เสรียันแล้งจัด 55-56ไม่มีน้ำ 59-60ท่วมอีก
"ดร.เสรี" ฟันธงปีนี้น้ำไม่ท่วมใหญ่เหมือนปี 54 แต่ปี 55-56 ไทยเจอภัยแล้งหนัก แนะปรับแผนพร่องน้ำจากเขื่อนมากกว่า 45% คาดปี 59-60 เจอท่วมใหญ่อีกระลอก ครม.อนุมัติงบ 2.4 หมื่นล้านทั้งที่ไม่มีรายละเอียดโครงการ อ้างป้องกันน้ำท่วมไม่ทัน "ปู" เผยไม่เกิน 1 เดือนเปิดพื้นที่รับน้ำพร้อมหลักเกณฑ์เยียวยา
เมื่อวันอังคาร ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในงานสัมมนากรมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการภัยพิบัติเชิงรุกและตั้งรับ จัดโดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ว่า การคาดการณ์ด้านภูมิอากาศของ JAMSTEC ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความแม่นยำในการพยากรณ์ รายงานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ปี 2555 เป็นต้นไป ไทยจะเผชิญความแห้งแล้ง และในปี 2556 จะเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งภัยแล้งรุนแรง เป็นอิทธิพลจากการลดลงของปรากฏการณ์
ลานีญาในมหาสมุทรแปซิฟิก
เขาบอกว่า ปีนี้ปริมาณฝนกลางปีถึงปลายปีจะน้อยกว่าปกติ ปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 15-20% โอกาสปริมาณน้ำจะเต็มเขื่อนเช่นปี 2554 เป็นไปได้ยาก และสถานการณ์การขาดแคลนน้ำจะเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนในปีหน้า ซึ่งหาก กยน.ยังใช้มาตรการเดิมตามแผนปล่อยน้ำในเขื่อนเหลือ 45%ในเดือน พ.ค.นี้ อาจทำให้เหลือปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อยมาก นอกจากนี้ ในปี 2556 จะเป็นภัยแล้งที่รุนแรง จึงจำเป็นต้องปรับแผนการพร่องน้ำเพื่อให้น้ำในอ่างเหลือมากกว่า 45% เส้นกราฟปล่อยน้ำจึงต้องยืดหยุ่นให้เข้าสถานการณ์
"ปีนี้แนวโน้มไม่ท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 แต่เราจะเผชิญภัยแล้งมาก เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ 70% อีก 30% คือน้ำท่วม จึงเป็นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ นอกจากปรับแผนพร่องน้ำต้องเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เพราะการปลูกข้าว 1 ล้านไร่ ใช้น้ำ 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร หากเกษตรกรยืนยันจะปลูกข้าวนาปรัง 10 ล้านไร่น้ำไม่เพียงพอแน่ๆ รัฐจำเป็นต้องบอกว่ามีน้ำปริมาณเพียงเท่านี้ และวางแผนให้เกษตรกรปลุกพืชระยะสั้นหรือพืชทนแล้ง" ดร.เสรีกล่าว และว่า น้ำแล้งจึงเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมองควบคู่กันไป จะแก้แต่น้ำท่วมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับปัญหาภัยแล้งด้วย
ดร.เสรีกล่าวอีกว่า แผนแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลจะมีการสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราวทางฝั่งตะวันออก แต่ยังไม่เคยทำความเข้าใจกับชุมชนหรือเจรจาเพื่อหาข้อสรุปเรื่องค่าชดเชย ซึ่งจะทำให้ปฏิบัติงานตามแผนได้ ปัจจุบันหน่วยปฏิบัติการยังไม่สามารถทำงานได้ทั้งที่เหลือเวลาอีก 4-5 เดือนก็จะถึงหน้าน้ำ
นักวิชาการด้านน้ำให้ความเห็นอีกว่า หลังจากนายกรัฐมนตรีทัวร์จังหวัดน้ำท่วม ซึ่งทำให้มีมาตรการป้องกันและแผนการเตรียมการ พร้อมทั้งฟลัดเวย์และการผันน้ำ ที่แต่ละจังหวัดเสนอให้ กอนช.พิจารณา แต่เหมือน "จิกซอว์" ที่ต่อกันไม่ติด เพราะต่างคนต่างคิด หลายโครงการไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่ง กอนช.ต้องกลับไปดูว่าแต่ละแผนที่ออกมาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
"อนาคตเราหนีไม่พ้นน้ำท่วมแน่ แม้ปีนี้โอกาสน้ำมาน้อยมาก แต่ปี 2559-2560 คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมอีกและรุนแรงกว่าปี 2554 ในพื้นที่อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกที่เป็นฟลัดเวย์และฝั่งตะวันตกที่มีปัญหาแม่น้ำท่าจีนรับน้ำได้น้อย" ดร.เสรีกล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติกรอบงบประมาณการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนปี 55 จำนวน 246 โครงการ วงเงินรวม 24,828,820,500 บาท ตามที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ที่ประชุมเป็นห่วงว่าเนื่องจากการเสนอโครงการครั้งนี้ไม่มีการจัดทำแผนบริหารโครงการหรือรายละเอียดของโครงการ มีเพียงแต่หัวข้อของโครงการเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมให้เสร็จทันภายใน เดือน พ.ค.-มิ.ย.2555 จึงจำเป็นต้องอนุมัติให้ดำเนินการไปก่อน
ทั้งนี้ เมื่อที่ประชุม ครม.เห็นชอบในวันนี้แล้ว ให้ส่งรายละเอียดของโครงการให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้เจ้าของโครงการ แต่ต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) รับทราบก่อนที่จะอนุมัติเงินงบประมาณให้
"การพิจารณาครั้งนี้ ถือเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะ 246 โครงการนี้เท่านั้น เนื่องจากว่าถ้าทำตามขั้นตอนก็จะต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทำให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ทันแน่นอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำในที่ประชุม ครม.ในการพิจารณาโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งต่อไป จะต้องทำตามขั้นตามระเบียบสำนักงบประมาณ โดยให้เจ้าของโครงการต้องเสนอโครงการพร้อมรายละเอียดและแผนบริหารเสนอผ่าน กบอ.ก่อน เมื่อ กบอ.ทำเรื่องและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) จึงเสนอให้ครม.ให้ความเห็นชอบ จึงออกระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการบริหารโครงการเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำฯ ขึ้นมาบังคับใช้ก่อน" แหล่งข่าวกล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพื้นที่รับน้ำ 2 ล้านไร่ หลังจากมีการเสนอที่เข้ามาถึง 3 ล้านไร่ว่า ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมา สามารถหาพื้นที่ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ เราคงไม่ประกาศพื้นที่รับน้ำทันที เพราะทุกบาททุกสตางค์เป็นงบประมาณ ซึ่งรายละเอียดต้องให้ไปดูและวางพิกัดในจีพีเอสด้วย ถึงจะรู้ว่าแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำนองจริงๆ ดังนั้นคณะกรรมการ กนอช.จึงให้ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม เลยยังไม่ประกาศให้ประชาชนทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คงต้องทำอยู่แล้ว แต่วันนี้ยังไม่ทำ เพราะเร็วเกินไป เราต้องเอาแผนทั้งหมดในการพยากรณ์เรื่องของปริมาณน้ำ ซึ่งจะเป็นส่วนสัมพันธ์กัน โดยจะทยอยให้หลักเกณฑ์มากกว่า และต้องการให้คุยกับประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับกันก่อน ซึ่งคงไม่เกินเดือนหน้า แต่อยากให้เกิดความรอบคอบ จึงได้ให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง ประมาณไม่เกิน 1 เดือนคงจะมีการประกาศทั้งหมด ส่วนหลักเกณฑ์การเยียวยาพื้นที่รับน้ำจะมาพร้อมๆ กันทั้งหมด
เมื่อถามว่า จากที่อนุมัติงบประมาณจัดการบริหารน้ำจำนวนมาก มีมาตรการตรวจสอบอย่างไรเพื่อป้องกันการทุจริต น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราห่วงมาก มาตรการทั้งหมดที่เราอนุมัติผ่านการกลั่นกรอง โดยมีคณะกรรมการ กบอ. และไปยัง กอนช. สุดท้ายกลับมาที่ ครม.เหมือนเดิม รวมทั้งขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งถือว่าขั้นตอนกลั่นกรองเกี่ยวกับเรื่องน้ำขึ้นมามากขึ้นด้วยซ้ำ.
http://www.thaipost.net/node/53983
-----------------------------------------------
"กิจจา" วอน"ยิ่งลักษณ์"หาคนเก่งมาบริหารน้ำแทน"ปลอดประสพ"
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2555 เวลา 18:21 น.วันนี้( 27 ส.ค.) นายกิจจา ผลภาษี อดีตอธีบดีกรมชลประทาน และคณะกรรมการ กยน.เปิดเผยถึงการบริหารจัดการน้ำของ กบอ.และรัฐบาล กล่าวว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ควรคิดด้วยตัวเองว่าจะให้ใครทีี่มีความรู้ความสามารถและอยู่กับน้ำมาตลอดชีวิต มาบริหารจัดการน้ำทั้งระบบแทนนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯและประธาน กบอ.จะเกิดประโยนช์มากเพราะนายปลอดประสพไม่มีความรู้ลึกซึ้งเรื่องน้ำที่จะต้องบริหารความจริงและต้องใช้ความร่วมมือความรู้จริงจากฝ่ายปฎิบัติไม่ใช่นั่งดูแต่สถิติหรือใช้ทษฎีเป็นหลัก และนายกฯอย่าทิ้งกรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรฯที่มีคนเก่งๆอีกมากที่เขาต้องการทำเพื่อประเทศชาติ ตนไม่รู้จะพูดอย่างไรเพราะถอยออกมาแล้ว และเห็นท่าไม่ดีซึ่งการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆของประเทศตั้งช่วยกันจริงๆด้วยความคิดสติปัญญาทุ่มเทเต็มทีทุกคนมาเพื่อชาติแต่เอาการเมืองและหวังผลทางการเมืองก็ถอยกันหมด
"ผมเข้าไปต้องการทำเพื่อชาติ เมื่อวางทุกอย่างไว้แล้วก็ถอยออกมาเพราะมีอะไรไม่ชอบมาพากล แต่แผน 8 แผนที่ทำไว้บูรณาการน้ำทั้งระบบสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติและลงมือทำได้ทันที ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปหาโมเดลจากประเทศไหนอีกเพราะทุกโครงการล้วนอยู่ในหน้าที่ของของหน่วยงานน้ำ 20 กว่าหน่วยงานแล้วเพียงแต่ยังไม่ลงมือทำเท่านั้น ซึ่งผมยังไม่หมดหวังที่ประเทศไทยจะเกิดโครงการดีๆในการพัฒนาระบบน้ำ เชื่อว่าคนดีๆเก่งๆยังมีอีกมาก รอบๆตัวนายกรัฐมนตรี ถ้าเลือกรู้จักใช้คนเป็น"นายกิจจา กล่าว
"สมัยที่ผมเป็นอธิบดีกรมชลประทาน ผมวางมาตรการไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมของทุกปีว่าว่าปีนี้จะมีน้ำให้ชาวนาทำนาปรังได้กี่ล้านไร่ ปล่อยน้ำปริมาณเท่าไหร่เหลือปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนเท่าไหร่เพื่อวางมาตรการสำหรับปีถัดไปเพราะจุดประสงค์สำคัญของการสร้างเขื่อนไว้เพื่อเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค การเกษตร และรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ใช้เอาไว้ป้องกันอุทกภัย ต่อไปนี้ต้องปรับมาตรการใหม่จากรับมืออุทกภัยมาเป็นเตรียมรับมือภัยแล้ง ให้เขื่อนเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุดรวมทัั้งเก็บน้ำไว้ในลำน้ำด้วย เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งปรับเมื่อมีคนรู้น้ำเตือนมาไม่ใช่มานั่งด่ากันอยู่อย่างนี้"นายกิจจา กล่าว
อดีตอธิบดีกชลประทาน กล่าวอีกว่า แนวโน้มภัยแล้งเกิดขึ้นแล้วมีปรากฎการณ์แอลนิโญ่เริ่มขึ้นในฝั่งซ้ายของมหาสุมทรแปซิฟิก จะเห็นว่าพายุเข้ามาแล้วประเทศฟิลิปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน โดนอ่วมกันหมดถล่มตัวเมืองเลยแต่ประเทศไทยรอด ซึ่งแนวโน้มจะเกิดแล้งรุนแรงในปีหน้าหากมีปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่แค่ 42 เปอร์เซนต์ เสี่ยงปี 56 เกิดวิฤกติขาดแคลนน้ำรุนแรง ซึงภัยแล้งจะกินเวลาประมาณ หนึ่งปีถึงสองปี เรียกว่าแล้งซ้ำซากต่อจากนั้นก็จะท่วมอีก มันเป็นวัฐจักร อย่างไรก็ตามเดือนกันยายน อาจจะมีหางพายุเข้ามาแต่ไม่ทราบว่าจะตกเหนือเขื่อนหรือไม่ ถ้าไม่มีน้ำฝนเข้ามาเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนและในลำน้ำ ปี56 ถึง 57 น่าห่วงมากที่สุด
http://www.dailynews.co.th/politics/151912
-----------------------------------------------
เบื้องหลัง! ทำไม? ต้องทดสอบระบายน้ำในกรุงเทพฯ "รอยล" ยันปีนี้ไม่ท่วม แต่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08:15:03 น.
