<<< ตารางเปรียบเทียบเงินบาทไทยกับประเทศคู่แข่งการค้า ช่วงกลางปี 52 กับ วันนี้ 23 ม.ค.56 >>>
- Wake Up Guys, Jord Puzo และ คนอื่นอีก 2 คน ถูกใจสิ่งนี้
- Maha Arai <<< เปรียบเทียบค่าเงินบาทกับประเทศคู่แข่ง ที่แสดงให้เห็นว่าค่าเงินบาทแข็งมากเกินไปในรอบปีนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_2495.html
<<< กราฟเปรียบเทียบค่าเงินบาท ว่าแข็งค่ามากกว่าค่าเงินของประเทศคู่แข่งทางการค้าจริง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/06/blog-post_09.html - Maha Arai ช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับเงินบาทแล้วไปเก็บสถิติ เก็บกราฟสกุลเงินต่างๆ ไว้ ซึ่งช่วงนั้นพบว่าเงินบาทแข็งค่ากว่าเพื่อนบ้าน วันนี้เลยนำค่าเงินช่วงนั้นประมาณ 6 มิ.ย.52 มาเทียบกับค่าเงินวันนี้
- Maha Arai พบว่าวันนี้เกาหลีใต้แข็งค่ามากกว่าเพื่อนตามมาด้วยสิงคโปร์ฟิลิปปินส์ ที่เพิ่มไป 8-9 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ของไทยถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 29.732 บาทเช่นตอนนี้ก็เปลี่ยนแปลงประมาณ 3.78% ถ้าหลุดขึ้นไปที่ 29 บาทต่อดอลลาห์ก็ยังเปลี่ยนแปลงที่ 6.15%
- Maha Arai แต่ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์อาจเป็นคู่แข่งด้านอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ที่ไทยรับจ้างผลิตหรือต่างชาติมาลงทุนในไทยแต่พวกข้าวสินค้าเกษตรประมงท่องเที่ยว อะไรพวกนี้อินโดนีเซียค่าเงินอ่อนลงกว่าเดิม 8% น่าจะได้เปรียบรวมไปถึงอินเดียคู่แข่งข้าวไทยล่าสุดอ่อนไปอีก 14.87% นั่นหมายถึงว่าราคาข้าวในตลาดโลกจะโงหัวไม่ขึ้นมากถ้าอินเดียยังมีเหลือขาย เพราะค่าเงินเขาอ่อนลงมากมาย
- Maha Arai ส่วนฮ่องกงที่ผูกติดค่าเงินไว้กับดอลล่าห์รวมทั้งจีนก็ไม่ขยับมากและเขาออก มาตรการสกัดค่อนข้างมากเพื่อไม่ให้กดดันเขามากรวมไปถึงสิงคโปร์ที่เริ่มมีมาตรการสกัดอย่างแรงเกี่ยวกับการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ ส่วนพี่ไทยวันนี้ ยังไม่แทรกแซงจากข่าวล่าสุดที่ยิ่งลักษณ์เรียกประชุมแบงค์ชาติและคลังเกี่ยวกับเรื่องค่าเงินบาท
- Maha Arai นายกรัฐมนตรีห่วงปัญหาบาทแข็งกระทบผู้ส่งออก เรียกรมว.คลังและผู้ว่าธปท.ถกด่วนเช้านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าพบที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว อยู่ระหว่าง 29.70-29.95 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าเร็วเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค และหามาตรการรับมือความผันผวนของเงินบาทไม่ให้แข็งค่าสูงขึ้นกว่านี้ จนส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า จากการติดตามอัตราแลกเปลี่ยนพบว่ามีการแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นทั้งผลดีและผลเสีย จึงถือเป็นความท้ายที่ผู้บริหารเศรษฐกิจต้องบริหารให้มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลจะใช้โอกาสนี้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดเงินบาทมีความสมดุลระหว่างการ ไหลเข้าและไหลออก ขณะที่ภาคเอกชนต้องมีการปรับตัวโดยการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มศักยภาพในการผลิต
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงนโยบาย เพราะเชื่อว่า ธปท. จะดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้และจะใช้เครื่องมือดูแลค่าเงินเมื่อมี ความจำเป็น สิ่งที่รัฐบาลจะช่วยบรรเทาได้คือการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรที่ต้องใช้ใน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลค่าเงินได้ แต่ขณะนี้หากดูจากสถานการณ์พบว่าเงินบาทแข็งค่าในระดับเดียวกับภูมิภาค
