บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


24 มีนาคม 2553

<<< เหตุการณ์ สงกรานต์เลือด >>>

ลำดับเหตุการณ์ สงกรานต์เลือด

26 มีนาคม 2552
ได้มีการจัดการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 6 เริ่มจากการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงและเคลื่อนขบวนมาปักหลักชุมนุมอย่างยืดเยื้อบนถนนรอบทำเนียบรัฐบาล

27 มีนาคม 2552
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถ่ายทอดภาพมายังกลุ่มผู้สนับสนุน และกล่าวอ้างว่า ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และองคมนตรีบางท่าน คือ พล.อ.สุรยุทธ์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ได้ใช้อำนาจทหารค้ำตำแหน่งของนายอภิสิทธิ์ ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้บุคคลดังกล่าวลาออกทั้งหมด

8 เมษายน 2552
แกนนำคนเสื้อแดงนำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อและนายจักรภพ เพ็ญแข ได้ขึ้นบนเวทีที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่ออ่านแถลงการณ์ของคนเสื้อแดง โดยตั้งข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
3. การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไป ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปรับปรุงใด ๆ ให้ดีขึ้นตามหลักสากล ต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างนักประชาธิปไตยผู้มีประวัติและพฤติกรรมเชิด ชูระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์
ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงได้เรียกร้องให้ เวลา 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะมีการยกระดับการชุมนุม

9 เมษายน 2552
ม็อบเสื้อแดงบางกลุ่ม ดาวกระจายไปตามถนนสายต่างๆ และปิดถนนรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พร้อม เปิดเวทีย่อยปราศรัยตลอดทั้งคืน

10
เมษายน 2552
ม็อบเสื้อแดงบางส่วน ยกเลิกการปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุ่งหน้าไปจังหวัดชลบุรี นำโดยนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง

11 เมษายน 2552
นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง พาม็อบเสื้อแดงส่วนหนึ่งไปชุมนุมแถวโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา เพื่อกดดันรัฐบาลและแสดงให้ต่างชาติเห็นถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลนี้ โดยจุดประสงค์หลักคือการเข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนอาเซียนเพื่อให้ทราบว่า มีประชาชนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับรัฐบาลนี้ เนื่องจากไม่ได้มากด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน แต่กลุ่มคนเสื้อ น้ำเงินมาขวาง จึงเกิดการปะทะกัน แต่เมื่อมีการเจรจา การปะทะจึงยุติลง ทั้งสองฝ่ายร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน กลุ่มคนเสื้อแดงจึงเดินเท้าเข้าไปชุมนุมหน้าโรงแรมได้ มีสื่อบางสำนักสามารถจับภาพนายเนวิน ใส่เสื้อน้ำเงินนั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์ ซึ่งคอยบัญชาการกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน ซึ่งมีข่าวว่านายสุเทพก็ร่วมบัญชาการด้วย เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นหนังสือเรียบร้อยแล้วแต่ระหว่าง เดินทางกลับจากโรงแรม โดนกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินดักทำร้าย กลุ่มคนเสื้อแดงจึงบุกเข้า ไปในศูนย์นักข่าวใน โรงแรม เพื่อแถลงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิด นายอริสมันต์ บอก ผบ.ทบ. ทางโทรศัพท์ ให้เวลา 2 ชั่วโมง นายกต้องลาออก เพื่อรับผิดชอบเรื่องที่คนเสื้อแดงโดนคนเสื้อน้ำเงินที่มีคนของรัฐคอยบงการ ดักทำร้ายคนเสื้อแดงจนบาดเจ็บหลายคนและอยู่ห้อง ICU 1 คน อภิสิทธิ์ไม่ลาออก แต่ประกาศเลื่อนการประชุมนานาชาติออกไป พร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี ส่วนม็อบเสื้อแดงหลังจากบุกเข้าไปในโรงแรมได้แล้ว ก็ยกขบวนกลับกรุงเทพ ด้วยคาราวานรถยนต์ในเย็นวันเดียวกันนั้นเอง และมีการยกเลิก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลาต่อมา

12 เมษายน 2552
ช่วงเช้าหลังมีข่าวตำรวจจับตัวนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช. ที่ไปบุกโรงแรมเมื่อวาน หลังทราบข่าวกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนไปที่หน้าศาลอาญารัชดา และได้ไปชุมนุมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กดดันให้ตำรวจปล่อยตัวอริสมันต์ ภายใน 3 ชั่วโมง ส่วนอริสมันต์ถูกตำรวจพาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปสอบสวนต่อที่ค่ายนเรศวร เพชรบุรี ซึ่งนายจตุพร พรหมพันธ์ ขอร่วมติดตาม ท่ามกลางข่าวลือถูกจับไปอีกคน แต่เจ้าตัวปฏิเสธเพราะสมัครใจไปเป็นเพื่อน ช่วงบ่ายที่กระทรวงมหาดไทย หลังอภิสิทธิ์ แถลงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล คนเสื้อแดงล้อมกระทรวงทำให้ขบวนรถของนายกรัฐมนตรี ต้องวนหาทางเลี่ยงฝ่าวงล้อม ในขณะที่มีเสียงปืนดังขึ้น หลายครั้ง ซึ่งยิงโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยนายกยิงด้วยปืนกลอูซี่ และอีกคนยิงด้วยปืนสั้นยิงคนละเวลากัน คนที่อยู่ในเหตุการณ์ลือกันว่ามีคนถูกยิงด้วย
ซึ่งผู้ชุมนุมได้พยายามดักรถที่คาดว่านายอภิสิทธิ์ นั่งอยู่และมีรถ ประจำตำแหน่งคันหนึ่งพยายามวิ่งหลบฝูงชน แต่สุดท้ายโดนคนเสื้อแดงล้อมและทุบกระจกรถ ภายในรถมีนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ แกนนำระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับบาดเจ็บนั่งอยู่ในนั้น รถสายพานลำเลียง 2 คันของกองทัพที่ไปประจำหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถูกคนเสื้อแดงยึดได้

13 เมษายน 2552
24.00 น. นายกฯ แถลงความคืบหน้าหลังออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน วอน ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เร่งคืนความสงบสุขให้สังคม

24.38 น. กลุ่มเสื้อแดง ไม่พอใจทหาร ร่วม 30 นาย ตรึงกำลังรักษาความปลอดภัย บริเวณแยกสุทธิสาร หวั่นถูกเข้าสลาย ก่อนนำรถแท็กซี่ มาปิดถนนแยกสุทธิสารไปดินแดง รถไม่สามารถผ่านได้

01.52 น. แกนนำเสื้อแดง ปราศรัยให้แนวร่วมเคลื่อนพล ไปสมทบกันที่แยกดินแดง หลังได้รับรายงาน มีการเผชิญหน้ากัน พร้อมเตือนระวัง รัฐบาลอาจมีการสลายการชุมนุม ในช่วงเช้ามืด

03.39 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รุดตรวจสอบ เหตุ คนร้ายยิง M 79 เข้าไปในศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ทหาร ที่เข้าไปรักษาความปลอดภัยได้รับบาดเจ็บ 1 นาย เล็ง เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย สถานที่ราชการ

04.00 น. กองกำลังทหารถืออาวุธสงครามใส่กระสุนจริง เริ่มเข้าทำการสลายม็อบ โดยเคลื่อนเข้ามาทางถนนวิภาวดีฝั่งขาเข้า มีการยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มคนเสื้อแดงที่ใต้ทางด่วนกว่า 1,000 คน จนถอยร่นมาถึงสามเหลี่ยมดินแดง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือพากันวิ่งหลบหนี แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนนำยางรถยนต์มาเผา และพยายามขับรถประจำทางพุ่งเข้าชนเจ้าหน้าที่ทหาร ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้อาวุธปืนยิงใส่ ผู้ชุมนุมฮือกันเข้ามาปะทะอีก เจ้าหน้าที่ทหารจึงยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมกว่า 20 นัด ทำให้ผู้ชุมนุมแตกฮือวิ่งกระจัดกระจายไปคนละทิศทาง ระหว่างนั้นผู้ชุมนุมบางส่วนทยอยไปรวมตัวที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่ามกลางรถพยาบาลหลายคันที่วิ่งเข้าไปรับผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลรามาธิบดี

05.24 น. แกนนำคนเสื้อแดง ขึ้นเวทีปลุกระดมคนเสื้อแดง หลังทหาร เข้าสลายการชุมนุมที่แยกดินแดง จัดเกณท์แนวร่วมไปสมทบ พร้อมแจ้งเตือนให้ระวัง อาจเข้ามาสลายที่ทำเนียบ ฯ

05.30 น. สถานการณ์บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เริ่มคลี่คลายลง โดยเจ้าหน้าที่ตรึงกำลังเอาไว้ตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดง ถึงโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ส่วนผู้ชุมนุมกระจายไปทางถนนราชปรารภ และบริเวณแยกศรีอยุธยา ที่มีการนำรถมากั้นถนน และบางส่วนไปรวมกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เสื้อแดงถอยจากแยกดินแดง หลังทหาร ใช้แก๊สน้ำตา สลายการชุมนุม แกนนำฯ ประกาศให้แนวร่วมไปสมทบที่ทำเนียบฯ ขณะรถพยายามจากหลายแห่ง วิ่งเข้ารับผู้บาดเจ็บ

05.39 น. โฆษกกองทัพบก ยันมีความจำเป็นต้องสลายม็อบเสื้อแดงที่แยกดินแดง เพื่อเปิดทาง

05.53 น. BBC รายงานข่าวการสลายผู้ชุมนุม บริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิต เผยทหารใช้ปืนยิงขู่ประชาชนขึ้นฟ้า แต่ใช้กระสุนจริงไม่ใช่กระสุน Blank แต่มีคลิปที่ผู้ชุมนุมบางคนจับภาพได้ วิถีกระสุนบางนัด มีลักษณะพุ่งเฉียงทำมุมต่ำเลยหัวไปไม่เท่าไหร่

06.30 น. ทหารยึดพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง คืนจากกลุ่มม็อบเสื้อแดง ได้ทั้งหมดแล้ว และได้ดับยางรถยนต์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมจุดทิ้งไว้ แล้วด้วย

06.40 น. มีรถแก๊ส 10 ล้อ สีขาวคันหนึ่ง จอดกลางถนนดินแดงขาเข้า ตรงข้ามโรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์ ทำให้บรรยากาศบริเวณนั้นตึงเครียดตลอดเวลา โดยประชาชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงต่างพากันหวาดกลัว ส่วนการจราจรทั้งขาเข้า-ขาออกปิดทั้งสองเส้นทาง

06.54 น. ม็อบเสื้อแดง จากสามเหลี่ยมดินแดง ถอยร่นมาบริเวณแยกศรีอยุธยา พร้อมเข้ายึดป้อมจราจร และนำรถเมล์ มาปิดกั้นการจราจร พร้อมทั้งจุดไฟเผายางรถยนต์ เป็นระยะ ๆ

07.14 น. นายกฯ ออกคำสั่งตั้ง กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ดูแลพื้นที่ ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

07.37 น. อดีต ส.ส.เพื่อไทย "พายัพ ปั้นเกตุ" ปลุกระดมม็อบเสื้อแดงทำเนียบ ล้อมคิงเพาเวอร์ ขณะที่พบชายเคราะห์ร้าย ถูกการ์ดทำร้ายจนน่วม ก่อนนำขึ้นประจานบนเวที อ้างกำลังเตรียมปฏิบัติการณ์ จุดไฟเผา ธ.กรุงเทพ

07.45 น. ผบช.น. เรียกประชุม ประเมินสถานการณ์ม็อบเสื้อแดง หลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

07.57 น. ม็อบเสื้อแดงทำเนียบ ปลุกระดมมวลชนต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า นำรถสุขาขวางถนน

08.13 น. ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ เผยยอดผู้บาดเจ็บ จากการสลายการชุมนุมที่แยกดินแดง 68 ราย ยันไม่พบผู้เสียชีวิต

08.25 น. สื่อมวลชนทยอยออกจากบริเวณการชุมนุมหลังแกนนำประกาศ ไม่รับรองความปลอดภัย อ้างรายงานข่าวไม่เป็นกลาง

08.30 น. เจ้าหน้าที่ทหารพยายามเจรจากับกลุ่มคนที่คุมรถแก๊ส ให้ปิดวาล์วรถแก๊ส เพราะเกรงจะเกิดการระเบิดขึ้น แต่การเจรจาไม่เป็นผล และมีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะ ในช่วงนี้ก็มีการโหมกระพือข่าวทางสื่อและการปลุกระดมคนในแฟลตดินแดงแถวนั้น

09.01 น. มือมืดป่วน ลอบปาขวดน้ำมันใส่กระทรวงคมนาคมไหม้ โชคดี เจ้าหน้าที่ดับทัน เสียหายเล็กน้อย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

09.23 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปิดการจราจร ถนนเศรษฐศิริ พร้อมกับ อพยพคนออกจากพรรคประชาธิปัตย์ หลังได้รับรายงานว่าจะมีการนำรถแก๊สมาจอด

10.03 น. ตำรวจ สภ.พัทยา สั่งอายัดตัว แกนนำเสื้อแดง "อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง" ต่อ หลังได้รับการปล่อยตัวจาก ค่ายนเรศวร จ.เพชรบุรี

10.20 น. มือที่สามป่วน ขว้างระเบิดเพลิง ใส่ร้านกาแฟสนามเสือป่า ขณะเสื้อแดงยังต่อว่าสื่อเสนอข่าวไม่เป็นกลาง

11.00 น. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต สนช. ออกโรงจี้ กองทัพ ควรออกมาได้แล้ว ถ้าปล่อยตำรวจอยู่ สถานการณ์จะบานปลาย

11.08 น. ม็อบเสื้อแดง ไล่ผู้สื่อข่าวพ้นทำเนียบ พร้อมสั่งกักรถถ่ายทอดสด ช่อง 7 ไว้ภายใน

11.52 น. นายกฯ แถลงยันจะคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็ว พร้อมเตือนประชาชนให้เดินทางกลับ หากไม่ต้องการเผชิญความรุนแรง

12.17 น. 2 ชายฉกรรจ์ ขับรถฝ่าแนวกั้นตำรวจ บริเวณสถานีรถไฟสามเสน บุกขับวนรอบด้านหน้าพรรคประชาธิปัตย์

12.23 น. ม็อบเสื้อแดง นำยางรถยนต์ราดน้ำมัน และรถเมล์สาย 8 ปิดถนนแยกศรีอยุธยา ใกล้ ร.พ.รามาธิบดี

12.37 น. ทหารใช้แก๊สน้ำตา เข้าสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดง ที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง อีกครั้ง พบทหารบาดเจ็บ 1 นาย ขณะที่ม็อบเสื้อแดง ป่วนหนัก ยิงหนังสติ๊กเข้าใส่ ร.พ.ทหารผ่านศึก

12.30 น. หน้าแฟลตดินแดง แฟลต 3 ชาวบ้านได้พยายามเจรจากับกลุ่มคนที่คุมรถแก๊ส ให้ย้ายรถแก๊สออกไป เพราะเกรงไม่ปลอดภัย แต่กลุ่มคนที่คุมรถแก๊สยืนยันปฏิเสธ จนชาวบ้านแฟลตดินแดงได้รวมตัวกันด้วยความโกรธแค้น และต่อว่าคนกลุ่มนั้น มีเสียงปืนดังขึ้นด้วย ชาวบ้านได้นำน้ำฉีดบริเวณรถแก๊ส ส่วนกลุ่มคนที่คุมรถแก๊สก็เริ่มถอยห่างออกมา