เมื่อน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ปัญหาหนึ่งที่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) พูดถึง นั่นก็คือ ปัญหาเรื่องคลอง โดยดร.รอยล บอกว่า คลองในกรุงเทพมหานคร (กทม.) หายไป เพราะคลองกลายเป็นถนน เช่น ที่ถนนอังรีดูนังต์ เดิมมีคลองอรชร แต่วันดีคืนดีก็หายไป กลายเป็นท่อน้ำแทน ทั้งนี้ ใต้ถนนอังรีดูนังต์เป็นคลอง 2-3 คลอง มีคลองแสนแสบลอดข้างใต้ไปบรรจบที่ถนนพระราม 4 เป็นอุโมงค์ออกแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีไว้ระบายน้ำฝนเพื่อสูบออกคลองแสนแสบ
แต่ข้างต้นคงไม่ฮือฮาเท่ากับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 5 และ 7 กันยายน นี้ เพราะมีกระแสหนาหูถึงการทดสอบประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ปลายน้ำ หรือในพื้นที่ใกล้กทม. มากมายเหลือเกิน
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงถึงการทดสอบการระบายน้ำว่า หลังจากน้ำท่วมที่ผ่านมา ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติมในจุดที่น้ำท่วมขัง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ จึงควรมีการทดสอบประสิทธิภาพการระบายที่แท้จริงในเส้นทางระบายน้ำที่เคยมีปัญหา
สอดคล้องกับดร.รอยล ที่บอกว่า การทดสอบจะใช้ปริมาณน้ำแค่ 1 ใน 3 หรือ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นแบบจำลองว่า หากปริมาณน้ำเท่านี้ จะระบายน้ำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะไม่กระทบกับชาวบ้านเลย ขณะเดียวกันทางกทม. ก็เข้าใจตรงกัน และเห็นด้วยกับการทดสอบดังกล่าว
ส่วนการทดสอบการระบายน้ำนั้น เริ่มจากที่รัฐบาลได้มีการขุดลอกคูคลอง จึงควรมีการทดสอบการระบายน้ำให้รู้ว่าเมื่อปล่อนน้ำมาประมาณเท่านี้ ระดับน้ำในคลองจะสูงขึ้นเท่าไหร่ โดยในวันที่ 5 กันยายน จะทำการทดสอบในพื้นที่ตะวันตก และใช้คลองทวีวัฒนาเป็นหลัก ไหลไปตามคลองภาษีเจริญ 2 ฝั่ง คือ ฝึ่งหนึ่งน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และอีกฝั่งหนึ่งไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน จากนั้นก็ไหลคลองราชมนตรี คลองท่าข้าม และออกที่คลองมหาชัย ด้วยความเร็วในการระบายที่ 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และระหว่างคลองทวีวัฒนาเชื่อมกับคลองภาษีเจริญ จะมีคลองที่เป็นทางแยก เช่น คลองบางไผ่ คลองบางแวก คลองบางจาก
ในวันที่ 7 กันยายน จะทำการทดสอบการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก โดยใช้คลองลาดพร้าวเป็นหลัก ซึ่งเป็นคลองหนึ่งที่ไม่สามารถระบายน้ำได้เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา หรือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมกทม. ทั้งนี้ คลองลาดพร้าวจะใช้ความเร็วในการระบายน้ำที่ 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผ่านไปยังบึงพระราม 9 และสิ้นสุดที่อุโมงค์ผันน้ำ
จะว่าไปแล้วการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกทม. ไหลลงสู่อ่าวไทย มีความจำเป็นในการบริหารพื้นที่ปลายน้ำ เนื่องจากในพื้นที่กทม. แม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดแคบที่สุด คือ 70 กิโลเมตร ขณะเดียวกัน การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้การระบายน้ำในพื้นที่ปลายน้ำมีประสิทธิภาพลดลง ประกอบกับคลองต่างทรุดไปจากเดิมมาก นอกจากนี้ ยังพบว่า คลองหลายเส้นมีการทำแนวกันน้ำไว้ ซึ่งอาจจะทำให้การระบายน้ำมีปัญหาหากไม่ทำการทดสอบ
ส่วนการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ดร.รอยล กล่าวว่า น้ำจะไม่ท่วม หรือโอกาสเกิดน้ำท่วมน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ขณะที่สภาพอากาศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนสมัยก่อน ทำให้การบริหารจัดการน้ำไม่ง่าย กล่าวคือ ในพื้นที่หนึ่งแล้ง แต่อีกพื้นที่หนึ่งน้ำท่วม หรือที่ภาคอีสานเกิดภัยแล้งนั้น ก็ไม่ได้แล้งทั้งภาค ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล แม้กระทั่งการจัดการน้ำในเขื่อน เมื่อเทียบกับปี 2553 ถือว่าแล้งกว่าปีนี้ด้วยซ้ำ หรือดูเหมือนน้ำจะน้อยแต่ปริมาณน้ำก็เพิ่มขึ้น คือปีนี้น้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล 29 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ที่ 40-50 ลูกบาศก์เมตร ท้ายที่สุดก็คือ ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างสมดุลกันระหว่างน้ำแล้งกับน้ำท่วม
นอกจากนี้ ดร.รอยล ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงเดือนต.ค. 2554 ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดเฝ้าระวังน้ำก่อนเข้าสู่เมืองหลวง ตรวจวัดได้สูงสุดประมาณ 5 พันลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเกินกว่าความจุของลำน้ำที่ 3.5 พันลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งน้ำส่วนเกินนี้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤติน้ำท่วมในกทม. และปริมณฑลในปีที่ผ่านมา หากสามารถตัดยอดน้ำส่วนเกินที่ประมาณ 1.5 พันลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ได้มากเท่าไหร่ ก็จะลดความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาได้มากเท่านั้น เช่น การผันน้ำลงสู่แม่น้ำบางประกงประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที การเพิ่มประสิทธิภาพการผันน้ำที่ทุ่งตะวันออก เพื่อป้อนน้ำเข้าสู่ระบบน้ำสุวรรณภูมิ และคลองด่านประมาณ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มศักยภาพการผ่านน้ำในพื้นที่กทม. ทั้งฝั่งธนบุรี และฝั่งพระนครประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นต้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346332223&grpid=&catid=01&subcatid=0100
-----------------------------------------------
'สมิทธ'ไม่ฟันธงปีนี้น้ำท่วมหนัก หวั่นภัยแล้งรุนแรง
"สมิทธ"ไม่ฟังธงปีนี้น้ำท่วมหนักหรือไม่ รอดูพายุและมรสุมจนถึงเดือนก.ย. หวั่นปีนี้เสี่ยงภัยแล้งหนักในภาคกลางและอีสาน จากการพร่องน้ำในเขื่อน เตือนไทยรับมือน้ำทะเลหนุนสูงทำน้ำท่วมใหญ่ในอีก 8-9ปี ข้างหน้า แนะสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเล...
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2555 นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า สถานการณ์ภัยพิบัติในไทยในปีนี้ต้องติดตามสถานการณ์พายุที่จะเข้าประเทศไทยจนถึงเดือนก.ย. จะสามารถระบุสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ได้ว่าจะใหญ่อีกหรือไม่ แต่หากมีพายุหรือลมมรสุมนำน้ำมาปริมาณมากเกินกว่าการบริหารจัดการก็มีโอกาสน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าสถานการณ์ปัจจุบันยังเป็นปกติ ฝนยังไม่มีปริมาณมากนัก และมีการพร่องน้ำเตรียมรองรับแล้ว ส่วนสิ่งที่น่าห่วงในขณะนี้ หากฝนตกน้อยในเดือนส.ค.ถึงต.ค.อาจเกิดสถานการณ์ภัยแล้งอย่างหนัก กระทบกับพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เพราะการพร่องน้ำในเขื่อนไว้ อาจทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ซึ่งหลายสำนักพยากรณ์ในต่างประเทศได้ระบุไว้ว่า บริเวณประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์เอลนิโญ
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น หากไม่ดำเนินการป้องกันจะทำให้น้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะ 8-9 ปีข้างหน้า ดังนั้นควรมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลระยะทาง 90 กิโลเมตร จากบริเวณอำเภอชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อปิดปากแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
1 กรกฎาคม 2555, 04:30 น.
http://www.thairath.co.th/content/region/272476
-----------------------------------------------
ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มไทย สมิทธฟันธงกทม.จมใต้บาดาล
สมิทธ ฟันธง ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ คนเมืองหลวงไม่มีน้ำใช้ จี้หน่วยงานรัฐเร่งหามาตรการรับมือโดยด่วน ขณะที่อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานฯ หวั่น วัดพระแก้ว เสียหายหากเกิดน้ำท่วมพระบรมมหาราชวัง
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร การเสวนาครั้งนี้มี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา
ดร.สมิทธ กล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่า ภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้
ดร.สมิทธ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม.
"กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก" ดร.สมิทธ กล่าว
พายุ, โลกร้อน, ภัยพิบัติ
ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้ว คือ พายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4
"ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ สตรอม เสิร์ช (Strom Search) หรือ น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค" ดร.สมิทธ กล่าว
ด้าน นายต่อตระกูล กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นจริงจะทำให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญหลายแห่งเสียหายโดยเฉพาะวัดพระแก้ว ซึ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้มีการฝังเสาลงดิน หากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พระบรมมหาราชวังก็จะทำให้เสื่อมความแข็งแรงลงอย่างรวดเร็ว
หลังการเสวนา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการฝ่ายอุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุใหญ่พัดถล่มประเทศไทยตามที่ ดร.สมิทธ กล่าวในการเสวนา ดร.วัฒนา ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม อาจจะเกิดพายุใหญ่ถล่มประเทศไทย เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน อยู่ระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วงดังกล่าวมีพายุพัดถล่มประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นลินดา ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้
ดร.วัฒนา กล่าวต่อว่า สภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า หากพายุพัดเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเมืองก็อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหากพายุเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ กทม.โดยตรง ซึ่งมีความเป็นห่วงว่า หากมีพายุพัดเข้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ กทม. เนื่องจากขณะนี้แม้จะมีการสร้างเขื่อนกั้นริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหลายจุด แต่การสร้างเขื่อนที่ผ่านมาทำเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลาก ไม่ได้มีไว้รองรับพายุที่พัดเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บริเวณปากแม่น้ำยังไม่มีการก่อสร้างเขื่อน หากเกิดพายุพัดกระหน่ำจริง เขื่อนที่มีอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้
ดร.วัฒนา กล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงว่าหากช่วงเวลาที่เกิดพายุตรงกับช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดกระหน่ำบริเวณชายฝั่ง หากอาคารบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งไม่แข็งแรงก็จะสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอพยพผู้ประสบภัย เพราะขณะเกิดเหตุภัยพิบัติหากมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัยได้รวดเร็ว ความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนก็จะลดน้อยลง
http://campus.sanook.com/teen_zone/earthday_04282.php
-----------------------------------------------
พระโคเสี่ยงทายกินหญ้า ปีนี้น้ำท่าบริบูรณ์พอควร
งานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2555 พระโคเสี่ยงทายกินหญ้า ปีนี้น้ำท่าบริบูรณ์พอควร พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่ง 6 คืบ น้ำน้อย...