www.posttoday.com/เศรษฐกิจ-หุ้น/การเงิน/200530/นายกฯเรียกคลัง-ธปท-ถกค่าเงิน - Maha Arai แต่เราไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรมต.คลัง ที่ว่า "รัฐบาลจะช่วยบรรเทาได้คือการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรที่ต้องใช้ใน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลค่าเงินได้"
- Maha Arai เพราะมันเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ต้นเหตุอาจช่วยบรรเทาได้ แต่วันนี้แค่มีข่าวหลุดว่าคลังหรือแบงค์ชาติจะออกมาตรการสกัดพวกเก็งกำไร ตลาดหุ้นก็เริ่มป่วนในช่วงเช้า เพราะพวกเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นก็จะต้อขายเตรียมเงินสดไว้เผื่อเผ่นทันถ้าเจอมาตรการสกัด
- Maha Arai ดังนั้นการช่วยด้วยวิธีนำเข้ามากๆ หรือสนับสนุนให้ไปลงทุนต่างแดนมากๆ มันไม่ตรงจุดเพราะการช่วยแบบนั้นมันชั่วครั้งชั่วคราวแถมเป็นเงินลงทุนระยะยาว แต่พวกเก็งกำไรมันระยะสั้นผลที่ตามมาก็คือ
- Maha Arai ถ้าวันไหนเกิดวิกฤตไม่ว่าในไทยหรือต่างแดนจนพวกเก็งกำไรเริ่มวิตกกังวลในการคง เงินไว้ในไทยจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเขาจะเร่งขนเงินออกทุกวิถีทางนั่นหมายความว่า เงินทุนพวกนี้จะไหลออกอย่างรวดเร็ว กระทบกับเงินทุนสำรองซึ่งไม่รู้มีเท่าไหร่พวกที่เข้ามาเก็งกำไร และมันจะทำให้เงินบาทอ่อนลงแต่เงินที่ถูกนำไปลงทุนทั้งในและนอกประเทศมันไม่สามารถมาช่วยบรรเทากรณีนี้ได้คือเงินมันจม ไม่สามารถนำมาช่วยพยุงเป็นทุนสำรองต่อได้หรือมาช่วยการปกป้องค่าเงินได้อีก เพราะมันไปจมกับการที่นำไปลงทุนนั่นเอง
- Maha Arai สรุปสู้กับพวกเก็งกำไรระยะสั้นต้องถือเงินสดสำรองสูงๆ อาจโยกย้ายออกนอกประเทศหรือในก็ตามเพื่อไปถือทรัพย์สินเปลี่ยนมือได้ง่ายๆ เช่นทองคำหรือลงทุนตราสารหนี้ในต่างแดนหรือลงทุนอะไรที่สามารถเทขายได้ง่ายๆ มากกว่าการไปลงทุนซื้อนั่นนี่ตั้งโรงงานซื้อเครื่องจักรอะไรพวกนี้เงินมันจมทันทีไม่สามารถพลิกเล่นได้หลายหน้า
- Maha Arai อีกอย่างประเทศที่พยายามทำให้ค่าเงินตนเองอ่อนค่าลงงวดนี้ไม่เฉพาะอเมริกา ญี่ปุ่นก็ด้วย ดังนั้นข่าวญี่ปุ่นขนเงินเตรียมมาลงทุนในไทยอีกหลายแสนล้านอะไรพวกเนี้ยะ ถ้ามองพื้นๆ ก็อาจคิดว่าประเทศไทยน่าลงทุน แต่ถ้ามองลึกๆ นี่อาจเป็นการเผ่นจากผลกระทบค่าเงินอ่อนเงินเขา ที่จะมีค่าน้อยลงนำมาลงทุนหรือฝากไว้กับประเทศที่ค่าเงินกำลังขึ้นอย่างไทย ได้เห็นๆ และผลที่ที่จะตามมาคือค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแบบธรรมชาติคือถ้าวันนี้แบงค์ชาติไม่นำเงินไปปกป้องคงไหลไปแถวๆ ต่ำกว่า 29 บาทต่อดอลลา่ห์แล้วหล่ะพอดีมีการทุ่มปกป้องแต่เดี๋ยววันเสาร์มาแอบดูค่าเงินอีกทีสิ คนแบงค์ชาติหยุดทำงานพวกก็แกล้งดันไปเฉียด 29 บาทอีก
http://www.facebook.com/maha.arai
------------------------------------------------
<<< เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ เป็นสิ่งสมควรสนใจเพื่อจะได้คิดวิเคราะห์ความเป็นไป และหาทางแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด >>>
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358824632&grpid=03&catid&subcatid
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358824632&grpid=03&catid&subcatid
- ทั้ง Wake Up Guys และ Pooka Pooky ถูกใจสิ่งนี้
- Maha Arai เรื่องค่าแรง 300 บาทสำหรับผมดูแล้วอาจมีปัญหาเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่จะกระทบต้นทุนแต่ธุรกิจขนาดใหญ่สามารถซับพอร์ตได้ และอาจไม่มีแรงงานที่ต้องจ่าย 300 บาทต่วันเหมือนธุรกิจอื่นหรือจ่ายเกินกันอยู่แล้วก็น่าจะมีในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ
วันอังคาร เวลา 10:41 น. - Maha Arai แต่สิ่งที่น่าห่วงและจะทำให้เกิดวิกฤตต่อรัฐบาลนั่นก็คือค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นวันไหนไหลไปแถว 27 บาทหรือ 25 บาทต่อดอลล่าห์จะมีอยู่ช่วงที่น่าจะเกิดวิกฤตก่อนที่จะปรับตัวกันได้หลัง เกิดวิกฤต
- Maha Arai วิกฤตที่ว่าคือสินค้าส่งออกทั้งหมดของไทยจะได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่นั่นก็คือราย ได้จะน้อยลง เพราะจากที่ขาย 1 ดอลล่าห์แล้วได้ 30 บาทก็เหลือ 29 บาท 28 บาท 27 บาท หรือ 25 บาท ล้วนแล้วแต่ทำให้ขาดทุนมากน้อยทั้งขาดทุนกำไรไปจนถึงขาดทุนจนเจ๊งถ้ามี ออเดอร์ปริมาณสั่งสินค้าที่รับมากมากก็เจ๊งมากหรือมูลค่าสินค้าที่ขายมากก็ขาดทุนมาก
- Maha Arai เช่น ยอดขาย 10 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ถ้าเงินบาทแข็งขึ้นไป 29 บาท ก็จะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนทันที 10 ล้านบาท ถ้าแข็งไป 27 บาทขาดทุน 30 ล้านบาท หรือถ้า 25 บาทขาดทุน 50 ล้านบาทจะเห็นว่ายอดมูลค่าที่ขายยิ่งมากยิ่งขาดทุนมาก
- Maha Arai ดังนั้นในช่วงค่าเงินกำลังไต่ขึ้น การส่งออกอาจมีการชลอลงได้เพราะส่งมากก็ขาดทุนมากอะไรแบบนี้ อาจมีการชลอแต่ธุรกิจคงรอนานไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามันจะแข็งไปถึงที่เท่าไหร่เมื่อไหร่รอมากๆ ก็ไม่ต้องทำมาหากินพอดี ก็เลยเกิดอาการเดินหน้าก็ขาดทุนชลอก็ไม่รู้เมื่อไหร่ มีโอกาสเห็นธุรกิจส่งออกเจ๊งมากขึ้นในช่วงปีนี้
- Maha Arai ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอาจเป็นนโยบายของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาที่ต้องการ ทำให้ค่าเงินเขาอ่อนเพื่อจะได้ขายของได้บ้าง ในขณะประเทศอื่นที่ค่าเงินอ่อนอยู่ก็จะเริ่มได้ผลกระทบกันถ้วนหน้ามากบ้าง น้อยบ้างขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวปรับตัวรับมือพร้อมแค่ไหน
- Maha Arai ที่สำคัญฟันธงเลยคือโครงการรับจำนำข้าวจะมีปัญหามากมายขึ้นกว่าเดิมถ้าค่าเงิน บาทแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือมันจะกดราคาให้ต่ำลงแต่โครงการรับจำนำข้าวยืนราคารับจำนำในราคาที่แน่นอนนี่แหล่ะที่จะมีปัญหาใหญ่ที่จะถ่างช่วงการขาดทุนมากขึ้นในปีนี้อยู่ ที่ว่าจะแข็งค่าขึ้นไปเท่าเไหร่
- Maha Arai เมื่อถึงจุดที่ต้องเลือกระหว่างผู้ส่งออกของไทยไม่ว่าสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือ บริการงานท่องเที่ยวอะไรพวกนี้ กับ การลงทุนจากต่างชาติทั้งลงทุนโดยตรงกับพวกเก็งกำไร วันหนึ่งต้องเลือก ควรจะเลือกพวกแรกเพราะส่งผลกระทบทางการเมืองอย่างแรงไม่เฉพาะเป็นฐานเสียง แต่มันสามารถทำลายความมั่นคงหรือเสถียรภาพของรัฐได้เลยก็แล้วกัน ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศถ้าไม่ใช่ลักษณะเก็งกำไรอะไรก็ไม่จำเป็นต้องสกัดมากดูเป็นบางช่วงเวลาด้วยเหมือนกันแต่พวกเก็งกำไรทั้งหลายแหล่ไม่สกัดตั้งแต่วันนี้ มีโอกาสเจอม้าไม้เมืองทรอยได้ในอนาคต
http://www.facebook.com/maha.arai
------------------------------------------------
<<< เงินบาทมีแนวโน้มกำลังแข็งค
- Wake Up Guys, Tommy Smirnoff และ คนอื่นอีก 2 คน ถูกใจสิ่งนี้
- Maha Arai เมื่อสองสามวันก่อนมีแอบแข็งขึ้นไป 29 บาทหน่อยๆ อย่างรวดเร็ว ถือเป็นสัญญาณลองของรอบใหม่ ก่อนที่ตอนนี้จะถูกแบงค์ชาติแทรกแซงจนมายืนเหนือ 30 บาทต่อดอลลาห์ได้แต่จะยันได้นานเท่าไหร่นั้นต้องลุ้นกันเอง
- Maha Arai 15 มกราคม 2556 เวลา 10:00 น.