12.40 น. " ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ " ปลุกระดมมวลชนขอยึดทำเนียบรัฐบาล เป็นฐานที่มั่นสุดท้าย

12.43 น. สมาคมนักข่าว และ 7 องค์กรพันธมิตร ขอรัฐบาลใช้กำลังเจ้าหน้าที่ที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาม็อบเสื้อแดง พร้อมร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุติการยั่วยุและปลุกระดมประชาชน และต้องรับผิดชอบหากเกิดความรุนแรง

12.50 น. ปลัดกระทรวงพลังงาน สั่งผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันพื้นที่เสี่ยงเหตุจลาจล ปิดได้ทันทีหากจำเป็น แต่ไม่ได้สั่งปิดทุกปั๊มในพื้นที่

13.13 น. ทหารบุกยึดพื้นที่อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ในขณะที่ม็อบเสื้อแดง ยังป่วนหนัก ลอบเผารถเมล์ ที่จอดขวางถนนตลอดเวลา

13.34 น. "สาทิตย์ วงศ์หนองเตย" แจง สถานีไทยคม ตัดสัญญาณ "ดีสเตชั่น"แล้ว

14.24 น. เสื้อแดงถอยร่นกลับไปตั้งหลั้งที่แยกตึกชัย หลังทหารเข้าเคลียร์พื้นที่ สามเหลี่ยมดินแดง และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

14.36 น. มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุเข้าสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดง เข้ารับการรักษาร.พ.รามาธิบดี 4 ราย ขณะที่ม็อบยังป่วนหนัก เผายางรถยนต์สร้างสถานการณ์

14.36น. ผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกผู้เกี่ยวข้อง ร่วมทำความเข้าใจแผนการปฏิบัติการณ์ตามพรก.ฉุกเฉิน

15.04 น. โฆษกกองทัพบก พอใจ สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับน่าพอใจ หลายจุดแล้ว พร้อมชี้แจงทหารเล็งกระสุนซ้อมรบ หรือ "ลูกแบงค์" ซึ่งใช้กระดาษหรือลูกยางแทนหัวกระสุน ใส่ผู้ชุมนุม ( แต่จากภาพหลักฐานเป็นกระสุนจริง ส่วนกระสุนซ้อมรบหรือลูกแบงค์ ไม่ใช่กระสุนกระดาษหรือลูกยาง แต่เป็นกระสุนที่ไม่มีหัวกระสุน แต่ทำด้วยเหล็กเหมือนกัน )

15.24 น. ผอ.แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ยืนยัน เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้อาวุธทำร้ายประชาชน แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการป้องกันตัว และคงไว้ซึ่งการรักษากฎหมาย

15.37 น. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลัง ทหาร เข้าสลายม็อบเสื้อแดง ขณะที่ หลายแยกสำคัญทหาร ยังตรึงกำลังเข้ม

15.43 น. ตำรวจ-ทหาร ผลักดันผู้ชุมนุม แยกศรีอยุธยา ซึ่งขว้างระเบิดเพลิงและเผารถเมล์ขวางทาง กลุ่มเสื้อแดงถอย มุ่งหน้าถนนพระราม 6

14.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารสามารถเข้าควบคุมบริเวณหน้าแฟลตดินแดง และเข้าควบคุมรถบรรทุกถังแก๊สได้ โดยมีชาวแฟลตดินแดงออกมาแสดงความยินดี ยังมีเสียงปืนเป็นระยะ ส่วนรถบรรทุกแก๊สที่จอดอยู่หน้าห้างคิงเพาเวอร์ ในซอยรางน้ำ ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดได้เข้ามาตรวจสอบและดูแลจนปลอดภัย

15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณแยกราชปรารภ ได้ขับรถเมล์ 5 คัน และนำกำลังของกลุ่มผู้ชุมนุม ขับรถฝ่าแนวเจ้าหน้าที่ทหาร จนต้องใช้อาวุธปืนยิงปืนขึ้นฟ้าเป็นระยะเพื่อสลายม็อบ แต่ผู้ชุมนุมยังไม่ยอมสลายตัว และรถเมล์ 2 คันพุ่งเข้าชนเสาไฟฟ้าบริเวณถนนราชปรารภ และมีการจุดไฟเผารถเมล์ อย่างไรก็ตาม ทหารยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยผลักดันผู้ชุมนุมถอยร่นจากบริเวณสี่แยกราชปรารภไปได้

15.30 น. กลุ่มเสื้อแดงกระจายปิดแยกศรีอยุธยาและสี่แยกพญาไท โดยใช้รถโดยสารจอดขวาง และมีการจุดไฟเผายางรถยนต์มีควันไฟหนาแน่น

16.00 น. มีการสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้ชาวมุสลิม แถวถ. เพชรบุรี ซอย 5 และซอย 7 ซึ่งเป็นฐานเสียงของ ส.ส. ปชป. เข้าใจผิด โดยมีการยิงปืนลูกซองใส่กลุ่มชาวไทยมุสลิม บริเวณปากซอยเพชรบุรี 7 ถนนเพชรบุรี ก่อนทุบทำลายรถยนต์ของประชาชนที่จอดภายในซอยจำนวนหลายคัน ก่อนที่จะเผารถจักรยานยนต์บริเวณหน้าปากซอยดังกล่าวเสียหาย 1 คัน เป็นเหตุให้ชาวมุสลิมได้ลุกฮือขึ้นมาพร้อมเข้าปะทะกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีกว่า 100 คน โดยกลุ่มชาวไทยมุสลิม เป็นสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งนี้ ก่อนเกิดเหตุ ได้มีคนเสื้อแดงบางคนขับรถผ่านบริเวณซอยดังกล่าวแล้วโดนทำร้าย รวมถึงคนมุสลิมเสื้อแดงมาจากต่างถิ่นแล้วแวะไปละหมาดที่มัสยิดแถวนั้นแล้วโดนคนมุสลิมสนับสนุนเสื้อเหลืองทำร้ายก่อนหน้านี้ไม่กี่วันด้วย

15.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน เดินขบวนออกมาจากทำเนียบรัฐบาล โดยส่วนใหญ่ถือดอกไม้ ธงชาติ มายืนประจันหน้าเจ้าหน้าที่ทหารที่แยกลานพระบรมรูป ระหว่างที่เคลื่อนขบวนได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเมื่อผ่านกองทัพภาค 1 ต่างพร้อมใจกันคุกเข่าและก้มกราบ จากนั้นได้เคลื่อนขบวนถึงแยกลานพระรูป โดยยืนห่างกับแถวเจ้าหน้าที่ทหารประมาณสิบเมตร พร้อมมอบดอกไม้ให้ทหารและขออย่าทำร้ายประชาชน

16.14 น. โฆษกรัฐบาล แถลงยืนยัน เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการก่อจลาจล ของม็อบเสื้อแดงในพื้นที่ส่วนใหญ่ ของ กทม.เอาไว้ได้แล้ว

16.50 น. กลุ่มเสื้อแดงปักหลักชุมนุมแยกอุรุพงษ์ ทหารต้องสกัดด้วยแก๊สน้ำตาและล่าถอยมาอยู่หลังแผงกั้นทางรถไฟ

16.58 น. ผอ.สถาบันแพทย์ฉุกเฉิน ยันไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม พบผู้บาดเจ็บทั้งหมด จำนวน 77 ราย

17.00 น. ทหารเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณลานพระบรมรูปได้เรียบร้อย โดยมีกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนที่เป็นชายฉกรรจ์ ถอยร่นไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยมีเสียงปืนดังเป็นระยะ และระหว่างการล่าถอยได้จุดไฟเผาวัสดุต่างๆ เป็นการป้องกันการรุกคืบของทหาร และรถจีเอ็มซีและรถบัสของทหาร ประมาณ 10 คัน ได้นำกำลัง 500-600 นาย มาตรึงที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