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 9 พ.ค. 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์โดยรถยนต์พระที่นั่งมายังพลับพลาที่ประทับ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อทรงเป็นประธานในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งมีฤกษ์พิธีไถหว่านระหว่างเวลา 08.19-08.59 น. โดยมีประชาชนเดินทางมาเฝ้ารอรับเสด็จ ตลอดจนเข้าร่วมในงานพระราชพิธีดังกล่าว รวมถึงเฝ้ารอเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาใช้หว่านในพระราชพิธีเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกคนต่างมีความมุ่งหวังที่จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวดังกล่าวกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ทั้งนี้ งานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2555 พระโคแรกนาประจำปีนี้ คือ "พระโคฟ้า" และ "พระโคใส" ซึ่งได้ทำพิธีกินเลี้ยงเสี่ยงทายเพื่อพยากรณ์ผลการทำการเกษตรในปีนี้ ปรากฏว่า พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร พร้อมด้วยธัญญาหาร พลาหาร ภักษาหาร และมังสาหารอุดมสมบูรณ์
ส่วนการเสี่ยงทายผ้านุ่งนั้น นายศุภชัย บานพับทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา ได้อธิษฐานหยิบผ้านุ่งเสี่ยงทาย 6 คืบ พยากรณ์ว่า ปีนี้น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี ส่วนนาในที่ดอนอาจเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่ ซึ่งในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีการนำอาหาร 7 อย่าง ได้แก่ ข้าวเปลือก, ข้าวโพด, น้ำ, หญ้า, ถั่ว, งา และเหล้า มาให้พระโคเลือกกินเพื่อเสี่ยงทาย.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐออนไลน์
9 พฤษภาคม 2555, 10:22 น.
http://www.thairath.co.th/content/royal/259038
-----------------------------------------------
<<< ตลกแหล่ะคุยว่ารู้เรื่องน้ำดี แต่สัมภาษณ์แบบนี้หมดราคาจริงๆ >>>
http://www.dailynews.co.th/politics/151912
Maha Arai "สมัยที่ผมเป็นอธิบดีกรมชลประทาน ผมวางมาตรการไว้ตั้งแต่ต้นเ ดือนมกราคมของทุกปีว่าว่าปี นี้จะมีน้ำให้ชาวนาทำนาปรัง ได้กี่ล้านไร่ ปล่อยน้ำปริมาณเท่าไหร่เหลื อปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนเ ท่าไหร่เพื่อวางมาตรการสำหร ับปีถัดไปเพราะจุดประสงค์สำ คัญของการสร้างเขื่อนไว้เพื ่อเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค การเกษตร และรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ใช้เอาไว้ป้องกันอุทกภัย ต่อไปนี้ต้องปรับมาตรการใหม ่จากรับมืออุทกภัยมาเป็นเตร ียมรับมือภัยแล้ง ให้เขื่อนเก็บน้ำไว้ให้มากท ี่สุดรวมทัั้งเก็บน้ำไว้ในล ำน้ำด้วย เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งป รับเมื่อมีคนรู้น้ำเตือนมาไ ม่ใช่มานั่งด่ากันอยู่อย่าง นี้"นายกิจจา กล่าว
อดีตอธิบดีกชลประทาน กล่าวอีกว่า แนวโน้มภัยแล้งเกิดขึ้นแล้วมีปรากฎการณ์แอลนิโญ่เริ่มข ึ้นในฝั่งซ้ายของมหาสุมทรแป ซิฟิก จะเห็นว่าพายุเข้ามาแล้วประ เทศฟิลิปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน โดนอ่วมกันหมดถล่มตัวเมืองเ ลยแต่ประเทศไทยรอด ซึ่งแนวโน้มจะเกิดแล้งรุนแร งในปีหน้าหากมีปริมาณน้ำในเ ขื่อนขนาดใหญ่แค่ 42 เปอร์เซนต์ เสี่ยงปี 56 เกิดวิฤกติขาดแคลนน้ำรุนแรง ซึงภัยแล้งจะกินเวลาประมาณ หนึ่งปีถึงสองปี เรียกว่าแล้งซ้ำซากต่อจากนั ้นก็จะท่วมอีก มันเป็นวัฐจักร อย่างไรก็ตามเดือนกันยายน อาจจะมีหางพายุเข้ามาแต่ไม่ ทราบว่าจะตกเหนือเขื่อนหรือ ไม่ ถ้าไม่มีน้ำฝนเข้ามาเพิ่มปร ิมาณน้ำในเขื่อนและในลำน้ำ ปี56 ถึง 57 น่าห่วงมากที่สุด
Maha Arai ข้อความนี้ส่อให้เห็นถึงว่าไม่รู้เรื่องน้ำของจริง "อดีตอธิบดีกชลประทาน กล่าวอีกว่า แนวโน้มภัยแล้งเกิดขึ้นแล้ว มีปรากฎการณ์แอลนิโญ่เริ่มข ึ้นในฝั่งซ้ายของมหาสุมทรแป ซิฟิก จะเห็นว่าพายุเข้ามาแล้วประ เทศฟิลิปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน โดนอ่วมกันหมดถล่มตัวเมืองเ ลยแต่ประเทศไทยรอด "
Maha Arai ถ้าฝั่งซ้ายแปซิฟิกหมายถึงฝั่งอเมริกาที่มีข่าวว่าเกิด ภัยแล้งหลายประเทศในทวีปอเม ริกาเหนือและใต้ ฝั่งขวาแปซิฟิกคืออาเซียนจี นอะไรพวกนี้ จะเกิดตรงข้าม
Maha Arai เพราะกระแสน้ำมันจะหมุนวนไปฝั่งไหน เกิดเอลนิโน่ อีกฝั่งเกิดลานิญ่า ดังนั้นตอนนี้ฝั่งอเมริกาเก ิดเอลนิโญ่ ฝั่งไทยก็กำลังเกิดลานิญา ฝนมาก และเมื่อไม่กี่วันมานี้ตกแบ บไม่ลืมหูลืมตาแถวลำลูกกาตก หนักกว่าปีที่แล้วที่ท่วมหน ักตอนปลายปีเสียอีก
Maha Arai การที่ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ญี่ปุ่นอะไรพวกนี้กำลังโดนน้ำท่วมจากฝนตกหนั กมากๆ และไทยล่าสุดที่ภูเก็ตตกทั้ งวัน ท่วมทั้งเมืองบางจุดระดับเอ ว แบบนี้หรือจะเกิดเอลนิโญ่
Maha Arai หลักฐานเห็นชัดๆว่าปีนี้ฝนตกหนักกว่าทุกปียังจะบ้าจี้ก ลัวแล้งปีหน้าแล้วคุยว่าเชี ่ยวชาญเรื่องน้ำ ยังไม่รู้เรื่องวัฏจักรการห มุนเวียนของกระแสน้ำเลย พื้นฐานง่ายๆ เลย เห็นอเมริกาแล้งกลัวแล้งตาม อย่างฮาเลย ถ้ารู้จริงเห็นอเมริกาแล้งต ้องบอกว่าไทยจะฝนตกหนักมากก ว่าปกติถึงจะถูกต้อง นอกนั้นเพี้ยนแล้วมีงานจะกั กน้ำเต็มเขื่อนไว้ทั่วอีกปี เพื่อจัดการรัฐบาลปลายปีมาก กว่า
Maha Arai อ้อแล้วถ้าบางพื้นที่ที่อีสานแล้งช่วงนี้ แต่ตอนนี้คาดว่าโดนฝนกันทั่ วหน้าแล้ว ต่อให้แล้งก็อย่าไปเชื่อว่า การเก็บน้ำแถวเขื่อนศรีนคริ นทร์แถวจังหวัดกาญจน์จะไปช่ วยอีสาน ไม่มีทางเพราะไม่ได้ทำระบบท ่อส่งน้ำขนาดใหญ่ใยแมงมุมที ่เราเคยเสนอไว้ ดังนั้น กักไว้เต็มเขื่อนมันก็ส่งไป ช่วยอีสานไม่ได้ อยู่ดี เอาไว้ให้เกิดแผ่นดินไหวมาก ขึ้นหล่ะไม่ว่าล่าสุดมาไหวแ ถวสุพรรณใกล้ๆ แล้ว การมีน้ำมากๆ กดทับพื้นดินไว้เป็นสาเหตุห นึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว และแถมยังอยู่ในแนวแผ่นดินไ หวอีก พม่าไหวทุกวัน ยังจะบ้าจี้ให้เก็บไว้เยอะๆ หลายวันก่อนเคยมาแฉว่าตอนนี ้ทางเขื่อนฝั่งตะวันตกเก็บน ้ำระดับ 80% แล้ว อันตรายมากๆ ทั้งๆ ที่พึ่งเข้าหน้าฝนยังลุ้นอี กไม่ต่ำกว่าสามเดือน ถึงจะหมดพายุแถวภาคเหนือภาค กลางไปแถวภาคใต้ต่อ
http://www.facebook.com/maha.arai
-----------------------------------------------
ผมฟังปลอดประสพโม้น้ำจะไม่ท่วมอ ีก100 ปี อะไรก็เพลินดี แต่จริงๆ แกลืมน้ำที่เกิดจากฝนตกหนักเหมื อนที่จีนที่พิลิปปินส์กำลังโดนใ นช่วงนี้
· · แชร์
Maha Arai เหมมีคุยด้วยถ้าปีนี้ไม่ท่วมปีหน้าจะประกาศอีก100 ปีน้ำไม่ท่วม ผมญังเห็นท่วมฉับพลันหลานพื ้นที่อยู่เลยตอนนี้ทั้งน่าน ทั้งแถวตาก แม้แต่ในกทม.ตกหนักยังท่วมห ลายชั่วโมงเลย
Maha Arai ปีที่แล้วไม่มีลูกไหนเข้าไทยแบบตรงๆเลยน่ะแค่ฉิวหลายลู กแต่มีสองลูก เฉี่ยวมาทำแถวเหนือน้ำท่วมฉ ับพลันลามมาถึงน้ำในสองเขื่ อนใหญ่เต็ม แล้วถึงไล่มาโดนภาคกลางในวง กว้าง ถามว่าถ้าโดนเต็มๆ แบบพายุไซโคลนนากิสที่เข้าพ ม่า ท่วมจมบาดาลทันทีหลายเมืองเ อาปัจจุบันก็ได้ ที่จีนตอนนี้กับที่พิลิปปิน ส์ ก็คือท่วมฉับพลันจากฝนตกลงม าเพียวๆ ไม่เกี่ยวกับน้ำไล่มาสมทบแบ บไทยเมื่อปีที่แล้ว
Maha Arai สรุปตามแผนที่ทำมา 9 ข้อ ก็โอเคแต่อาจช่วยได้กรณีมันไหลมาสมทบแล้วมาท่วมภาคกลาง อาจช่วยทำให้มันไม่ท่วมหรือ ท่วมน้อยลงได้แต่ ถ้าเจอกรณีพายุเข้าไทยตรงๆ และหอบฝนพันปีมาถล่มยังไงก็ ท่วมอย่าไปโม้ว่า 100 ปีจะไม่ท่วมเลยที่สำคัญตอนน ี้มันก็มีข่าวท่วมทางเหนืออ ยู่แล้วด้วยน่ะไม่รู้ตามข่า วกันเปล่าทีตากน้ำยังลดไม่ห มดเลยน
http://www.facebook.com/maha.arai
-----------------------------------------------
เห็นข่าวน่าน ตากน้ำท่วม พิษณุโลกฝนตกหนัก เชียงใหม่ระดมกระสอบทรายกันน้ำท ่วม อีกไม่กี่เดือนภาคกลางคงมีลุ้นอ ีกแน่ๆ งานนี้