รับมือบาทแข็งหลังปท.ยักษ์ใช้ค่าเงินอ่อน
ค่าเงินป่วนศก.คาดเงินบาทแตะ29บาท/เหรียญสหรัฐ ส่งออกกำไรหดต้นทุนพุ่ง ท่องเที่ยวแฟบ
ความพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทั้งหมดชูนโยบายค่าเงินอ่อน ล่าสุด นายชินโสะอาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ขยายเพดานเงินเฟ้อจาก 1% ไปเป็น 2% ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่าญี่ปุ่นมีแผนจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีก ล็อตใหญ่ เพื่อกดดันให้เงินเยนอ่อนค่าลงอีกอย่างต่อเนื่องด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ทำให้เกิดเงินทุนไหลบ่ามาในเอเชีย ซึ่งในปลายปีที่แล้ว ฮ่องกงต้องออกมาตรการสกัดเงินไหลเข้า ขณะนี้เงินไหลบ่ากำลังเป็นปัญหาต่อสิงคโปร์ จนรัฐบาลต้องประกาศมาตรการใหม่เพื่อควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริม ทรัพย์หลังจากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์หลังจากที่ราคาพุ่งสวนทางกับสภาพ เศรษฐกิจขาลง โดยจะขึ้นภาษีชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อบ้านในสิงคโปร์ และขยายเงินดาวน์ขั้นต่ำจาก 10% เป็น 25% สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป
สำหรับประเทศไทย ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทขณะนี้แข็งค่าที่สุดในรอบ 15 เดือน ธปท.จับตาดูอย่างใกล้ชิด แต่ยังถือว่าไม่แข็งค่าเร็วเกินไป เมื่อเทียบกับพื้นฐานเศรษฐกิจ เป็นผลมาจากเงินไหลเข้าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภูมิภาค ไม่ได้ไหลเข้ามาที่ไทยแห่งเดียว เห็นได้จากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามทิศทางของพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้น ด้วย
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และจีน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจที่จะนำเงินออกมาลงทุนในเอเชีย ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น จึงคาดว่าในระยะยาวค่าเงินบาทมีโอกาสจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปถึง 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ปีนี้ผู้ส่งออกจะเผชิญกับรายได้ที่ลดลง เพราะเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นบวกกับการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ทำให้ ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่ม อีกทั้งการท่องเที่ยวอาจจะได้รับผลกระทบ เพราะทัวร์ไทยมีราคาแพงขึ้น
http://www.posttoday.com/เศรษฐกิจ-หุ้น/การเงิน/198850/รับมือบาทแข็งหลังปท-ยักษ์ใช้ค่าเงินอ่อน - Maha Arai ผลกระทบนอกจากธุรกิจท่องเที่ยวโดนแน่ๆ ยกเว้นพวกไปเที่ยวเมืองนอกก็ได้เฮ การส่งออกไปรายได้ลดลง นั่นหมายความว่าสินค้าเกษตรไทยมีโอกาสที่ราคาจะถูกลงเพราะถ้าขาย 1 ดอลลาห์เท่าเดิมแต่ได้เป็นเงินบาทน้อยลงถ้าต้องการเป็นเงินบาทมากขึ้นก็ต้องขึ้นราคาขายต่อลูกค้าที่ขายเป็นดอลลาห์