17.23 น. มีการวางเพลิงรถเมล์หน้ากองบัญชาการกองทัพบก พร้อมปาระเบิดเพลิงเข้าไปภายใน ก่อนหลบหนี

17.24 น. หลายประเทศ ออกคำเตือนพลเมือง เลี่ยงการเดินทางเข้าประเทศไทย

17.30 น. ผู้ชุมนุมบริเวณแยกวัดเบญจมบพิตร ต่อเนื่องลานพระบรมรูปได้จุดไฟเผายางรถยนต์และรถประจำทางสีครีมแดงข้างวัด เบญจมบพิตร ตรงข้ามสหกรณ์กองทัพบก ไฟลุกท่วมคัน ทหารเดินหน้าตั้งกำแพงกดดันผู้ชุมนุมและยิงปืนขึ้นฟ้า รวมทั้งกดดันผู้ชุมนุมที่อยู่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกำลังตำรวจตระเวนชายแดนและตำรวจปราบจลาจล ตรึงกำลังรักษาความสงบ ทางผู้ชุมนุมขว้างปาเหล็ก ขวดแก้ว ระเบิดเพลิง ใส่ทหารจึงยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมโดยทหารสามารถยึดพื้นที่คืนได้สำเร็จ ทหารได้เข้ายึดพื้นที่บริเวณแยกพระราม 9 จากกลุ่มคนเสื้อแดงได้เรียบร้อยแล้ว หลังจากรุกไล่กดดันมาตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดง

17.40 น. มีคนขว้างระเบิดเพลิงเข้าไปในกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เพลิงลุกไหม้บริเวณชั้น 3 ของอาคารอาชีวศึกษา ทำให้มีกลุ่มควันเป็นจำนวนมาก กระแสไฟฟ้าภายในอาคารดับทั้งหลัง

18.00 น. ทหารสามารถเคลียร์พื้นที่ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงแยกพระราม 9 ได้ทั้งหมด คงเหลือกลุ่มคนเสื้อแดงบ้างประปราย

18.10 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ผ่าน CNN ชี้ ทหารฆ่าประชาชน แต่ปกปิดข้อเท็จจริง ยันพร้อมกลับประเทศไทย เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

19.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผ่าน CNN โต้ทักษิณ ยันไม่มีผู้เสียชีวิต จากเหตุปราบปรามการก่อจลาจลของม็อบเสื้อแดง

19.40 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง แถลงสรุปสถานการณ์ 2 วัน ย้ำไม่มีคนตาย แนะคืนนี้ประชาชนระวังตัวอาจมีเหตุป่วนวินาศกรรม

21.13 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งการด่วนไปยังทุกพื้นที่ ให้ออกตรวจตราเข้มปั๊มน้ำมัน, ปั๊มแก๊ส, ตู้ ATM หวั่นมีการเผาทำลายทุบขโมยเงินสด

14 เมษายน 2552
10.00 น. แกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนถนนรอบทำเนียบ รัฐบาล เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเพิ่มขึ้นจากการปราบปรามของรัฐบาล จากนั้นแกนนำ 5 คน คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสุพร อัตถาวงศ์ได้เข้ามอบตัวต่อ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐบาล ระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 120 คน ระหว่างการชุมนุม ในเวลาต่อมา ได้พบศพ นปช. 2 คน ลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทางตำรวจสรุปว่าเป็นการฆาตกรรมด้วยชนวนเหตุทางการเมือง กลุ่มนปช. กล่าวอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน แต่ศพได้ถูกฝ่ายทหารเอาไปซ่อน แต่ทางกองทัพปฏิเสธ

23 เมษายน 2552
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) อภิปรายในที่ประชุมร่วมรัฐสภาโดยตั้งข้อสังเกตต่อเหตุการณ์การชุมนุมของ กลุ่ม นปช.ว่า ถูกบิดเบือนข้อเท็จจริงและทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงตกเป็นจำเลยสังคมว่า สร้างความวุ่นวายให้แก่บ้านเมือง ทั้งที่จริงแล้วเหตุการณ์ต่างๆ ถูกรัฐบาลจัดฉากขึ้นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น กรณีรถแก๊ส, การเผารถเมล์, การยิงมัสยิดในซอยเพชรบุรี 5 และ 7 รวมทั้งชาวนางเลิ้งที่ถูกยิงเสียชีวิต "พวกผมแสวงหามิตรในการชุมนุม ไม่ได้หาศัตรูในการชุมนุม...กรณีรถแก๊ส รถเมล์ นางเลิ้ง เพชรบุรี และการฆ่าคนที่สามเหลี่ยมดินแดงคงไม่จบแน่ การเอาฝ่ามือปิดแผ่นฟ้าคงจะไม่มิด" นายจตุพร กล่าว ทั้งนี้ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติในกรณีรถแก๊สที่ถูกนำไปจอดย่านดินแดง และที่หน้าโรงแรมพูลแมน ซ.รางน้ำ โดยมีข้อมูลว่าแม้จะเป็นรถแก๊สจากคนละบริษัท แต่กลับพบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทขนส่งแก๊สทั้ง 2 แห่งเป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าเป็นการจัดฉากโดยหวังจะใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน ส่วนกรณีเหตุเผารถเมล์นั้น ถ้ากลุ่มคนเสื้อแดงไปปล้นรถเมล์มาเผาจริง ตามที่ถูกกล่าวหา เหตุใดผู้โดยสารหรือคนขับรถถึงไม่ไปแจ้งความ นอกจากนั้นในช่วงการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีทหารคอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่หลายจุดทั่วกรุงเทพฯ นั้น เหตุใดถึงมีการขับรถเมล์เข้าไปกลางเมืองเพื่อจุดไฟเผาได้โดยง่าย ทั้งทีความจริงแล้วประชาชนหรือรถสักคนที่จะผ่านเข้าไปได้นั้นค่อนข้างยาก ลำบาก ขณะที่เหตุยิงมัสยิดในซอยเพชรบุรี 5 และ 7 นั้น ยืนยันว่าคนเสื้อแดงหลายคนก็นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะไปมีปัญหากับชาวมุสลิม ด้วยการเข้าไปบุกยิงหรือสร้างความเสียหายตามที่ตกเป็นข่าว "ไม่มีเหตุผลอะไรที่คนเสื้อแดงจะไปมีปัญหากับคน เพชรบุรีซอย 5 ซอย 7...พวกเราไม่เลวพอที่จะมีปัญหากับศาสนิกชน ใครที่ยิงมัสยิดถือว่าเป็นคนเลว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสีไหนก็ต้องจับตัวมาดำเนินคดี" นายจตุพร กล่าว ส่วนกรณีที่ชาวบ้านย่านนางเลิ้งถูกยิงเสียชีวิตนั้น ถือว่ายังมีความโชคดีที่พี่ชายของผู้เสียชีวิตยังให้ความเป็นธรรมกับกลุ่ม นปช. เพราะได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า กระสุนปืนที่ยิงเข้ามานั้นไม่ได้มาจากฝั่งของผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่อยู่ห่าง ไปถึง 200 เมตร แต่เชื่อว่ากระสุนมาจากด้านข้างซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มใด โดยจากทั้ง 4 เหตุการณ์นี้ ทางกลุ่ม นปช.ได้ตั้งรางวัลนำจับไว้กรณีละ 5 แสนบาท รวมทั้งหมด 2 ล้านบาท เพื่อหาตัวคนที่สร้างสถานการณ์ในการนำรถแก๊สไปจอด, คนปล้นรถเมล์, คนยิงมัสยิดในซอยเพชรบุรี และคนยิงชาวนางเลิ้ง