· · แชร์
Maha Arai พายุพักนี้หอบเอาน้ำมาเยอะมาก ที่จีนที่ฟิลิปปินส์จมน้ำหล ายเมืองเลยน้ำจากฝนที่ตกลงม าเพียวๆเสียด้วย
Maha Arai ไปดูระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิตตอนนี้ก็ประมาณ40 กว่า% แต่ที่น่าสนใจเขื่อนศรีนครร ินทร์เขื่อนใหญ่สุดของไทย กับเขื่อนวชิลาลงกรณ์ ระดับน้ำเกิน 70 กว่า % ปริมาณน้ำทั้งหมดตอนนี้ในเข ื่อนศรีนครินทร์ พอๆกับน้ำเต็มเขื่อนภูมิพลเ ลยทีเดียว ส่วนเขื่อนวชิราลงกรณ์ปริมา ณน้ำถ้าเต็มเขื่อนก็พอๆกับเ ขื่อนสิริกิต เท่ากับว่าแนวฝั่งตะวันตกอา การน่าเป็นห่วงถ้าพายุมันเข ้ามาแถวนี้
Maha Arai เตรียมตัวน้ำท่วมฉับพลันได้สำหรับฝั่งตะวันตกดูจากปริม าณน้ำฝนที่ตกมาค่อนข้างมากถ ้ามันไปตกเหนือเขื่อนหรือใน เขื่อนก็คงเต็มจนล้นได้แต่ถ ้าฝนไม่มีหรือน้อยก็รอด ไม่งั้นคาดว่าปีนี้จะต้องมา ลุ้นฝั่งนี้แทนแต่อยุธยาคาด ว่าโดนเช่นเคยแต่ถ้าน้ำไม่ม าแบบเป็นทุ่งแบบปีที่แล้วแถ วปทุม แถวดอนเมืองก็น่าจะรอดได้แต ่ถ้ามาเป็นทุ่งอีกก็คงได้เส ียวอีกแน่ๆ
Maha Arai ปีนี้ยังเหลือลุ้นพายุเข้าอีกหลายเดือนและมาแต่ละลูกหอ บน้ำมาเพียบเลยคาดว่าถ้าพาย ุไม่หนักมากก็อาจท่วมบางจุด แต่ถ้าหนักมากคงทั้งบางเช่น เคยแต่เราว่าท่าจะทำลายสถิต ิปีที่แล้วดูจากที่หลายประเ ทศแถวนี้โดนมันบ่งบอกอนาคตไ ด้ดีว่าลูกต่อๆ ไปถ้าเข้าไทยหรือเฉียดๆ จะตกหนักแน่ๆ ยิ่งตกหนักทางเหนือมากเท่าใ ดก็คาดว่าภาคกลางคงรับเละอย ุธยาคงหนีไม่พ้นเรื่องน้ำท่ วมในปีนี้แน่ๆ แววมันออก
http://www.facebook.com/maha.arai
-----------------------------------------------
-----------------------------------------------
<<< มันเริ่มมาอีกแล้วพายุ เก็บเข้าไปเถอะน้ำในเขื่อนใหญ่อ ่ะ เตือนหลายหนแล้ว กลัวแล้งมากกว่ากลัวท่วมหลงทางแ น่นอนปีนี้ >>>
http://www.sattmet.tmd.go.th/ newversion/mergesat.html
http://www.sattmet.tmd.go.th/
Maha Arai ประกาศเตือนภัย
"พายุโซนร้อน “ปาข่า”"
ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (30 มี.ค.55) พายุโซนร้อน “ปาข่า” (PAKHAR) ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างไปทางตะวัน ออกของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ประมาณ 550 กิโลเมตร หรือ ที่ละติจูด 9.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย ์กลาง
ประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ คาดว่าจะขึ้นฝั่ง
ที่ประเทศเวียดนามตอนล่างในวันที่ 1 เมษายน 2555 และยังไม่มีผลกระทบต่อลักษณ ะอากาศ
ประเทศไทยในระยะ 1-2 วันนี้
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2555 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนระลอกใหม ่จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะ วันออกเฉียงเหนือและทะเลจีน ใต้ ทำให้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนจะมี
พายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมต ะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาค เหนือ ทำให้ภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองเ ป็นแห่งๆถึงกระจายกับมีลมกร ะโชกแรง และลูกเห็บตก
ได้บางพื้นที่
ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
ออกประกาศ เวลา 11.00 น.
สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Maha Arai พึ่งจะว่าไว้ไม่กี่วันมานี้เอง เก็บไว้ที่เรื่องนี้ <<< ปีนี้ ถ้าจะกลัวแล้งมากกว่ากลัวท่ วม ผมว่าแค่คิดก็หลงทางแล้ว >>> http:// maha-arai.blogspot.com/ 2012/03/blog-post_8857.html
Maha Arai มีอีกทฤษฎีหนึ่งเจอโดยบังเอิญอีก เหมือนกัน เวลาชงกาแฟ ใส่น้ำตาลเม็ดลงไป ถ้าปล่อยให้มันค่อยๆ ละลายเองกับคนมันแรงๆ ยิ่งแรงยิ่งละลายเร็ว เลยขอเรียกว่าทฤษฎีละลายน้ำ ตาลทราย
Maha Arai การเกิดฝน เริ่มจากอากาศร้อนทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองหรือในมหาสมุท รซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่กว ่าแผ่นดินเสียอีก ระเหยกลายเป็นไอ ถ้าไปดูที่เขาทำนาเกลือก็จะ พบว่าหลังจากกักน้ำทะเลไว้ส ักพักมันก็จะระเหยเหลือแต่เ กลือ
Kihamoni Prachatai เฉพาะพายุลูกนี้ น่าจะไม่กระทบไทย หรือถ้ากระทบ ก็นิดหน่อยทางอีสานน่ะครับ ฝนตกเล็กน้อย แนวโน้มเป็นอย่างนั้น
Maha Arai หลังจากละลายเป็นไอก็เริ่มจับตัวเป็นก้อนเมฆ ลอยไปมาอยู่บนฟ้า รอเวลาอากาศเป็นใจ เช่นเย็นๆ ก็จะกลายเป็นน้ำฝนก็เหมือนก ับกรณีต้มน้ำในกาน้ำ จนเดือดกลายเป็นไอถ้ามีอะไร ไปบังไว้ก็จะเห็นเมีหยดน้ำเ กาะเพราะว่าอากาศมันเริ่มเย ็นกว่าบริเวณด้านล่างที่ควา มร้อนกำลังต้อมน้ำอยู่ คล้ายๆกัน
Maha Arai ดังนั้น เมฆจำนวนมากที่ลอยไปมา เมื่อมันเจอพายุมันก็น่าจะรวมตัวกันมากขึ้นตามกระแสวนข องพายุและเมื่อเจออากาศเย็น ไๆ ทางตอนเหนือแผ่ลงมาปะทะ มันก็จะทำให้ตกลงมาได้ มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณต้ นทุนเมฆ และความเร็วลม อันนี้ตามทฤษฎีเราน่ะ ถ้าไปเจอทฤษฎีอื่นทางวิชากา รขาว่าอีกอย่างก็เพราะมันคน ละทฤษฎีนั่นเอง อิอิ
Maha Arai การยิ่งมีความเร็วลมแรงๆ ก็เหมือนการเร่งคนน้ำตาลในการชงกาแฟให้มันละลายเร็วขึ้ นนั่นเอง เพราะไม่ไม่เร่งความเร็วมัน อาจค่อยๆ ละลาย ก็อาจกระจายไปเรื่อยๆ มากกว่าตกชุกในจุดที่มีเมฆม ากไปปะทะกับความเย็นเมื่อบว กกับความเร็วลม ณ บริเวณนั้นก็อาจทำให้เมฆกลา ยเป็นน้ำหมดแทนที่จะเหลือลอ ยไปที่อื่นต่ออะไรแบบนั้นแห ล่ะ
Maha Arai ลูกนี้ความเร็วลมยังน้อยและอากาศเย็นยังมาปะทะไม่เยอะก ็อาจตกน้อยได้ ที่สำคัญมันยังไม่เข้าไทยตร งๆ แต่มันมีแวว ยังไงว่าปีนี้โดนอีกแน่ เมื่อไม่กี่วันพวกดูแลเขื่อ นใหญ่ 2 เขื่อนมาบอกว่าปีนี้จะแล้งเ ลยกักน้ำไว้ใช้ไม่เร่งระบาย ก่อนเข้าหน้าฝน นี่อีกแค่เดือนเดียวก็จะเข้ าแล้วน่ะ แต่ว่ามันมีบางส่วนโผล่มาก่ อนแล้ว ถึงได้บอกไงว่าปีนี้ถ้ากลัว แล้งมากกว่ากลัวท่วมแค่คิดก ็หลงทางแล้ว
Maha Arai ดังนั้นปีนี้มีโอกาสโดนพายุหนักได้สังเกตุจากอากาศที่ร ้อนระอุ ยิ่งร้อนมากก็ยิ่งผลิตต้นทุ นน้ำฝนคือเมฆมากๆ รอเวลาตกลงมาโดยการรวบรวมมา จากพวกพายุนี่แหล่ะ อีกอย่างเคยบอกไว้ที่เรื่อง นั้นเลยว่า เจออากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้ที ่พม่า ก่อนพายุไซโคลนถล่มพม่าในอี กประมาณ 1 เดือนหลังจากที่เรากลับมามั นอาจร้อนมาก่อนหน้านั้นเป็น เดือนแล้วก็ได้ ซึ่งต้องเก็บสถิติเอาไว้ว่า ร้อนมากๆ อีกกี่วันถึงเกิดพายุก็จะช่ วยให้การทำนายของกรมอุตุได้ ดีขึ้นและหรือทำนายล่วงหน้า นานๆได้แม่นขึ้นไม่ใช่แม่นไ ม่กี่วันหรือกี่ชั่วโมงหลัง เห็นภาพดาวเทียมหลังมันก่อต ัวอะไรแบบนั้นคนไม่ได้เรียน มาทำนาย นั่งดูรูปถ่ายดาวเทียมรุ้ด้ านนี้นิดหน่อยก็ทำนายได้หมด ก็ดูไม่เท่ห์เท่าไหร่น่ะ
Maha Arai แถมอีกนิดปีที่แล้วที่น้ำท่วมหนักในไทยมีพายุลูกใหญ่ๆ ประมาณสองสามลูกเท่านั้นก็เ กิดท่วมมากมายทางเหนือก่อนไ หลมารวมที่เขื่อนแล้วเขื่อน เอาไม่อยู่เพราะมีต้นทุนน้ำ มากเกินครึ่งเขื่อนก็เลยลงม าท่วมด้านล่างแทน ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำที่มาท่วมด้านล ่างเขื่อน รวมๆ แล้วประมาณครึ่งเขื่อนภูมิพ ลเอง คือที่มาท่วมฝั่งปทุมก็ระดั บสองสามพันลานลบ.ม. เองน่ะ ทั้งเขื่อมีระดับเป็นหมื่นล ้านและจะเห็นได้ว่ายอดระดับ น้ำในเขื่อนใญ่ตอนนี้เทียบก ับระดับน้ำที่เก็บในเขื่อนช ่วงนี้ในปีก่อน มีมากขนาดที่มั่วนิ่มปล่อยต ามน้ำมากับพวกพายุให้หมดระย ะส่วนเกินจากน้ำปีก่อนแค่นั ้นก็ท่วมเท่ากับปีที่แล้วแล ้ว