- Maha Arai นั่นย่อมหมายความว่าโครงการรับจำนำข้าวกำลังจะมีปัญหาขาดทุนมากขึ้นนั่นเองคือ เท่าที่ตั้งราคาขายตอนนี้ก็แพงจนขายไม่ค่อยออกอยู่แล้ว ค่าเงินดอลลาห์อ่อนตัวเงินบาทแข็งขึ้นก็ยิ่งจะทำให้ราคาตกตามโดยธรรมชาติไม่งั้นต้องไปขึ้นราคาขายเพิ่มอีกซึ่งราคาเดิมก็แทบไม่อยากซื้อกันอยู่แล้ว
- Maha Arai คราวนี้ก็จะเกิดปัญหากับโครงการรับจำนำข้าวอย่างจังเรียกว่าขาดทุนอ่ะแน่ๆ แต่จะมากกว่าเดิมแค่ไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นพวกองทุนฝรั่งจึงต้องหลบนำเงินมาฝากในประเทศในรูปซื้อพันธบัตรเงินบาทที่ทางไทยหลงดีใจว่าจะทำให้เป็นประเทศผู้นำด้านพันธบัตรอะไร ทั้งๆ ที่ต่างประเทศแถวนี้ที่เป็นศูนย์กลางการเงินออกมาตรการสกัดกั้นอย่างเต็มที่ ทั้งฮ่องกง และล่าสุดสิงคโปร์ มีพี่ไทยบ้ายออยู่ประเทศเดียวอ้าแขนรับเต็มที่ไม่สนใจจะเกิดวิกฤตการเงินตามมาภายหลัง
- Maha Arai นี่แหล่ะวิสัยทัศน์ความเชี่ยวชาญ คนในกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติไทยไม่เก่งจริง ถึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งนี่กำลังซ้ำรอยวิกฤตแต่จะเป็นวิกฤตจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วจบด้วยเงินบาทอ่อนในตอนจบที่อาจต้องเข้า IMF อีกรอบ
- Maha Arai นี่ล่าสุดบางหน่วยงานออกมาเชียร์ว่าการกู้เงินอีก 2.2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลนี้เพื่อทำเม็กกะโปรเจ๊คส์จะทำให้หนี้สาธารณะของไทยต่อ GDP อยู่แค่ระดับ 50กว่า% ไม่อันตรายอะไร โดยจำลองสถานการณ์แค่ได้ผลกระทบจากยุโรปหรืออเมริกาลืมจำลองว่าโดนเองเต็มๆ จากค่าเงินแข็งค่าขึ้นและการส่งออกนั่นนีมีปัญหา GDP ลดลงหรือเพิ่มขึ้นไม่ทันหนี้ เพราะยอด GDP ของประเทศตอนนี้อยู่ราวๆ 11 ล้านล้านบาทกว่าเพิ่มประมาณปีละล้านล้านบาท
- Maha Arai ในขณะที่หนี้สาธารณะทั้งหมดตอนนี้ตีว่าเกือบ 5 ล้านล้านบาทเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 40 กว่า% แต่ถ้ารวมหนี้ที่กำลังก่อให้อีก 2.2 ล้านๆ บาทเป็น 7 ล้านๆ กว่าบาท หารด้วย GDP 11ล้านล้านตอนนี้เกิน 60กว่า% เป็นการเกินเพดานกรอบวินัยการคลังถ้าหารด้วย 12 ล้านล้านหรือ 13 ล้านล้าน หรือ 14 ล้านล้านก็ยังเกิน 50%
- Maha Arai แต่ถ้าเกิดผลกระทบฟองสบู่แตกในไทยหรือเกิดค่าเงินแข็งค่า จำนำข้าวขาดทุนบานเบอะทบไปเรื่อยๆ ส่งออกการท่องเที่ยวรายได้น้อยลง GDP มันจะโตได้เรื่อยๆ หรือ อาจอ้างว่าก็งบลงทุนไปบวกก็ใช่อาจช่วยได้จากส่วนอื่นที่ลดแต่เฉลี่ยก็ไม่เพิ่มมากหรอกแล้วเงินหมดมันก็ต้องไปกู้มา ลงทุนอีกเรื่อยๆ จะบอกว่าจะทำงบสมดุลได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกแบบนี้และค่าเงินกำลังแข็งค่า ขึ้นแบบมันจะไปได้สักกี่น้ำ เรียกว่ามองแต่แง่บวกจนเพลินลืมมองแง่ลบ แต่ที่เกิดวิกฤตกันประจำก็เพราะมองกันแต่แง่บวก เหมือนการเปิด BIBF โดยไม่ลอยค่าเงินตามสมัยรัฐบาลชวน นั่นแหล่ะมองแต่แง่บวกคิดว่าคนแบงค์ชาติเก่งทั้งๆ ที่มีประเทศล้มหลังเปิด BIBF ไม่นานเห็นๆ หลายประเทศยังหลับหูหลับตาเสี่ยงด้วยความอยากเป็นศูนย์กลางการเงิน แต่ดูสิงวดนี้ศูนย์กลางการเงินของเอเชียทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ออกมาตรการสกัดทุนที่จะเข้าไปเก็งกำไรค่าเงินในประเทศเขาอย่างเต็มที่แต่พี่ไทยเฉย ฝีมือต่างกันแบบนี้อยากเป็นศูนย์กลางการเงินจนตัวสั่นแต่ไม่มีความสามารถ ดูแลค่าเงินเป็นไปเพื่ออะไรกันทำประเทศวิกฤตเปล่าๆ