24 เมษายน 2552
รัฐบาลยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน



อ้างอิง : ไทยรัฐ , เดลินิวส์, สำนักข่าวไทย, คลิปเหตุการณ์ช่วงสงกรานต์เลือดจากหลายๆ CD,
บท ความ สงคราม อำมหิตยาธิปไตย vs ประชาธิปไตยเสื้อแดง บทวิเคราะห์ประมวลพลวัตรเหตุการณ์ 8 – 14 เมษายน 2552 กรุงเทพฯ – พัทยา – กรุงเทพฯ โดย “รศ. ดร. วรพล พรหมิกบุตร”
, สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การ เมืองในประเทศไทย_พ.ศ._2548-2553 ,
http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538971791&Ntype=6
http://www.suthichaiyoon.com/WS01_A001_news.php?newsid=9914
http://www.naewna.com/news.asp?ID=157025

---------------------------------------------------------------

สงคราม อำมหิตยาธิปไตย vs ประชาธิปไตยเสื้อแดง บทวิเคราะห์ประมวลพลวัตรเหตุการณ์ 8 – 14 เมษายน 2552 กรุงเทพฯ – พัทยา – กรุงเทพฯ

โดย “รศ. ดร. วรพล พรหมิกบุตร”


“การที่จะมีประชาชนจะหนึ่งคนหรือแสนคนลุกขึ้นมาเรียกร้อง ให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเอง พิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตยครับ ……. แต่ท่านดูเถอะครับ ทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ส่วนใหญ่เค้าไม่รอให้กฎหมายจัดการครับ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าสำนึกหรือความรับผิดชอบของนักการเมืองที่เค้าบอกว่า มันต้องสูงกว่าคนธรรมดา มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง ท่านยกตัวอย่างกรณีของเกาหลี เช่น แค่คิดนโยบายนะครับว่าจะต้องเปิดการค้าเสรีเอาเนื้อวัวจากอีกประเทศเข้ามา คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เค้าลาออกทั้งคณะ” (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อภิปรายในรัฐสภา วันที่ 31 สิงหาคม 2551 ขณะดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แนะนำแนวทางให้รัฐบาลพรรคพลังประชาชน นำโดยนายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งท่ามกลางสถานการณ์ชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มมวลชนที่เรียกตนเอง ว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”)

“วันที่ 8 เมษายน 2552 ประชาชนจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศนับจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสองแสนห้าหมื่นคนเดินทางมาร่วมชุมนุม ขับไล่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนอกจากไม่ลาออกทั้งคณะแล้วยังดำเนินมาตรการทางทหารตอบโต้ส่งผลนำพา ประเทศเข้าสู่สถานการณ์สังหารหมู่ประชาชน” (บันทึกประมวลสรุปรายงานข้อมูลภาคสนามและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมโดยนัก วิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี, วันที่ 18 เมษายน 2552)


000

ตอนที่ 1 : พัทยา

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

นักวิชาการเพื่อ ประชาธิปไตยและสันติวิธีและคณะ แถลงบทวิเคราะห์ต่อสาธารณชนผ่านเวทีชุมนุม นปช. (“คนเสื้อแดง”) ว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาได้นำพาประเทศไปสู่ภาวะ “วิกฤตซ้อนวิกฤต” เช่น นอกเหนือจากไม่สามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์ภายในประเทศได้ตามที่คาดหวังกัน ก่อนรับตำแหน่งแล้วยังมีประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองการทหารกับประเทศ กัมพูชาเพิ่มขึ้น นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธีอ่านคำแถลงผ่านสื่อมวลชน (แต่สื่อมวลชนกระแสหลักในประเทศส่วนใหญ่ไม่เผยแพร่สู่สาธารณชนไทย) แนะนำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ลาออกเพื่อเปิดทางให้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้าง น้อยที่ไม่มีทั้งพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมรัฐบาล และให้รัฐบาลเสียงข้างน้อยดังกล่าวดำเนินภารกิจเฉพาะหน้าเร่งด่วนในการ พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คปพร.” ที่มีวาระบรรจุอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรแล้วเป็นฐานเริ่มต้นการพิจารณา แปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วจึงประกาศยุบสภาจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ภายใน พ.ศ. 2552 วิกฤตจะคลี่คลายในทางสมานฉันท์มากขึ้นกว่าสภาพที่เป็นอยู่ขณะนั้น

แต่ หากรัฐบาลดึงดันจะอยู่ในอำนาจต่อไปจะเกิดภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤตรุนแรงยิ่งขึ้น


วัน ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

การจัดชุมนุมประชาชนโดยใช้สิทธิการชุมนุมโดย สงบปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล (กรุงเทพมหานคร) ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องความมีส่วนร่วมของกลุ่มพลังมวลชนจากจังหวัด ต่าง ๆ ทั่วประเทศพร้อมใจกันสวมใส่ “เสื้อแดง” เดินทางหลั่งไหลเข้าสู่ที่ชุมนุมตลอดคืนวันที่ 8 ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 9 เมษายน 2552 จนมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมรวมกันมากกว่า 250,000 คนจนอาจกล่าวอย่างไม่เป็นทางการขณะนี้ว่าเป็น “การชุมนุมประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย” เท่าที่เคยปรากฏ โดยเป็นการชุมนุมที่มีสาธารณชนไทยเข้าร่วมมากที่สุดไม่ว่าจะพิจารณาจากจำนวน รวมของผู้เข้าร่วมชุมนุม หรือความหลากหลายทางดัชนีสังคมของประชาชนที่ร่วมชุมนุม เช่น อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อายุ การกระจายภูมิลำเนา เป็นต้น


วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

แกนนำประชาชนที่ร่วมชุมนุม (นปช. นำโดยนาย วีระ มุสิกพงศ์และคณะ) แสดงพลังการชุมนุมที่มีประชาชนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ครั้งดังกล่าวโดยจัดการเดินขบวนประกาศการประท้วงรัฐบาลไปตามถนนสายต่าง ๆ ที่มุ่งหน้าจากบริเวณทำเนียบรัฐบาลและลานพระบรมรูปทรงม้าสู่อนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิ

จนเป็นที่ปรากฏต่อสายตาประชาชนกรุงเทพฯ สื่อมวลชนในประเทศ และสื่อมวลชนต่างประเทศว่าบนถนนกรุงเทพฯจากลานชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลถึง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเนืองแน่นไปด้วย “คนเสื้อแดง” ขณะที่ประชาชนที่เฝ้ามองการเดินขบวนดังกล่าวแสดงความรู้สึกปะปนกันทั้งสนับ สนุนด้วยความพึงพอใจและหงุดหงิดที่เกิดปัญหาอุปสรรคการจราจรบนท้องถนน

ในคืนวันที่ 9 เมษายน หลังจากแกนนำ นปช. ประเมินผลสำเร็จของการเดินขบวนประท้วงนำประชาชนจำนวนมากไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยแกนนำการชุมนุมสามารถควบคุมอารมณ์มวลชนให้อยู่ในความสงบตามแนวทาง สันติวิธีรวมทั้งป้องกันความพยายามแทรกแซงก่อเหตุวุ่นวายจากบุคคลภายนอกและ บุคคลที่แฝงตัวแต่งกายเสื้อแดงเข้ามาในที่ชุมนุมได้หลายระดับ รวมทั้งสามารถควบคุมอารมณ์มวลชนไม่ให้พลุ่งพล่านเดือดดาลไปตามการยั่วยุโดย ข่าวสารข้อมูลของสื่อโทรทัศน์กระแสหลักที่ลำเอียงเป็นปฏิปักษ์กับมวลชนเสื้อ แดงมาโดยต่อเนื่อง แกนนำนปช. ได้ตกลงใจให้นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองและคณะนำประชาชนจำนวนหนึ่ง (เบื้องต้นประมาณ 500 คนจากกรุงเทพฯ แต่ต่อมาได้เชิญชวนประชาชนในจังหวัดชลบุรี ระยองหรือใกล้เคียงเข้าร่วม) เดินทางไปยังพัทยาเพื่อประกาศการประท้วงรัฐบาลไทยต่อที่ประชุมอาเซียนซัมมิ ตซึ่งรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะกำหนดจะเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการที่พัทยาในวันที่ 10 เมษายน 2552 (ขณะนั้นยังไม่มีการประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่พัทยา)
นอก เหนือจากประชาชนเสื้อแดงจากกรุงเทพฯและต่างจังหวัดใกล้เคียงจะอาสากันเดิน ทางไปร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่พัทยาแล้วยังปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคล “เสื้อสีน้ำเงิน” จำนวนหนึ่ง ติดอาวุธและเครื่องมือทำลาย เช่น อาวุธปืน ตะปูเรือใบ ระเบิดปิงปองและระเบิดควัน) เดินทางไปพัทยาโดยได้รับการอำนวยความสะดวกจากยานพาหนะของหน่วยราชการ (อ้างอิงภาพและรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศรวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ประสบ เหตุการณ์โดยตรง)