Maha Arai อีกอย่างพายุสองสามลูกที่ว่าไม่ได้เข้าไทยตรงๆ สักลูกเดียว แต่เข้าจีนเข้าลาวแล้วโดนหา งเลขเท่านั้นปีที่แล้วแค่โด นหางเลขเท่านั้นข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลที่จะต้องคำนึงถึ งอย่างมากถ้าปรากฏว่าปีนี้ม ันไม่เข้าลาวเข้าจีนมันวกเข ้าไทยตรงๆ สักลูกสองลูกใหญ่ๆ บวกกับปริมาณน้ำต้นทุนในเขื ่อนที่สูงกว่าปีก่อน ปริมาณที่สูงกว่าปีก่อนพอๆ กับปริมาณที่ท่วมใหญ่ปีที่แ ล้วด้วย ลองจินตนาการดูก็ได้ว่าจะเก ิดอะไรขึ้น
Maha Arai มานั่งคิดเล่นๆ ดู เราอาจสร้างเครื่องทำให้เมฆกลายเป็นฝนได้ เหมือนการทำฝนเทียมแต่ไม่เน ้นการใช้สารเคมีใดๆ ไปทำให้เกิดฝนเพราะมันอาจปน เปื้อนมากับสายฝน วิธีการควบแน่น ก็แค่สร้างเครื่องบินหรือจา นบิน บินไปลอยระดับเมฆแล้วดูดเมฆ พวกนั้นเข้าไปใต้ท้องเครื่อ งทำให้มีขนาดใหญ่ระดับโบอิ้ งจะได้ผลิตน้ำฝนได้มากขึ้น
Maha Arai หลักการการทำให้เมฆกลายเป็นน้ำฝนก็ใช้วิธีเดียวกับการท ำไอติมหวานเย็น ที่มีเกลือหรืออะไรแล้วหมุน ๆ มันสักพักก็ได้ไอติมมากินแล ้ว ก็ใช้วิธีนั้นหรือเครื่องทำ ความเย็นเลียนแบบตู้เย็นก็ไ ด้ เมื่อเมฆถูกดูเข้ามาในเครื่ องขนาดใหญ่ให้มันวนเหมือนกา รคนกาแฟแล้วทำให้มีความเย็น เดี๋ยวมันก็กลายสภาพกลายเป็ นน้ำได้ แล้วปล่อยมันไปเก็บในแท็งค์ ถัดไปแล้วจะเอาไป)ล่อยแถวไห นก็ได้ช่วยเรื่องดับไฟป่าก็ ยังได้ไม่ต้องวิ่งไปหาน้ำที ่ไหนและแม่นยำสูงกว่าวิธีใช ้สารเคมีเลี้ยงและโจมตีก้อน เมฆให้กลายเป็นฝน นั่นควบคุมทิศทางได้น้อยกว่ า ที่สำคัญมีหลายๆ เครื่องช่วยกันดูดเมฆไปไปอั ดเข้าเครื่องก็ได้ ยิ่งเพิ่มแรงดันมันก็ยิ่งกล ายเป็นของเหลวเหมือน LPG ที่เขาอัดลงในถังเล็กๆ มันก็กลายเป็นของเหลวได้ แต่น้ำเมื่อเป็นของเหลวมันไ ม่กลับเป็นไอเร็วถ้าไม่โดนค วามร้อนมากๆ วิธีพวกนี้คือการทำฝนเทียมแ บบง่ายๆ แต่แม่นยำในการเจาะจงให้มัน ตกที่ไหน และไม่มีสาตกค้างไม่มีสารเค มีที่ปล่อยลงมาด้วย อนาคตอาจมีคนทำแบบที่เราว่า ก็ได้
http://www.facebook.com/maha.arai
-----------------------------------------------
<<< ปีนี้ ถ้าจะกลัวแล้งมากกว่ากลัวท่วม ผมว่าแค่คิดก็หลงทางแล้ว >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2012/03/blog-post_8857.html
<<< ถ้า 2 เขื่อนใหญ่ปล่อยน้ำเกิน 50 ลบ.ม. ต่อวันติดต่อกัน จะส่งผลทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองต่างๆ ที่เชื่อมถึงกันเอ่อล้นท่วมตลิ่งได้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2012/02/blog-post_2803.html
<<< จับตาดูน้ำในเขื่อน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
<<< ประกาศ เหลือเวลาอีกประมาณ 6 เดือน จะเริ่มเข้าสู่ฤดูน้ำท่วมอีกครั้ง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/11/blog-post_28.html-----------------------------------------------
ผมนำความเห็นของเหล่ากูรูหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรณีนี้คือเรื่องน้ำ
กับกูรู้คือความเห็นผมเองนายมาหาอะไร ลองมาวัดผลการทำนายปี 55 ว่าผลจะเป็นยังไง
พูดตรงๆ ผมไม่มีความรู้เรื่องชลประทานหรือเรื่องอุตุนิยมวิทยาอะไร
ผมอาศัยศึกษาจากแผนผังจากน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้วกรณีถ้าต้องการรู้เรื่องการไหลของน้ำ
แต่ถ้าต้องการพยากรณ์ล่วงหน้าก็อาศัยลางสังหรณ์ที่ปีนี้ฝนตกช่วงปีใหม่
และที่เคยไปเจอตอนไปเที่ยวพม่าพบว่าอากาศร้อนมากแล้วอีกเดือนเดียวไซโคลนนากิสถล่ม
ดังนั้นผมจึงยืนยันตั้งแต่ต้นปีแม้มีบางช่วงร้อนและแล้งจริงๆ จนทำให้เหล่ากูรู
หนุนไปทางว่าปีนี้จะเกิดภัยแล้ง แต่ผมยังเชื่อว่ายิ่งร้อนมากยิ่งตกหนัก
แถมด้วยข่าวว่าหลายเขื่อนในทวีปอเมริกาแห้ง
ทำให้ยิ่งฟันธงว่าฝั่งอเมริกาเกิดเอญนิโน่ ฝั่งเอเชียจะต้องเกิดลานิญา
มันจะเกิดสวนกันนี่เป็นวิชาพื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยา
เรื่องการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นมันจะสลับกันคนละฝั่ง
แต่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านเขื่อน ด้านชลประทาน จนบางคนหลงคิดว่า
ตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำทั้งหมดที่รวมทั้งน้ำทะเลและน้ำฝนกลับไม่รู้เรื่องพวกนี้
ไปเชื่อว่าอเมริกาแล้งไทยจะแล้งตามไปด้วยอเมริกาเกิดเอลนิโน่ไทยก็เกิดด้วย
ซึ่งผิดจากหลักการของกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างที่เราว่า
ผมถึงรู้ปัญหาแล้วว่า ประเทศนี้ทำไมมีเขื่อนแต่การจัดการน้ำในเขื่อนแย่มาก
เดี๋ยวแล้งเดี๋ยวน้ำท่วมหนัก ก็เพราะเอาคนที่รู้เรื่องเฉพาะการกักน้ำปล่อยน้ำไปบริหาร
ไม่ใช่คนที่รู้เรื่องการพยากรณ์อากาศ ไปบริหารแล้วสั่งให้คนรู้เรื่องการปล่อยน้ำจัดการ
มันถึงจะถูกต้องไม่ใช่ปล่อยให้คนรู้แต่ด้านชลประทานด้านปล่้อยน้ำกักน้ำในเขื่อนจัดการ
เพราะการวิเคราะห์ล่วงหน้าหลายๆ เดือนต้องพึ่งวิชาอุตุนิยมวิทยา ต้องผู้เชี่ยวชาญด้านนี้
มากกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างเขื่อน กักน้ำปล่อยน้ำ จะมารู้ล่วงหน้าได้ยังไงว่าปีไหนแล้งปีไหนท่วม
อย่างดีก็แทงกั๊กเก็บไว้ครึ่งเขื่อนออกหน้าไหนก็เทไปหน้านั้น เจอวิกฤตจริงๆ ก็มีปัญหา
ผมขอฟันธงเลยว่า ปัญหาการจัดการเรื่องน้ำ ในประเทศเกิดจากคนที่ไม่รู้เรื่องน้ำจริงๆ
คนที่รู้เรื่องน้ำจริงๆ คือคนที่รู้ว่าฝนจะตกมากน้อยเท่าไหร่ นั่นแหล่ะรู้เรื่องน้ำของจริง
ส่วนคนที่รู้ว่าน้ำฝนตกลงมาแล้ว ไหลเข้าเขื่อนเท่าไหร่ต้องปล่อยไปเส้นทางไหน
นั่นเป็นผู้รู้เรื่องน้ำระดับรองลงมาเพราะรู้จริงเมื่อเกิดเรื่องแล้ว
โดย มาหาอะไร
-------------------------------------------------------
ชาวเน็ตแชร์ภาพน้ำท่วมทั่วกรุง ถนนถูกน้ำขังถึง 29 จุด
สภาพหน้า ม.ราชภัฏสวนดุสิต หลังจากฝนตกหนัก
ระดับน้ำ ถ.พหลโยธิน ขาเข้า ปากซอยอารีย์
วิภาวดีขาออกก่อนถึง ร.พ.ทหารผ่านศึก มีน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนักระบายไม่ทัน การจราจรติดขัด
ถ.วิภาวดี หน้ากองพันทหารราบที่ 1 รถติดมาก น้ำท่วมขังถึงฟุตบาธ มีรถเครื่องดับหลายคัน
หน้าปั๊ม ปตท. ตรงข้ามหอการค้า วิภาวดี
ลานพระบรมรูปทรงม้า มีน้ำปริมาณมากขังเป็นแอ่งเนื่องจากระบายลงท่อไม่ทัน นับเป็นภาพที่หาดูได้ยาก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์, @MrMaew, @Nalinee_PLE, เฟซบุ๊ก FM. 91 Trafficpro
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพฝนตก น้ำท่วมขัง บริเวณถนนสายหลักต่าง ๆ อย่างมากมาย ส่วนบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย ต้นไม้ล้มทับรถเมล์สาย 65 และทับรถฟอร์จูนเนอร์พังยับ โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
ช่วงเย็นของวานนี้ (18 กันยายน) ชาวเน็ตในสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรม ได้มีการโพสต์ภาพบรรยากาศน้ำท่วมขังทั่วถนนกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ฝนกระหน่ำเทลงมาอย่างหนักเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา โดยส่งผลให้ ถนนสายหลักต่าง ๆ เช่น วิภาวดีรังสิต, พหลโยธิน, พระราม 6, ราชวิถี, ลานพระบรมรูปทรงม้า ฯลฯ มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 15 - 30 เซนติเมตร หรือสูงประมาณครึ่งล้อรถยนต์
นอกจากนี้ เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันดังกล่าว ยังมีรายงานด้วยว่า ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ริมรั้วธนาคารแห่งประเทศไทย แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร ได้ล้มลงมาขวางถนนสามเสน และได้ทับรถประจำทาง ขสมก. สีครีมแดง สาย 65 วัดปากน้ำนนทบุรี-สนามหลวง อีกทั้งยังทับรถยนต์ฟอร์จูนเนอร์ที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่ต้องปิดถนนตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหมจนถึงเทเวศร์ ต่อมาทางเจ้าหน้าที่จาก กทม. ได้ตัดต้นไม้แล้วเสร็จ เมื่อเวลา 17.50 น. ก่อนจะเปิดการจราจรตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกเมื่อวานนี้ บริเวณที่มีน้ำฝนมากที่สุดได้แก่ ย่านถนนเทเวศร์ เขตดุสิต 107 มิลลิเมตร รองลงมาเขตดินแดง ปริมาณฝน 106 มิลลิเมตร และส่งผลให้น้ำท่วมขังรวม 29 จุด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-------------------------------------------------------