- Maha Arai และ คนที่จะถูกขูดรีดเพื่อมาใช้หนี้ตอนประเทศล่มจมคือประชาชนคนเสียภาษีทั่วไป ที่จะโดนรีดทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภาษี VAT แน่นอน แต่งวดหน้าถ้ามีวิกฤตแบบกรีซ ขอเสนอให้ยึดทรัพย์พวกโกงกินงบประมาณทุกระดับตั้งแต่ตัวเล็กยันตัวโตก่อนถ้าไม่พอถึงค่อยขึ้นภาษีประชาชน เพราะไม่รู้เรื่องด้วยแล้วโดนรีดภาษีเพิ่มเห็นว่าคงไม่เป็นธรรมต้องเอาพวกรู้เรื่องการกู้เงินก่อนโดยเฉพาะ สส. รมต. นายก ต้องโดนรีดเพิ่มมากๆ ก่อนพวกอื่นทั้งที่ยังมีตำแหน่งและออกจากตำแหน่งไม่งั้นจะได้กันอย่างเดียว เสียไม่โดนประชาชนโดนกันอย่างเดียวไม่ไหว จะได้เข็ดเวลาทำอะไรจะได้คิดเยอะๆ ไม่งั้นโครงการปัญญาอ่อนซื้อ ฮ. 10 ลำ 5 หมื่นล้านคงไม่ออกมาได้หรอกใช้เงินแบบนี้จะมากู้เพิ่มหรือไล่เก็บภาษีเพิ่ม รับไม่ได้จริงๆ
- Maha Arai แถมตัวเลขเศรษฐกิจประเทศนี้ เวลามองต้องมองให้ลึกซึ้งหน่อยอย่ามองแค่ผาดเผินอาจวิเคราะห์ผิด เช่นตัวเลขคนว่างงานประเทศไทยต่ำสุดติด 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราคนว่างงานต่ำสุดของโลกนี้ ใครไม่รู้อาจนำมาโวได้ แต่ลองมองเข้าไปลึกๆ จะพบว่ามันซ่อนตัวเลขแรงงานที่มีงานทำไม่ครบ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือพวกรับจ้างทั่วไปทำเป็นคราวๆ เช่นแรงงานทำนาทำไร่หมดหน้าการจ้างก็ต้องไปหางานอื่นทำพวกนี้ถูกยัดอยู่ในส่วนนี้ไม่ใช่คนว่างงาน แต่มีงานทำมีรายได้ไม่พอยาไส้ในแต่ละปีดีกว่าพวกตกงานหน่อย มีมากถึง 16 % กว่าๆ หลายล้านคน
- Maha Arai ส่วนแรงงานที่นำมาคิดว่าเป็นคนว่างงานดูแล้วน่าจะพวกที่ศึกษาจบปวช.ปวส.ป.ตรีโท เอกอะไรที่จบแล้วหางานทำไม่ได้หรือเลือกงานก็จะยัดอยู่ในแค่ประมาณ 1% แต่พวกรับจ้างทั่วไปน่าจะถูกยัดไปรวมกับพวก 16% แต่เวลาเอาไปเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ผลก็จะออกมาสุดยอดที่สุดแทบไม่ค่อยมีคนว่างงานเลยประเทศนี้ระดับประมาณ 1% ไม่มีประเทศมีชื่อเสียงที่ไหนทำได้เลย มีที่ชนะไทยก็ประเทศอะไรไม่รู้แทบไม่รู้จักเท่านั้นคิดดูซิมันขนาดนั้นเลย หรือ
- Maha Arai แถม อีก 2 เรื่องกรณีตัวเลขคนว่างงานเก็บจากโพลล์เห็นแล้วฮาไม่ออกประเทศนี้ ก็เห็นสารพัดโพลล์การเมืองแล้วไม่ใช่เหรอว่ามันเป็นยังไงรับงานกันเป็นยังไง เฮ้อ
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง วิธีสำรวจภาวะคนว่างงาน เขาทำกันยังไง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_18.html
<<< ควรเปลี่ยนวิธีสำรวจภาวะคนว่างงานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการแก้ปัญหาการว่างงานทั้งระบบต่อไป >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_4483.html
http://www.facebook.com/maha.arai
------------------------------------------------
ชี้ผลสำรวจเอสเอ็มอีไม่ไปนอก พิษ300บาทเอาอยู่ธุรกิจสู้ไหว วอนธปท.ลดดบ.รับบาทแข็ง
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:28:40 น.