ระหว่างช่วงเวลารอยต่อของคืนวันที่ 9 และเช้าตรู่วันที่ 10 เมษายน 2552 มีการก่อสถานการณ์ตึงเครียดโดยการสาดตะปูเรือใบดักไว้บนถนนสายต่างๆ ที่มวลชนเสื้อแดงใช้เดินทางมุ่งสู่พัทยารวมทั้งการขว้างปาก้อนหินขนาดต่าง ๆ และการลอบยิงปืนเข้าใส่รถที่คนเสื้อแดงจากกรุงเทพฯใช้เดินทางไปประท้วง รัฐบาลที่พัทยา ข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมเดินทางไปกับขบวนรถแท็กซี่จากกรุงเทพฯ กลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าไปตามทางหลวงแผ่นดินถึงบริเวณใกล้แหลมฉบังถูกกลุ่มคนแอบ ซุ่มยิงปืนเข้าใส่จนมีผู้บาดเจ็บสาหัสถูกยิงเข้าที่หน้าอกต้องนำส่งโรง พยาบาล (ผู้รายงานข้อมูลพยายามสอบถามชื่อนามสกุลผู้บาดเจ็บรายดังกล่าว จำได้ชัดเจนว่าเป็นชายวัยหนุ่ม สอบถามจากแหล่งข้อมูลรอบข้างเท่าที่สอบถามได้ว่าผู้บาดเจ็บชื่อ นายสมพงษ์ จำปาชื่น (หมายเหตุผู้วิเคราะห์: ชื่อนามสกุลที่ถูกต้องครบถ้วนตามทะเบียนราษฎร์หรือเวชระเบียนของโรงพยาบาล ที่รับตัวผู้บาดเจ็บรายดังกล่าวเข้ารักษาพยาบาลอาจตรงตามนี้หรือคลาดเคลื่อน ไปบ้างจากชื่อนามสกุลตัวสะกดที่ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์นี้ตามธรรมชาติขีด จำกัดความจำของแหล่งข้อมูล)

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552 : บ่าย

นาย เนวิน ชิดชอบ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและไม่มีตำแหน่งราชการแต่ ประการใดในช่วงเวลาดังกล่าว (อย่างไรก็ตาม นายเนวินเป็นแกนนำกลุ่มนักการเมืองที่ย้ายจากพรรคพลังประชาชนที่ถูกศาลรัฐ ธรรมนูญสั่งยุบพรรคในปี พ.ศ. 255 1 ไปจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ในปี พ.ศ. 2552 หลังจากร่วมกันสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน พรรคเพื่อไทยในเดือนธันวาคม 255 1) ไปปรากฏตัวอยู่ในปริมณฑลพัทยาใกล้บริเวณที่จะเกิดเหตุรุนแรงที่พัทยาในช่วง วันที่ 9 - 10 เมษายน โดยแต่งกายคล้ายคลึงกับลักษณะการแต่งกายของ “กองกำลังกึ่งทหารกึ่งพลเรือน” ติดอาวุธซึ่งถูกระดมขนส่งเข้ามาในพื้นที่โดยการอำนวยความสะดวกของยานพาหนะ ทางราชการ รายงานข่าวและภาพจากสื่อมวลชนทางเลือกของไทย เช่น เว็บไซต์ในช่องทางสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต และสำนักข่าวต่างประเทศ เผยแพร่ภาพนายเนวินปรากฏตัวในปริมณฑลพัทยาใกล้สถานที่จะเกิดเหตุรุนแรงในวัน ดังกล่าวยืนยันแน่นหนาว่ามีการปรากฏตัวของนายเนวินเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ แต่งกายแบบกึ่งทหารกึ่งพลเรือนติดอาวุธ (กลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มเสื้อน้ำเงิน”) ซึ่งต่อมาในวันที่ 10 เมษายนกลุ่มเสื้อน้ำเงินจะใช้อาวุธซุ่มทำร้ายกลุ่มเสื้อแดง (อ้างอิงจากคำบอกเล่าของผู้ประสบเหตุการณ์ประกอบข้อมูลรายงานจากสื่อมวลชน)

ตลอดช่วงกลางวัน วันที่ 10 เมษายน เกิดสถานการณ์เผชิญหน้าตึงเครียดระหว่างมวลชนเสื้อแดงกับ “กลุ่มคนเสื้อยืดสีน้ำเงิน” ที่แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับคนเสื้อแดงในพื้นที่พัทยา โดยมีการใช้ก้อนหินจากไหล่เขา ตะปูเรือใบ ระเบิดปิงปอง ระเบิดควันและอาวุธปืนระดมขว้างปาและยิงเข้าใส่มวลชนเสื้อแดงจนมีผู้บาดเจ็บ อีกหลายรายทั้งในส่วนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลและที่อาการบาดเจ็บไม่สาหัส และเดินทางกลับกรุงเทพฯ

ที่บริเวณสถานที่จัดการประชุมอาเซียนซัมมิ ตในพื้นที่พัทยา แกนนำนปช. และมวลชนเสื้อแดงยืนยันจะขอเข้าไปประกาศคำแถลงต่อสื่อมวลชนเพื่อคัดค้านและ ประณามรัฐบาลไทย แต่ได้รับการขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐบาล รายงานข่าวตอนหนึ่งของสำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยของรัฐบาลประทับปืนเล็งเตรียมยิงกลุ่มประชาชนที่ยืนกรานจะเข้าไปใน โรงแรมที่จัดการประชุม (รายงานอย่างไม่เป็นทางการแจ้งว่าเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งยับยั้งการยิงนั้น ไว้ทันท่วงที แต่เหตุการณ์ฉุกละหุกที่แท้จริงหลังจากการประทับปืนเล็งจะยิงขณะนั้นเป็น อย่างไรอาจจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติม) อย่างไรก็ตาม ในที่สุดมวลชนและแกนนำคนเสื้อแดงประสบความสำเร็จในการเดินเท้าเข้าสู่ภายใน โรงแรมที่จัดการประชุมอาเซียนซัมมิตและสามารถอ่านคำแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน ที่พัทยาได้ (หมายเหตุ : นายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำนปช. เป็นผู้อ่านคำแถลงเป็นภาษาอังกฤษที่พัทยา โดยมีเพียงสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่นเพียงแห่งเดียวที่ถ่ายทอดภาพและเสียงออก อากาศทางเคเบิลทีวีให้สาธารณชนรับทราบแบบถ่ายทอดสด ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสระที่แกนนำนปช. เปิดโอกาสให้นำเสนอบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่าง ๆ ผ่านเวทีการชุมนุมได้ในบางช่วงเวลาได้รับการร้องขอจากแกนนำนปช. ที่เวทีหน้าทำเนียบรัฐบาลให้แปลคำแถลงถ่ายทอดสดสู่สาธารณชนไทยหลังจากนาย จักรภพสรุปจบคำแถลงที่พัทยา เนื้อหาคำแถลงอย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษอาจค้นหาได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ขณะนั้นยังไม่ถูกปิดทำการเด็ดขาดตั้งแต่ฃ่วงวันที่ 12 – 14 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะมีปฏิบัติการทางทหารโดยคำสั่งรัฐบาลและจะเกิดความ รุนแรงอันเป็นที่มาของข้อความ”อำมหิตยาธิปไตย” ในบทวิเคราะห์นี้) ความเสียหายทรัพย์สินของทางโรงแรมที่เกิดเหตุตามที่ยกขึ้นกล่าวขวัญกัน อย่างกว้างขวางโดยสื่อโทรทัศน์ไทยและนักวิเคราะห์วิจารณ์ที่เป็นปฏิปักษ์กับ คนเสื้อแดงเท่าที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ได้แก่ บานกระจกแตกคิดเป็นมูลค่าหลักแสนบาท แต่อย่างน้อยในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีรายงานการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของ พนักงานโรงแรมหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในที่เกิดเหตุแต่ประการใด รายงานข่าวและข้อมูลทุกกระแสในขณะนั้นรายงานตรงกันว่าผู้บาดเจ็บเป็นประชาชน คนเสื้อแดง