น้ำยมทะลักรอบ 2 ท่วมจวนผู้ว่าฯ สุโขทัย สูงกว่า 7 เมตร
-------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------
น้ำท่วมขังท่วมกรุงเทพฯ จากเหตุการณ์ฝนตกหนักวันนี้ 25 ก.ย. 2555
ฝนตกหนักทั่วกรุงเทพฯ ชาวโซเชียลเน็ตเวิร์ก ต่างพากัน
แชร์ภาพน้ำท่วมขังบนพื้นถนน ภาพบรรยากาศเมฆฝนปกคลุม ทั่วกรุง
พบน้ำท่วมขังหลายจุด การจราจรเริ่มติดขัด
สภาพจราจรจาก ทวิตเตอร์ @js100radio (จส.100)
15.16น. ถ.พหลฯ (ออก)จากแยกเสนา ไปแยกเกษตร น้ำท่วมเสมอฟุตบาท รถเคลื่อนตัวช้า
15.11.น. กทม.รายงานน้ำท่วมขังถ.สุขุมวิทปากซ.26ถ.แยกศรีอยุธยาถหน้ารร.สันติราษฎร์วังสวนผักกาดถ.พัฒนาการคลองลาว -คลองบ้านป่า
15.04น. รอบแยกพระราม9รถติดขัดท้ายยาว เหตุน้ำท่วมขัง ถ.ดินแดง อโศกมนตรี รัชดาภิเษก ถ.พระราม9
14.59น. ถ.ดินแดง จากแยกโบสถ์แม่พระฯ ถึงแยกพระราม9 น้ำท่วมสูงรถเล็กผ่านลำบาก ท้ายสะสมขึ้นยกระดับพระราม9โปรดหลีกเลี่ยง
14.57น. ถ.เพชรบุรี(ออก) จากแยกอโศกเพชรบุรี ไป เอกมัยเหนือ มีน้ำท่วมขัง รถเคลื่อนตัวช้า ท้ายสะสมเลยอโศกเพชรบุรี
14.52น. ถ.วิภาวดี(ออก)หน้ากรมทหารราบที่1 รถเคลื่อนช้าสลับหยุดนิ่ง ท้ายเลยทางลงด่วนดินแดง
14.50น. ถ.รามคำแหง(ออก) จากปากซ.21 ถึงซ.24 น้ำท่วมระดับฟุตบาท รถเคลื่อนช้าท้ายสะสมยาว
14.39น. ถ.รัชดาภิเษก จากปากซ.รัชดาฯ18ถึง แยกห้วยขวาง น้ำท่วมเสมอฟุตบาท รถชะลอตัว จนท.ทราบแล้วกำลังเร่งแก้
14.20น. ถ.ราชปรารก จากแยกประตูน้ำ ไปมักกะสัน ดินแดง เคลื่อนช้าสลับนิ่ง ฝนตกหนัก
15.11.น. กทม.รายงานน้ำท่วมขังถ.สุขุมวิทปากซ.26ถ.แยกศรีอยุธยาถหน้ารร.สันติราษฎร์วังสวนผักกาดถ.พัฒนาการคลองลาว -คลองบ้านป่า
15.04น. รอบแยกพระราม9รถติดขัดท้ายยาว เหตุน้ำท่วมขัง ถ.ดินแดง อโศกมนตรี รัชดาภิเษก ถ.พระราม9
14.59น. ถ.ดินแดง จากแยกโบสถ์แม่พระฯ ถึงแยกพระราม9 น้ำท่วมสูงรถเล็กผ่านลำบาก ท้ายสะสมขึ้นยกระดับพระราม9โปรดหลีกเลี่ยง
14.57น. ถ.เพชรบุรี(ออก) จากแยกอโศกเพชรบุรี ไป เอกมัยเหนือ มีน้ำท่วมขัง รถเคลื่อนตัวช้า ท้ายสะสมเลยอโศกเพชรบุรี
14.52น. ถ.วิภาวดี(ออก)หน้ากรมทหารราบที่1 รถเคลื่อนช้าสลับหยุดนิ่ง ท้ายเลยทางลงด่วนดินแดง
14.50น. ถ.รามคำแหง(ออก) จากปากซ.21 ถึงซ.24 น้ำท่วมระดับฟุตบาท รถเคลื่อนช้าท้ายสะสมยาว
14.39น. ถ.รัชดาภิเษก จากปากซ.รัชดาฯ18ถึง แยกห้วยขวาง น้ำท่วมเสมอฟุตบาท รถชะลอตัว จนท.ทราบแล้วกำลังเร่งแก้
14.20น. ถ.ราชปรารก จากแยกประตูน้ำ ไปมักกะสัน ดินแดง เคลื่อนช้าสลับนิ่ง ฝนตกหนัก
รัชดาภิเษก ฝั่งเซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9 น้ำท่วมสูงมาก… สภาพน้ำท่วมขัง
ถนนรัชดาภิเษก ฝั่งห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9
ระดับน้ำท่วมสูง จะเห็นได้ว่า รถวิ่งเฉพาะช่องขวาอย่างเดียว ขอบคุณภาพ : Nida Chaithiraphan
————————————————————————————-
น้ำท่วมขังท่วมกรุงเทพฯ จากเหตุการณ์ฝนตกหนักวันนี้ 18 ก.ย. 2555
ฝนตกหนักทั่ว กรุง พบน้ำท่วมขังหลายจุด การจราจรเริ่มติดขัดโดยเฉพาะ ถ.วิทยุ – วิภาวดีที่มีการชุมนุม แนะเลี่ยงเส้นทาง
เรดาร์ ตรวจสภาพอากาศ กทม. พบเมฆฝนหลายพื้นที่ในกทม.
ทำให้ฝนตกหนักเกือบทั่วพื้นที่จนเกิดน้ำท่วมขังบริเวณ ถ.ศรีอยุธยา หน้า
ร.พ.เดชา ช่องซ้าย น้ำท่วมสูง 10 เซนติเมตร ระยะทาง 150 เมตร ถ.ราชวิถี
จากแยกการเรือน ไปแยกซังฮี้ น้ำท่วมพื้นถนนเต็มเกือบทุกเลน
มีน้ำท่วมขังนิคมมักกะสัน-แยกราชปรารภ เขตราชเทวีน้ำสูง 10 เซนติเมตร ยาว
150 เมตร ถ.แจ้งวัฒนะ ขาออก เชิงทางขึ้นสะพานข้ามแยกเมืองทอง รถชนกัน 2 คัน
และมีน้ำท่วมขัง 2 เลนซ้ายจากหน้าโรงเรียนคลองเกลือถึงหมู่บ้านกฤษดานคร
ถนนดินแดง จาก อุโมงค์ดินแดง มุ่งหน้า แยกโบสถ์แม่พระ
บริเวณหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ มีน้ำท่วมสูง 15 – 20 เซนติเมตร
ระยะทางยาว 400 เมตร ถนนราชวิถี ช่วง แยกอู่ทองในถึงแยกการเรือน
มีน้ำท่วมสูงระดับทางเท้าทุกช่องทางทั้ง 2 ฝั่ง, จาก
แยกซังฮี้ถึงสะพานกรุงธนบุรี มีน้ำท่วม 1 ช่องทางซ้ายสูงระดับทางเท้า
สภาพการจราจรติดขัด
กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) แจ้งเลี่ยงเส้นทางปิดถนนจากการชุมนุมว่า ถนน.วิภาวดี มีประชาชนปิดการจราจรบริเวณหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ในเส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกและถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด) ขาออก เพื่อเรียกร้องเรื่องเงินชดเชยน้ำท่วม ช่วงนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด)แล้ว ส่วนถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก ยังเปิดให้รถขึ้นสะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือเพื่อให้เลี่ยงไปใช้ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนพหลโยธินแทน ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 400 คน เดินทางจากสวนลุมพินีไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ ช่วงนี้ถึงบริเวณหน้าสถานทูตแล้ว กีดขวางการจราจรในทางคู่ขนาน 2 ช่องทาง แนะนำหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนวิทยุ ช่วง แยกเพลินจิตถึงแยกวิทยุ-สารสิน
กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) แจ้งเลี่ยงเส้นทางปิดถนนจากการชุมนุมว่า ถนน.วิภาวดี มีประชาชนปิดการจราจรบริเวณหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ในเส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกและถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด) ขาออก เพื่อเรียกร้องเรื่องเงินชดเชยน้ำท่วม ช่วงนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด)แล้ว ส่วนถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก ยังเปิดให้รถขึ้นสะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือเพื่อให้เลี่ยงไปใช้ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนพหลโยธินแทน ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 400 คน เดินทางจากสวนลุมพินีไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ ช่วงนี้ถึงบริเวณหน้าสถานทูตแล้ว กีดขวางการจราจรในทางคู่ขนาน 2 ช่องทาง แนะนำหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนวิทยุ ช่วง แยกเพลินจิตถึงแยกวิทยุ-สารสิน
เรดาร์ตรวจสภาพอากาศ กทม. พบเมฆฝนหลายพื้นที่ในกทม.
ทำให้ฝนตกหนักเกือบทั่วพื้นที่จนเกิดน้ำท่วมขังบริเวณ ถ.ศรีอยุธยา หน้า
ร.พ.เดชา ช่องซ้าย น้ำท่วมสูง 10 เซนติเมตร ระยะทาง 150 เมตร ถ.ราชวิถี
จากแยกการเรือน ไปแยกซังฮี้ น้ำท่วมพื้นถนนเต็มเกือบทุกเลน
มีน้ำท่วมขังนิคมมักกะสัน-แยกราชปรารภ เขตราชเทวีน้ำสูง 10 เซนติเมตร ยาว
150 เมตร ถ.แจ้งวัฒนะ ขาออก เชิงทางขึ้นสะพานข้ามแยกเมืองทอง รถชนกัน 2 คัน
และมีน้ำท่วมขัง 2 เลนซ้ายจากหน้าโรงเรียนคลองเกลือถึงหมู่บ้านกฤษดานคร
ถนนดินแดง จาก อุโมงค์ดินแดง มุ่งหน้า แยกโบสถ์แม่พระ
บริเวณหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ มีน้ำท่วมสูง 15 – 20 เซนติเมตร
ระยะทางยาว 400 เมตร ถนนราชวิถี ช่วง แยกอู่ทองในถึงแยกการเรือน
มีน้ำท่วมสูงระดับทางเท้าทุกช่องทางทั้ง 2 ฝั่ง, จาก
แยกซังฮี้ถึงสะพานกรุงธนบุรี มีน้ำท่วม 1 ช่องทางซ้ายสูงระดับทางเท้า
สภาพการจราจรติดขัด
กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.)
