแบบดังกล่าว
ที่ยังดูดีพอจะเป็นสังคมศิวิไลซ์ได้
ก็เพราะยังมีชาวศิวิไลซ์อยู่มากๆ นั่นเอง
ตัวอย่างความเป็นศฺวิไลซ์กรณีอเมริกา
จะเห็นได้ว่าทั้งๆ ที่ตอนนี้ปกครองระบอบประธานาธิบดี
แต่เขายังใจกว้างให้วิจารณ์ระบอบประธานาธิบดี
แถมยังปล่อยให้พลเมืองเขารณรงค์ให้คนทั่วไป
สนับสนุนระบอบราชาธิปไตยได้อย่างเปิดเผย
ถ้าใจแคบก็จะโดนข้อหา
เป็นภัยต่อความมั่นคงระบอบประธานาธิบดีได้
เช่นเดียวกับกรณีอังกฤษที่มีโอกาสได้รับรู้
เรื่องอื้อฉาวของราชวงศ์หรือได้เห็นได้ยิน
เสียงวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ของเขาต่างๆ นาๆ
ทั้งจากสื่อ นักการเมือง และคนทั่วไป
แถมยังทำโพลล์ไม่เอาระบอบได้อีก
นี่ก็ใจกว้างเป็นทะเลเหมือนกันถึงทำได้
ไม่งั้นโดนยัดข้อหาตรงกันข้ามกับกรณีอเมริกา
ที่สำคัญคนอังกฤษพัฒนาเป็นเสรีชนค่อนข้างมากแล้ว
ถึงกล้าแสดงออกแบบนี้ หรือว่าไม่มีกฏหมายบังคับก็เป็นได้ อิอิ
" ดินแดนนไหนๆ ถ้ามีชาวศิวิไลซ์อยู่มากๆ
ไม่ว่าดินแดนนั้นจะปกครองด้วยระบอบอะไร
ก็สามารถกล่าวได้ว่า ดินแดนนั้นเป็นดินแดนศิวิไลซ์แล้ว "
-----------------------------------------------------------
<<< ยุคชาวศิวิไลซ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_7952.html
<<< ดินแดนศิวิไลซ์ในฝัน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_278.html
-----------------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
FfF