ศึก ส.อ.ท.จบยาก′พยุงศักดิ์-ธนิต′นัดประชุม 28 ม.ค.ที่เดียวกัน เผยผลสำรวจพิษ 300 บาท ชี้ส่วนใหญ่เห็นว่า มาตรการรัฐไม่ตรงจุด แต่ไม่ย้ายฐานไปนอก เพราะมั่นใจประคองธุรกิจไหว วอน ธปท.ลดดอกเบี้ยช่วยผ่อนแรงกระทบบาทแข็ง
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับประธานภาคและเลขาธิการภาค ส.อ.ท.เพื่อหาแนวทางยุติปัญหาขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.ว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการเข้าไปทำงานที่ ส.อ.ท. ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
"ที่ผ่านมาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดใช้ความประนีประนอมและเน้นแนวทางเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เพิกเฉย ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ และยังไม่สามารถเข้าไปทำงานใน ส.อ.ท.ได้" นายธนิตกล่าว
นายธนิตกล่าวว่า อยากให้นายพยุงศักดิ์เปิดเผยข้อมูลทุจริตโครงการฝึกอบรมของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีภายใน 3 วันจากนี้ เพราะนายพยุงศักดิ์อ้างว่าเป็นสาเหตุที่ฝ่ายตนพยายามกลบเกลื่อน หากนายพยุงศักดิ์ไม่เปิดเผยจะถือว่าพยายามกล่าวเท็จ
สำหรับกลุ่มและองค์กรขนาดใหญ่ที่ถูกอ้างว่าสนับสนุนนายพยุงศักดิ์ เช่น ปตท. เครือสหพัฒน์ เป็นต้น ยุติการสนับสนุนและแก้ปัญหาร่วมกัน และขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าใจว่าความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ใช่ปัญหาระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ตามที่นายพยุงศักดิ์กล่าวอ้าง เพราะปัญหาอยู่ที่สมาชิกไม่ต้องการนายพยุงศักดิ์อีกแล้ว
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า วันที่ 28 มกราคมนี้ จะจัดประชุมกรรมการ ส.อ.ท. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หากกลุ่มของนายธนิตจะมาประชุมต้องประชุมร่วมกับตนและปฏิบัติตามกฎหมาย คงจัดประชุมเองไม่ได้ เพราะไม่ถูกต้อง
นายธนิตเปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบการปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศว่า ภายหลังนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ส.อ.ท.ได้สำรวจความเห็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 1,000 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2556 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 400 ราย แรงงานไม่เกิน 200 คน เป็นธุรกิจในประเทศ 56% ส่งออก 43% ลักษณะธุรกิจ ใช้แบรนด์ตนเอง 37% ผลิตภายใต้แบรนด์ลูกค้า 27% และรับจ้าง 27%
นายธนิตกล่าวว่า เมื่อสอบถามถึงความช่วยเหลือจากรัฐบาล พบว่า 46% ไม่สามารถช่วยได้ 51% ช่วยได้น้อย และ 0% ช่วยได้ เมื่อถามความพอใจต่อมาตรการพบว่า 66% ไม่พอใจ เพราะมาตรการหลักที่ต้องการ อย่างเช่น การตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง แต่รัฐบาลไม่ตอบรับ
ขณะที่คำถามเรื่องผลกระทบต่อกำไรขาดทุน พบว่า 35% ขาดทุน และ 44% กำไรลดลง ด้านโอกาสในการเลิกกิจการ พบว่า 24% มีโอกาสปิดกิจการ 11% ไม่แน่ใจ และ 64% กระทบแต่สามารถประคองธุรกิจได้
ส่วนโอกาสย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ พบว่า 81% ไม่มีนโยบายย้ายฐาน 18% มีแนวคิดย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศที่ต้องการไปลงทุน พบว่า 50% ไปพม่า 20% ไปกัมพูชา 20% ไปอินโดนีเซีย และ 10% ไปเวียดนาม
นายธนิตกล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าว่า ภาคเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเล็กน้อย เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ส่งออก จากอัตราค่าเงินบาทแข็งค่า ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 29.30-29.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อเนื่องต่อไปอีก 2-3 เดือน หรืออาจจะไปแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่งผลต่อผู้ส่งออกอย่างมาก โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่จะโดนกดราคาสินค้าจากผู้ส่งออก เพื่อชดเชยรายได้ส่งออกที่สูญเสียไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358824632&grpid=03&catid&subcatid
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 10:28:40 น.