แจ้งเลี่ยงเส้นทางปิดถนนจากการชุมนุมว่า ถนน.วิภาวดี
มีประชาชนปิดการจราจรบริเวณหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง
ในเส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกและถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด) ขาออก
เพื่อเรียกร้องเรื่องเงินชดเชยน้ำท่วม
ช่วงนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด)แล้ว
ส่วนถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก
ยังเปิดให้รถขึ้นสะพานกลับรถศูนย์ลูกเรือเพื่อให้เลี่ยงไปใช้ถนนแจ้งวัฒนะ,
ถนนพหลโยธินแทน ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 400 คน
เดินทางจากสวนลุมพินีไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ
ช่วงนี้ถึงบริเวณหน้าสถานทูตแล้ว กีดขวางการจราจรในทางคู่ขนาน 2 ช่องทาง
แนะนำหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนวิทยุ ช่วง แยกเพลินจิตถึงแยกวิทยุ-สารสิน
รวมภาพ น้ำท่วมขัง ในกทม. จาก Facebook
สถาพรถเมล์และรถฟอร์จูนเน่อ ร์ถูกต้นไม้ล้มทับเพราะลมฝน กลางถนนสามเสนช่วงแบงค์ชาติ (16:27)ปิดการจราจรถึงเทเวศ น์ @MrMaew
http://news.tlcthai.com/news/51886.html
http://news.tlcthai.com/news/51886.html
น้ำทะลัก เข้าท่วมเขตเศรษฐกิจ อ.ศรีมหาโพธิ เต็มพื้นที่แล้ว
น้ำทะลักเขตเศรษฐกิจ อ.ศรีมหาโพธิ เต็มพื้นที่แล้ว สูง 70 ซม.-1 เมตร ชาวบ้านเร่งเก็บข้าวของ คาดน้ำจะท่วมราว 5-7 วัน
วันนี้ (24 กันยายน) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ชาวบ้านในเขตเศรษฐกิจอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
ต่างเร่งเก็บข้าวของขนย้ายขึ้นที่สูงหนีน้ำกันจ้าละหวั่น หลังจากมวลน้ำจากอำเภอกบินทร์บุรีได้หลากเข้าท่วมในเขตเศรษฐกิจของอำเภอศรีมหาโพธิเต็มพื้นที่แล้ว โดยคาดว่า น้ำจะท่วมอยู่เช่นนี้ 5-7 วัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านไม่ได้เก็บของขึ้นที่สูงกันมาก
นัก เนื่องจากคาดการณ์กันว่า
ทางเทศบาลน่าจะสามารถป้องกันเขตเศรษฐกิจสำคัญเอาไว้ได้
แต่เนื่องจากน้ำมีปริมาณมาก ทำให้ไหลเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
โดยจากการตรวจสอบพบว่า ในเขตเศรษฐกิจมีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 70 เซนติเมตร
แต่มีบางจุดที่ระดับน้ำสูงถึง 1 เมตร
ทำให้ทางเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิประกาศห้ามรถทุกชนิดผ่านเข้าออกเด็ดขาด
และขอให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน
ขณะเดียวกัน จากการตรวจสอบเส้นทางก็พบว่า ถนนหลายสายมีน้ำท่วมขัง ทั้ง
สาย 3079 โคกขวาง-คลองรั้ง ศูนย์นิคมอุตสาหกรรม 304 บางช่วงมีน้ำท่วมขัง
ขณะที่ถนนท้องถิ่น หรือทางหลวงชนบทหลายเส้นทาง อย่างเช่น บ้านเกาะสมอ
บ้านดงกระทงยาม มีน้ำท่วมสูง เช่นเดียวกับ ถนนสายท่าตูม-บ้านย่านนางวิ่ง
และสายท่าตูม-วัดอรัญญไพรศรี ก็ถูกตัดขาด เพราะมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร
น้ำกบินทร์บุรีเริ่มลด ไหลท่วม อ.ศรีมหาโพธิ สูงเกือบ 50 ซม. [10.00 น., 24 กันยายน]
สถานการณ์น้ำท่วม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เริ่มคลี่คลาย หลังน้ำลดลง
10 – 20 เซนติเมตร แต่มวลน้ำกลับไหลเข้าท่วมตัว อ.ศรีมหาโพธิ แทน
โดยระดับน้ำสูง 30 – 50 เซนติเมตร ทำให้ไม่สามารถสัญจรไปมาได้
เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม
จ.ปราจีนบุรี ว่า หลังจากน้ำป่า จ.สระแก้ว ได้ไหลผ่านเข้าแควพระปรง
สมทบน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ไหลมาจากแควหนุมาน
ส่งผลให้ระดับน้ำที่ท่วมตลาดเทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
สูงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.80 เมตร จนรถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้
นอกจากนี้ น้ำป่ายังได้หลากล้นตลิ่งแม่น้ำปราจีนบุรี
ทำให้ถนนสาย 304 (ปราจีนบุรี – ฉะเชิงเทรา) ช่วง กม.91 อ.กบินทร์บุรี
จ.ปราจีนบุรี มีระดับน้ำท่วมสูงกว่า 60 เซนติเมตร จนต้องปิดช่องทางการจราจร
1 ช่อง ให้รถวิ่งสวนทางกันเป็นระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนใน
อ.กบินทร์บุรี 11 ตำบล และอ.ศรีมหาโพธิ 8 ตำบล ได้รับความเดือดร้อนกว่า
3,000 กว่ารายนั้น
ข่าวจาก ครอบครัวข่าว 3
http://news.tlcthai.com/news/53220.html
-------------------------------------------------------
ปภ.สรุปน้ำท่วมใน 10 จังหวัด 42 อำเภอ (ไอเอ็นเอ็น)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัย ใน 10 จว. 42 อำเภอ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2555 ประกอบด้วย จ.สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ ลำปาง และ ระนอง รวม 42 อำเภอ 218 ตำบล 1,219 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 52,973 ครัวเรือน 136,650 คน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 168,143 ไร่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัย ใน 10 จว. 42 อำเภอ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัยว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2555 ประกอบด้วย จ.สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ ลำปาง และ ระนอง รวม 42 อำเภอ 218 ตำบล 1,219 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 52,973 ครัวเรือน 136,650 คน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 168,143 ไร่
http://thaiflood.kapook.com/view47321.html
ชาวเน็ตแชร์ภาพน้ำท่วมทั่วกรุง ถนนถูกน้ำขังถึง 29 จุด
สภาพหน้า ม.ราชภัฏสวนดุสิต หลังจากฝนตกหนัก
ระดับน้ำ ถ.พหลโยธิน ขาเข้า ปากซอยอารีย์
วิภาวดีขาออกก่อนถึง ร.พ.ทหารผ่านศึก มีน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนักระบายไม่ทัน การจราจรติดขัด
ถ.วิภาวดี หน้ากองพันทหารราบที่ 1 รถติดมาก น้ำท่วมขังถึงฟุตบาธ มีรถเครื่องดับหลายคัน
หน้าปั๊ม ปตท. ตรงข้ามหอการค้า วิภาวดี
ลานพระบรมรูปทรงม้า มีน้ำปริมาณมากขังเป็นแอ่งเนื่องจากระบายลงท่อไม่ทัน นับเป็นภาพที่หาดูได้ยาก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์, @MrMaew, @Nalinee_PLE, เฟซบุ๊ก FM. 91 Trafficpro
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพฝนตก น้ำท่วมขัง บริเวณถนนสายหลักต่าง ๆ อย่างมากมาย ส่วนบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย ต้นไม้ล้มทับรถเมล์สาย 65 และทับรถฟอร์จูนเนอร์พังยับ โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
ช่วงเย็นของวานนี้ (18 กันยายน) ชาวเน็ตในสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรม ได้มีการโพสต์ภาพบรรยากาศน้ำท่วมขังทั่วถนนกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ฝนกระหน่ำเทลงมาอย่างหนักเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา โดยส่งผลให้ ถนนสายหลักต่าง ๆ เช่น วิภาวดีรังสิต, พหลโยธิน, พระราม 6, ราชวิถี, ลานพระบรมรูปทรงม้า ฯลฯ มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 15 - 30 เซนติเมตร หรือสูงประมาณครึ่งล้อรถยนต์
นอกจากนี้ เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันดังกล่าว ยังมีรายงานด้วยว่า ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ริมรั้วธนาคารแห่งประเทศไทย แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร ได้ล้มลงมาขวางถนนสามเสน และได้ทับรถประจำทาง ขสมก. สีครีมแดง สาย 65 วัดปากน้ำนนทบุรี-สนามหลวง อีกทั้งยังทับรถยนต์ฟอร์จูนเนอร์ที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่ต้องปิดถนนตั้งแต่สี่แยกบางขุนพรหมจนถึงเทเวศร์ ต่อมาทางเจ้าหน้าที่จาก กทม. ได้ตัดต้นไม้แล้วเสร็จ เมื่อเวลา 17.50 น. ก่อนจะเปิดการจราจรตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกเมื่อวานนี้ บริเวณที่มีน้ำฝนมากที่สุดได้แก่ ย่านถนนเทเวศร์ เขตดุสิต 107 มิลลิเมตร รองลงมาเขตดินแดง ปริมาณฝน 106 มิลลิเมตร และส่งผลให้น้ำท่วมขังรวม 29 จุด
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://thaiflood.kapook.com/view47502.html
-------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก @wichernp
บิ๊กแบ็ก-เกเบียน เอาไม่อยู่! น้ำยมทะลักท่วมตลาดเทศบาลเมืองสุโขทัยรอบ 2 ท่วม จวนผู้ว่าฯ สุโขทัย สูง 7 เมตร เผย ขณะนี้สุโขทัยอ่วม 5 อำเภอ ระดับน้ำสูงกว่าจุดวิกฤติทั้งหมด
สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สุโขทัย ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (16 กันยายน) โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์กำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติอีกครั้ง หลังจากปริมาณน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นเกินจุดวิกฤติ โดยบริเวณหน้าจวนผู้ว่าฯ สุโขทัย วัดความสูงได้ 7.45 เมตร และยังคงเพิ่มระดับความสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีมวลน้ำป่าจาก อ.วังชิ้น จ.แพร่ ไหลเข้ามาสมทบ
ทั้ง นี้ ในส่วนบริเวณที่วางบิ๊กแบ็กและเกเบียนเป็นแนวป้องกันน้ำยมไม่ให้ไหลเข้า ทะลักท่วมตัวเมืองสุโขทัยนั้น ตอนนี้พบว่ามีรอยรั่วซึมหลายแห่ง รวมถึงมวลน้ำยมได้ทะลักเข้ามายังท่อระบายน้ำแล้ว ส่งผลให้น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น และเข้าท่วมตลาดเทศบาลเมืองสุโขทัยเป็นครั้งที่ 2
ขณะที่ ผู้ประกอบการร้านค้า และชาวบ้านในตลาด ที่เพิ่งจะทำความสะอาดที่อยู่อาศัยเสร็จ กลับต้องยกข้าวของขึ้นบนที่สูงอีกครั้งอย่างโกลาหล เนื่องจากไม่มั่นใจกับสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้
ส่วนทางบริเวณหมู่ 4 ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย น้ำยมได้เอ่อล้นเข้าท่วมหมู่บ้านสูงถึง 2 เมตร และยังไหลบ่าเข้าท่วมถนนจรดวิถีถ่อง สายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงด้านหน้าการประปาส่วนภูมิภาค ทำให้ระดับน้ำสูง 50-90 เซนติเมตร เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร รถเล็กสัญจรผ่านไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้เดินทางมามอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 1,000 ชุด จากนั้นได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดย ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจำวน 19 ราย ส่วนมาเป็นกิจการโรงกลึง และอู่ซ่อมเครื่องยนต์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างประเมินความเสียหาย
ส่วนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำยม ตั้งแต่ตอนบนที่ อ.ศรีสัชนาลัย อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมือง และ อ.กงไกรลาศ สูงกว่าจุดวิกฤติทั้งหมด และเอ่อล้นขยายเป็นวงกว้าง เข้าท่วมพื้นที่การเกษตร บ้านเรือนราษฎรอย่างไม่สามารถป้องกันได้
อย่างไรก็ดี ทางด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่ หมู่บ้าน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย มีรายงานว่า ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 1,500 ครัวเรือน พืชสวนพังเสียหายกว่า 2,000 ไร่ แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ทางหน่วยงานเกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือ และเตรียมฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยต่อไป
[13.10 น.,16 ก.ย.] บิ๊กแบ็กในตัวเมืองสุโขทัยพังแล้ว น้ำไหลทะลักเข้าตัวเมือง
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัยธานี ล่าสุดมีรายงาน บิ๊กแบ็กในตัวเมืองสุโขทัยพังแล้ว น้ำเริ่มไหลทะลักเข้าตัวเมือง ทางด้านผู้ว่าฯ สุโขทัย ประกาศให้ประชาชนอพยพออกนอกพื้นที่ และสั่งปิดโรงเรียน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้เมื่อคืนวันที่ 15 กันยายน เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ป้องกันจังหวัด ชลประทานจังหวัด ต้องระดมกำลังเจ้าหน้าที่กลางดึก หลังจากพบรอยรั่วที่บริเวณบิ๊กแบ็ก จุดล้อมกั้นโพรงน้ำที่ลอดพนังกั้นแม่น้ำยม และเป็นสาเหตุทำให้น้ำทะลักเข้าเขตเศรษฐกิจ อีกทั้งเครื่องสูบน้ำที่ประจำจุดนี้ ซึ่งใช้ไฟฟ้าต้องหยุดการทำงาน เนื่องจากน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ต้องตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้เครื่องสูบน้ำจากชลประทาน ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่องแทน
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ทวิตเตอร์ @wichernp รายงานว่า บิ๊กแบ็กในตัวเมืองสุโขทัยพังแล้วเมื่อเวลาประมาณ 12.43 น. วันนี้ (16 กันยายน) หลังจากมีน้ำไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำท่วม จะถึงขอบกำแพงวัดราชธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย
ทางด้านผู้ว่าฯ สุโขทัย ประกาศให้ประชาชนอพยพออกนอกพื้นที่ และสั่งปิดโรงเรียนในเมืองแล้ว หลังได้รับการแจ้งว่ามีน้ำไหลเข้าท่วมเขตเทศบาลสุโขทัย เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมมีระดับสูงขึ้น
ทางด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เรียกประชุมด่วนกับผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยเพื่อเตรียมรับมือน้ำท่วม จังหวัดสุโขทัยโดยด่วน
ปชช.สวรรคโลก เร่งย้ายของหนีมวลน้ำใหญ่
นายกเทศบาลสวรรคโลก ออกเตือนประชาชน เร่งขนย้ายสิ่งของ หลัง มวลน้ำขนาดใหญ่ไหล ลงแม่น้ำยม เกือบวิกฤติ
นายสมชาติ ลิมปะพันธุ์ นายกเทศบาลเมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ได้ประกาศเตือนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำยม เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก ทั้ง 2 ฝั่ง ให้เก็บของขึ้นที่สูง เนื่องจาก มวลน้ำจำนวนมากที่ไหลมาจากบ้านแม่เทิน ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย ไหลลงแม่น้ำยม จึงทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนวิกฤติ ระดับน้ำหน้าสถานีดับเพลิงสวรรคโลก อยู่ที่ 10.42 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับแม่น้ำยมที่รับได้อยู่ที่ 10 เมตร ทางเทศบาลเมืองสวรรคโลก จึงได้นำกระสอบทราย วางเป็นแนวเขื่อนสูง 1 เมตร ตลอดแม่น้ำยม ทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าไหลท่วมพื้นที่เศรษฐกิจของ อ.สวรรคโลก แต่กระแสน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ ที่ ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.เมืองบางยม และ ต.ท่าทอง
ส่วนพื้นที่ ที่ถูกน้ำท่วมหนักสุด อยู่ที่ หมู่ 1 และหมู่ 8 ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก เนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าเป็นพื้นที่ต่ำและรองรับน้ำ กระแสน้ำ ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าตลิ่งแม่น้ำยมเกือบ 1 เมตร ได้กัดแซะแนวเขื่อนดินริมแม่น้ำพังเป็นแนวยาว และน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำยมสูง กว่า 2 เมตร จึงทำให้ประชาชนจำนวนมาก ต้องขนข้าวของและสัตว์เลี้ยง ขึ้นมาทำเพิงพักอาศัยอยู่ริมถนนสาย สวรรคโลก-สุโขทัย เป็นจำนวนมาก สะพานข้ามแม่น้ำยมบ้านไทรย้อย และถนนริมแม่น้ำยมตลอดสาย ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เนื่องจาก ถูกน้ำท่วมสูง ส่วนถนนสายหลัก ยังสัญจรไปมาได้ตามปกติเนื่องจากสูงกว่าถนนริมแม่น้ำ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://thaiflood.kapook.com/view47309.html
เหนือตอนล่าง-กลาง -ตอ.-ใต้ตอนบนฝนหนักมาก,กทม.80% (ไอเอ็นเอ็น)
ประกาศกรม อุตุนิยมวิทยา ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 16 ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
วันที่ 16 กันยายน บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลิ่มลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรง พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในช่วงวันที่ 16-18 กันยายน 2555 ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในช่วงวันเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ซันปา" (SANBA) บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวเข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ในช่วง วันที่ 16-17 กันยายน 2555 พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 05.30 น.
http://thaiflood.kapook.com/view47310.html
-------------------------------------------------------
กรุงฝนตกหนัก จุดไหนเสี่ยงน้ำท่วมขัง
จากการที่ทุกภาคส่วนทั้งนักวิชาการ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร
หรือรัฐบาล
พากันออกมาการันตีว่าจะไม่มีน้ำจากเหนือไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เหมือนอย่างปี 2554 ที่ผ่านมา ทำเอาคนกรุงส่วนใหญ่ออกอาการเบาใจ
แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าจะสบายใจ เพราะนอกจากการบริหารจัดการแล้ว
ปัจจัยทางธรรมชาติก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน
ดังนั้นปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดในกรุงเทพฯ
น่าจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่เทลงมา
จนระบบระบายน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถระบายได้ทัน
สำหรับจุดที่ยังถือว่าเป็นจุดอ่อนน้ำท่วมหลัก ๆ เมื่อฝนเทลงมาแล้วต้องท่วมขังนาน มีอยู่เกือบ 40 จุด คือ
เขตดุสิต ได้แก่ 1. ลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านฝั่งอัมพร
2. ถนนราชวิถี ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3. ถนนสามเสน
ช่วงหน้าโรงเรียนโยธินบูรณะ 4. ถนนนครไชยศรี ช่วงหน้ากรมสรรพสามิต
เขตราชเทวี ได้แก่ 5. ถนนนิคมมักกะสัน ช่วงทางรถไฟ ถึง
ถนนวิทยุ 6. ถนนเพชรบุรี ช่วงถนนชิดลมถึงถนนวิทยุ 7. ถนนพญาไท
ช่วงหน้ากรมปศุสัตว์ 8. ถนนพระรามที่ 6 ช่วงหน้าตลาดประแจจีน 9.
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จากแยกมิตรสัมพันธ์ถึงแยกอโศก 10. ถนนศรีอยุธยา
ช่วงหน้า สน.พญาไท
เขตพญาไท ได้แก่ 11. ถนนประดิพัทธ์
ช่วงจากแยกสะพานควาย ถึง คลองประปา เขตจตุจักร ได้แก่ 12. ถนนรัชดาภิเษก
ช่วงหน้าธนาคารกรุงเทพ 13. ถนนพหลโยธินแยกเกษตร ช่วงหน้าตลาดอมรพันธ์ 14.
ถนนงามวงศ์วานแยกเกษตร ช่วงหน้าตลาดอมรพันธ์ เขตบางซื่อ ได้แก่ 15.
ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ช่วงแยกเตาปูน
(ผลกระทบจากงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง)
เขตหลักสี่ ได้แก่ 16. ถนนแจ้งวัฒนะ จากคลองประปา ถึงซอยแจ้งวัฒนะ 14 และ 17. ถนนงามวงศ์วาน ช่วงหน้าตลาดพงษ์เพชร
เขตสายไหม ได้แก่ 18. ถนนพหลโยธิน ช่วงจากปากซอยพหลโยธิน 58 ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
เขตพระนคร ได้แก่ 19. ถนนสนามไชยจากซอยเศรษฐการ ถึง ถนนท้ายวัง (อยู่ในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน)
เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ 20. ถนนเจริญกรุง (แยกหมอมี) จากถนนแปลงนาม ถึง แยกหมอมี 21. ถนนสุรวงศ์จากใต้ทางด่วน ถึงแยกสุรวงศ์
เขตสาทร ได้แก่ 22. ถนนจันทน์จากซอยบำเพ็ญกุศล ถึง ไปรษณีย์ยานนาวา 23. ถนนสวนพลูจากสาทรใต้ ถึง ถนนนางลิ้นจี่
เขตยานนาวา ได้แก่ 24. ถนนสาธุประดิษฐ์จากถนนจันทน์ ถึง ถนนรัชดาภิเษก
เขตคลองเตย ได้แก่ 25. ถนนพระรามที่ 3 จากห้าแยก ณ ระนอง ถึงถนนเชื้อเพลิง 26. ถนนพระรามที่ 4 จากถนนกล้วยน้ำไท ถึงถนนสุขุมวิท
เขตวัฒนา ได้แก่ 27. ถนนสุขุมวิท 71 จากถนนสุขุมวิท
ถึงคลองบางมะเขือ 28. ถนนสุขุมวิท 26 จากถนนสุขุมวิท ถึง ถนนพระรามที่ 4
เขตบางบอน ได้แก่ 30. ถนนบางบอน 1 จากถนนเอกชัย ถึง คลองบางโคลัด 31.
ถนนเอกชัย จากหน้าห้างบิ๊กซีถึงถนนกาญจนาภิเษก
เขตบางบอน, เขตบางขุนเทียน ได้แก่ 32. ถนนบางขุนเทียน จากถนนเอกชัย ถึงพระราม 2 เขตทุ่งครุ ได้แก่ 33. ถนนประชาอุทิศ จากคลองรางจาก ถึงหน้าสำนักงานทุ่งครุ
เขตบางแค ได้แก่ 34. ถนนเพชรเกษม จากแยกพุทธมณฑลสาย 2
ถึง ปากซอยเพชรเกษม 63 เขตตลิ่งชัน ได้แก่ 35. ถนนฉิมพลี จากถนนบรมราชชนนี
ถึง ถนนราชชนนี
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ต่าง ๆ
สำรวจพบ และเป็นปัญหาจราจรสำคัญ ๆ อีกหลายจุด ได้แก่ ถนนดินแดง
หน้าโรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์ ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าห้างโรบินสัน
และบริเวณแยกรัชดาตัดลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่ด่านเก็บเงินดินแดง
ถึงสโมสรทหารบก
สำหรับสาเหตุที่ทำให้จุดดังกล่าว
ถือเป็นจุดอ่อนน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น นายสัญญา ชีนิมิตร
ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวว่า
การที่มีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ ๆ คือ
ปริมาณฝน หากฝนตกลงมามากก็จะมีปริมาณน้ำในพื้นที่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯแล้วปริมาณที่รับได้
คือตกลงมาแล้วไหลลงระบบระบายน้ำทันทีอยู่ที่ 60 มิลลิเมตร
แต่ถ้าปริมาณฝนมากกว่านั้นการระบายก็จะทำได้ช้าลง
และอีกปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ
เช่นเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหรือแอ่งกระทะในจุดต่าง ๆ เช่น พื้นที่จรัญสนิทวงศ์
ถนนเพชรบุรี ศรีอยุธยา รามคำแหง ดินแดง
จึงทำให้เมื่อมีปริมาณฝนตกลงมาปริมาณน้ำในพื้นที่รวมถึงปริมาณน้ำจากพื้นที่
ใกล้เคียงไหลลงมารวมอยู่ในจุดดังกล่าวตามหลักการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ดังนั้นการระบายน้ำออกจากพื้นที่จึงทำได้ช้า
วิธีที่จะแก้ปัญหาในส่วนของกายภาพที่เป็นพื้นที่ต่ำหรือพื้นที่ที่มีสภาพ
ดินทรุดทำให้ความลาดเอียงในการระบายน้ำเปลี่ยนไป
น้ำไม่สามารถไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้เหมือนเดิมจากสภาพพื้นที่
วิธีที่ดีที่สุดคือ การผลักดันน้ำออกทันทีด้วยเครื่องสูบน้ำ
ส่วนวิธีที่จะแก้ปัญหาการเร่งระบายน้ำได้ทั้งระบบ
จะต้องเพิ่มขนาดท่อรับน้ำเพื่อระบายออกจากพื้นที่ให้มากขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันระบบท่อของ กทม.มีการออกแบบให้สามารถรับน้ำได้ ที่ 60
มิลลิเมตร เท่านั้น
ซึ่งการขยายระบบท่อให้รองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้นตามปริมาณฝนที่ตกลงมานั้นทำ
ได้ยากเพราะต้องรื้อระบบท่อใหม่ทั้งเมือง
ส่งผลถึงพื้นผิวจราจรและกระทบกับการจราจรทั้งเมือง
ซึ่งหากจะให้รื้อท่อทั้งระบบทั่วเมืองต้องใช้งบหลายหมื่นล้านบาท
ส่วนในซอยย่อยก็ไม่สามารถทำได้เพราะพื้นที่แคบมาก จึงถือว่าเป็นไปได้ยากมาก
แต่ในส่วนของถนนเส้นใหม่ที่จะก่อสร้างนั้นกทม.ได้วางท่อระบายน้ำให้กว้างและ
รองรับน้ำมากกว่าเดิมได้ โดยให้สามารถรองรับน้ำได้ 80-100 มิลลิเมตร
ใครที่อยู่ในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วม คงต้องทำใจและปรับตัวรับกับสภาพ
น้ำท่วมขังรอการระบาย สำหรับผู้คนทั่วไปคงต้องศึกษาเส้นทาง
ฝนฟ้ากระหน่ำไม่จำเป็นก็อย่าผ่านเส้นทางดังกล่าว
….อย่างว่าคงจะเลี่ยงยากเพราะจุดอ่อนมีเกือบทั่วเมืองจริง ๆ.
FfF
"ผมเข้าไปต้องการทำเพื่อชาต