ศึก ส.อ.ท.จบยาก′พยุงศักดิ์-ธนิต′นัดประชุม 28 ม.ค.ที่เดียวกัน เผยผลสำรวจพิษ 300 บาท ชี้ส่วนใหญ่เห็นว่า มาตรการรัฐไม่ตรงจุด แต่ไม่ย้ายฐานไปนอก เพราะมั่นใจประคองธุรกิจไหว วอน ธปท.ลดดอกเบี้ยช่วยผ่อนแรงกระทบบาทแข็ง
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับประธานภาคและเลขาธิการภาค ส.อ.ท.เพื่อหาแนวทางยุติปัญหาขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.ว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการเข้าไปทำงานที่ ส.อ.ท. ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
"ที่ผ่านมาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดใช้ความประนีประนอมและเน้นแนวทางเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เพิกเฉย ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ และยังไม่สามารถเข้าไปทำงานใน ส.อ.ท.ได้" นายธนิตกล่าว
นายธนิตกล่าวว่า อยากให้นายพยุงศักดิ์เปิดเผยข้อมูลทุจริตโครงการฝึกอบรมของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรีภายใน 3 วันจากนี้ เพราะนายพยุงศักดิ์อ้างว่าเป็นสาเหตุที่ฝ่ายตนพยายามกลบเกลื่อน หากนายพยุงศักดิ์ไม่เปิดเผยจะถือว่าพยายามกล่าวเท็จ
สำหรับกลุ่มและองค์กรขนาดใหญ่ที่ถูกอ้างว่าสนับสนุนนายพยุงศักดิ์ เช่น ปตท. เครือสหพัฒน์ เป็นต้น ยุติการสนับสนุนและแก้ปัญหาร่วมกัน และขอให้กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าใจว่าความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ใช่ปัญหาระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ตามที่นายพยุงศักดิ์กล่าวอ้าง เพราะปัญหาอยู่ที่สมาชิกไม่ต้องการนายพยุงศักดิ์อีกแล้ว
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า วันที่ 28 มกราคมนี้ จะจัดประชุมกรรมการ ส.อ.ท. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หากกลุ่มของนายธนิตจะมาประชุมต้องประชุมร่วมกับตนและปฏิบัติตามกฎหมาย คงจัดประชุมเองไม่ได้ เพราะไม่ถูกต้อง
นายธนิตเปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบการปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศว่า ภายหลังนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ส.อ.ท.ได้สำรวจความเห็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 1,000 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2556 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 400 ราย แรงงานไม่เกิน 200 คน เป็นธุรกิจในประเทศ 56% ส่งออก 43% ลักษณะธุรกิจ ใช้แบรนด์ตนเอง 37% ผลิตภายใต้แบรนด์ลูกค้า 27% และรับจ้าง 27%
นายธนิตกล่าวว่า เมื่อสอบถามถึงความช่วยเหลือจากรัฐบาล พบว่า 46% ไม่สามารถช่วยได้ 51% ช่วยได้น้อย และ 0% ช่วยได้ เมื่อถามความพอใจต่อมาตรการพบว่า 66% ไม่พอใจ เพราะมาตรการหลักที่ต้องการ อย่างเช่น การตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง แต่รัฐบาลไม่ตอบรับ
ขณะที่คำถามเรื่องผลกระทบต่อกำไรขาดทุน พบว่า 35% ขาดทุน และ 44% กำไรลดลง ด้านโอกาสในการเลิกกิจการ พบว่า 24% มีโอกาสปิดกิจการ 11% ไม่แน่ใจ และ 64% กระทบแต่สามารถประคองธุรกิจได้
ส่วนโอกาสย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ พบว่า 81% ไม่มีนโยบายย้ายฐาน 18% มีแนวคิดย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศที่ต้องการไปลงทุน พบว่า 50% ไปพม่า 20% ไปกัมพูชา 20% ไปอินโดนีเซีย และ 10% ไปเวียดนาม
นายธนิตกล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าว่า ภาคเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเล็กน้อย เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ส่งออก จากอัตราค่าเงินบาทแข็งค่า ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 29.30-29.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อเนื่องต่อไปอีก 2-3 เดือน หรืออาจจะไปแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่งผลต่อผู้ส่งออกอย่างมาก โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่จะโดนกดราคาสินค้าจากผู้ส่งออก เพื่อชดเชยรายได้ส่งออกที่สูญเสียไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358824632&grpid=03&catid&subcatid
------------------------------------------------
<<< กราฟค่าเงินบาทที่แสดงให้เห็นว่ากำลังโดนปั่นค่าเงินด้วยวิธีการกระตุกเป็นช่วงๆ เพื่อชี้นำตลาด >>>
------------------------------------------------
<<< กราฟค่าเงินบาทที่แสดงให้เห็นว่ากำลังโดนปั่นค่าเงินด้วยวิธีการกระตุกเป็นช่วงๆ เพื่อชี้นำตลาด >>>
------------------------------------------------
FfF