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่ได้ตัดสินใจ “ลาออกทั้งคณะ” ตามหลักการหรือแนวทางประชาธิปไตยซึ่งตนเองยกขึ้นกล่าวอ้างในคำอภิปรายที่แนะ นำให้รัฐบาลพรรคพลังประชาชนก่อนหน้านั้นลาออก เมื่อวันที่ 3 1 สิงหาคม 255 1 แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำเนินมาตรการยกระดับ “การเผชิญหน้า” แบบเป็นปฏิปักษ์รุนแรงมากขึ้นกับประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมนับแสนคนทั้ง ที่กรุงเทพฯและพัทยารวมกัน โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ใช้อำนาจบริหารประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินร้าย แรงในพื้นที่พัทยาตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2552

อย่างไรก็ตาม ภายในค่ำวันที่ 10 เมษายน 2552 ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่แน่ชัดต่อสาธารณชนไทยและประชาคมโลกว่ารัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในความพยายามที่จะจัดการประชุมอาเซียนซัมมิ ตครั้งดังกล่าว เนื่องจากการประชุมถูกยกเลิกโดยปริยายเมื่อผู้นำประเทศต่าง ๆ พากันเดินทางกลับประเทศของตน โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะนายกรัฐมนตรีไทยผู้เป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมไม่ สามารถแม้แต่จะได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุมอย่างเป็นทางการ


วัน ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 255 : ค่ำ

รายงานเหตุการณ์ที่พัทยา วันที่ 10 เมษายน ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนต่างประเทศขณะที่เวทีการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่ทำเนียบรัฐบาลดำเนินต่อเนื่อง แต่การชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยุติลงโดยไม่มีเหตุปะทะ รุนแรงบานปลายแต่ประการใด นอกเหนือไปจากปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอัมพาตระหว่างการชุมนุมและการกล่าวหา ว่าการปิดถนนของคนเสื้อแดงทำให้เกิดความเสียหายรวมทั้งการพยายามยกประเด็น เรื่อง “การขาดอ็อกซิเจน” บริการคนไข้ในโรงพยาบาลราชวิถีขึ้นกล่าวหา นปช.ผ่านสื่อมวลชนไทยกระแสหลัก ต่อมาแกนนำนปช. ที่เวทีทำเนียบรัฐบาลประกาศให้ผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเดินทางกลับ มารวมตัวกันที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล

ประชาชนบางรายที่ได้รับบาดเจ็บ (อาการไม่สาหัส) ขึ้นเวทีปราศรัยที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ พัทยาในวันที่ผ่านมา ผู้วิเคราะห์มีโอกาสเล็กน้อยได้สัมภาษณ์สอบถามข้อมูลบางประการจากนายอริ สมันต์หลังจากการปราศรัยของนายอริสมันต์ ตอนหนึ่งของการสนทนานายอริสมันต์สอบถามความเห็นและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการที่ ตนเองถูกหมายจับซึ่งผู้วิเคราะห์ตอบไปกลาง ๆ ว่าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของนปช. คงมีวิธีดูแลช่วยเหลืออยู่แล้ว หลังจากนั้นนายอริสมันต์กล่าวว่าเหนื่อยมากทั้งวันมาแล้วคืนนี้จะขอนอนสบาย ๆ ในโรงแรมห้าดาว ผู้วิเคราะห์มีข้อสังเกตอยู่ในใจเล็กน้อยว่านายอริสมันต์กำลังตกเป็นเป้า หมายการปองร้ายของกองกำลัง “คนเสื้อยืดสีน้ำเงิน” ซึ่งมีลักษณะจัดตั้งแบบกึ่งทหารกึ่งพลเรือนกื่งมาเฟียจึงกล่าวไปว่าอย่างไร ก็ควรระมัดระวังความปลอดภัยด้วย

000

ตอนที่ 2 : กระทรวงมหาดไทย

วัน ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรองถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวที่บ้านพักในตอนเช้าตรู่วันที่ 11 เมษายน ข่าวนี้ไม่ถูกปิดกั้นโดยสื่อมวลชนกระแสหลักสายวิทยุโทรทัศน์ในประเทศเหมือน เช่นข่าวความคืบหน้าฃอง นปช.จำนวนมากก่อนหน้านี้ที่มีลักษณะเป็นคุณต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนเสื้อ แดง (ข่าวที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวของ นปช.ก่อนหน้านี้จำนวนมาก รวมทั้งคำแถลงประจำวันของนปช.ต่อสื่อมวลชนที่หลังเวทีปราศรัยหน้าทำเนียบ รัฐบาลมักถูกปกปิด ปิดกั้น หรือลดทอนความสำคัญโดยสื่อมวลชนไทยจนเป็นที่กล่าวขวัญกันทั้งในที่ชุมนุมและ ทางเว็บไซต์ในประเทศจำนวนหนึ่งว่าสื่อมวลชนไทยไม่ให้ “พื้นที่ข่าวสาร” แก่คนเสื้อแดง รวมทั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์กันว่าสื่อมวลชนไทยเลือกข้างเป็นพรรคพวก “พันธมิตรฯ” ที่มุ่งร้ายต่อ นปช.และคนเสื้อแดง) รายงานข่าวการจับกุมนายอริสมันต์ถูกโหมประโคมอื้ออึงเป็นข่าวด่วนข่าวสด ตั้งแต่เช้าวันที่มีการจับกุม

ภายในวันเดียวกัน มีการสร้างข่าวไม่กรองหลายกระแสรายงานการเคลื่อนไหวค่อนข้างสับสนเกี่ยวกับ การกำหนดสถานที่ควบคุมตัวนายอริสมันต์และกำหนดการแถลงข่าวของฝ่ายรัฐบาลที่ กระทรวงมหาดไทย

แกนนำ นปช. ส่วนหนึ่งนำมวลชนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเดินทางไปที่กระทรวงมหาดไทยและเกิดการ เผชิญหน้าปะทะกันอย่างรุนแรงโดยมีผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ผู้ร่วมเหตุการณ์ปะทะที่เป็นฝ่ายนปช. อ้างว่ามีผู้แอบซุ่มยิงคนเสื้อแดงภายในบริเวณซอกหลืบอาคารต่าง ๆ ในกระทรวงมหาดไทยจนมีคนเสื้อแดงเสียชีวิตอย่างน้อย 2 รายถูกลากศพไปซ่อนภายในอาคาร ขณะที่อีกด้านหนึ่งมีรถประจำตำแหน่งนักการเมืองระดับสูงวิ่งด้วยความเร็ว พุ่งฝ่ากลุ่มคนเสื้อแดงเข้าชนประตูกำแพงหยุดนิ่งก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะ กรูเข้าไปกระชากตัวคนขับรถออกมาและพบว่าภายในรถมีนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ แกนนำระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันนั่งบาดเจ็บอยู่ ภายใน (รายงานข่าวต่อมาระบุว่าคนเสื้อแดงรุมทำร้ายนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์) การแถลงของรัฐบาลประณามนปช.โดยระบุว่าคนเสื้อแดงรุมทำร้ายทั้งคนขับรถและนาย นิพนธ์ในที่เกิดเหตุ

เหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย วันที่ 1 1 เมษายน 2552 ทำให้จำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้นกว่าวันก่อน โดยเริ่มมีคนของฝ่ายรัฐบาลบาดเจ็บเสียหายด้วยเช่นกัน

รัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาวิกฤตด้วยการลาออก ยุบสภา หรือใช้แนวทางสมานฉันท์เปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับแกนนำ นปช. แต่เลือกดำเนิน “มาตรการยกระดับการเผชิญหน้าแบบปฏิปักษ์” ต่อประชาชนเสื้อแดงอย่างแข็งกร้าวมากขึ้นโดยการประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดข้างเคียงโดยรอบตั้งแต่วันที่ 1 1 เมษายน 2552

เวลา 15.30 น. มวลชนเสื้อแดงควบคุมตัวชายวัยฉกรรจ์แต่งกายด้วยเสื้อเชิร์ตสีขาวเข้ารูป กางเกงสีกรมท่าเข้ม สวมแจ๊คเก็ตแบบเบลเซอร์สีดำ มีร่องรอยบาดแผลศีรษะแตกไม่ลึก พกพาอาวุธสงครามร้ายแรงเป็นปืนเอชเคแบบพับฐานพร้อมกระสุนจริง เข้ามาที่หลังเวทีชุมนุมให้คณะแพทย์ที่ประจำการอยู่ก่อนหน้าแล้วทำการปฐม พยาบาลก่อนส่งตัวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรับตัวไปสอบสวน (การตรวจสอบเบื้องต้นโดยการ์ด นปช. ระบุว่าชายดังกล่าวเป็นนายทหารบกยศพันตรี) ระหว่างนั่งพักรอการส่งตัวให้ตำรวจในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงต่อมาปรากฏว่ามีคณะแพทย์พยาบาลสวมเสื้อคลุมขาวระบุว่ามาจากสภากาชาด ไทยจะมารับตัวชายคนดังกล่าวอ้างว่าต้องนำส่งโรงพยาบาลและจะขอ “ให้น้ำเกลือ” เพราะเป็นผู้บาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ปรากฏมีผู้คัดค้านเพราะเกรงว่าการฉีดของเหลวดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อผู้บาดเจ็บและอาจเป็นเหตุให้มีการใส่ร้าย แกนนำนปช.ในเวลาต่อไป ผู้ร่วมสังเกตการณ์คนหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับการแต่งกายของบุคคลากรทางการแพทย์ ระบุว่าแพทย์ชายที่มากับคณะพยาบาลชุดนี้เป็น “แพทย์จุฬาฯ” ที่เคยประกาศ “คว่ำบาตร” ไม่รับรักษาพยาบาลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ “วันที่ 7 ตุลาคม 255 1” (พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย vs เจ้าหน้าที่ตำรวจ) รวมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าที่หลังเวทีนปช. ขณะนั้นยังมีประชาชนเสื้อแดงที่บาดเจ็บอยู่ระหว่างการปฐมพยาบาลอีกหลายคนแต่ เหตุใดคณะแพทย์พยาบาลชุดนี้จึงมุ่งจะมารับตัวและ “ให้น้ำเกลือ” เฉพาะเจาะจงแก่นายทหารคนนี้เพียงคนเดียวโดยไม่เอื้อเฟื้อจรรยาแพทย์แก่ผู้ บาดเจ็บคนอื่นที่หลังเวทีปราศรัยนั้นเลยแม้แต่รายเดียว

เวลา 17.15 น. การ์ดและมวลชนเสื้อแดงควบคุมตัวชายวัยฉกรรจ์ได้อีกคนโดยตรวจพบว่าแอบซ่อนพก พาอาวุธสงครามชนิดคล้ายคลึงกับกรณีแรกเข้ามาในที่ชุมนุม พร้อมกระสุนจริง ชายคนนี้ถูกตรวจจับและควบคุมตัวมาที่หลังเวทีปราศรัยโดยไม่มีร่องรอยบาดแผล แต่ประการใด

ก่อนค่ำวันเดียวกันมีสตรีสูงอายุรูปร่างค่อนข้างท้วม ผิวขาวเหลือง อายุประมาณ 60 – 65 ปี เดินเข้ามาสอบถามหาอาจารย์ มานิตย์ จิตจันทร์กลับ โดยอ้างว่าตนเองเป็นตัวแทนคณะภรรยานายทหารอากาศเกษียณระดับนายพลหลายคน (มีการระบุชื่อนายทหารอากาศยศ พลอากาศโทถึงพลอากาศเอก 3 คน) ต้องการนำข่าวสารจากนายทหารระดับสูงดังกล่าวมาบอกผ่านอาจารย์มานิตย์ไปถึง แกนนำนปช. ว่า “อย่าใจเย็น ให้รีบต่อสู้เผด็จศึกตอนนี้ทันที”

000

ตอน ที่ 3 : สามเหลี่ยมดินแดง

วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552 (เช้า) : ปฏิบัติการสังหารหมู่

ความตึงเครียดทวีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนายก รัฐมนตรีแถลงว่าจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดนับจากวินาทีที่แถลงเป็นต้นไป (การแถลงวันที่ 1 1 เมษายน 2552) และทวีความตึงเครียดมากขึ้นเมื่อมีการออกคำสั่งเคลื่อนกำลังพลทางทหารพร้อม รถหุ้มเกราะและอาวุธสงครามมุ่งหน้าเข้าโอบล้อมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดงจรดพื้นที่รายรอบสถานที่ชุมนุมคนเสื้อแดงหน้า ทำเนียบรัฐบาล

การเคลื่อนไหวทางยุทธการของกองกำลังทหารติดอาวุธครบ มือ (และกระสุนจริง) พร้อมรถหุ้มเกราะที่มุ่งหน้าเข้าสู่เป้าหมายที่ชุมนุมประชาชนหน้าทำเนียบ รัฐบาล ดำเนินไปควบคู่กับการประกาศระดมคนเสื้อแดงเข้าสู่ที่ชุมนุมสลับกับการแจ้ง ให้ผู้ชุมนุมเดินทางไป “เสริมกำลัง” คนเสื้อแดงที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงบ้าง ไปขัดขวางการยึดสถานีดาวเทียมไทยคมบ้าง ไปป้องกันการตัดกระแสไฟฟ้าสถานีดีสเตชั่นบ้าง ทำให้ตลอดคืนวันที่ 11 เมษายน ต่อเนื่องถึงย่ำรุ่งวันที่ 12 เมษายน 2552 ที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยความตึงเครียดหวาดผวาต่อความรุนแรงและจลาจลบานปลาย อย่างไรก็ตามแกนนำ นปช. ที่เวทีทำเนียบรัฐบาลยังคงสามารถควบคุมจิตวิทยามวลชนให้สงบรวมตัวอยู่รอบ เวทีศูนย์กลางการปราศรัยได้โดยไม่เกิดภาวะตื่นกลัวคลุ้มคลั่งจนอาจเกิดความ รุนแรงบานปลายเป็นอันตรายต่อมวลชนที่ร่วมชุมนุมที่เวทีปราศรัย ผู้วิเคราะห์ยังคงร่วมสังเกตการณ์อยู่ในบริเวณดังกล่าวกับผู้ช่วยรวบรวม ข้อมูลสังเกตการณ์ภาคสนามคนหนึ่งจนกระทั่งเวลา 04.15 น. ของเช้ามืดวันที่ 12 เมษายน 2552 ผู้วิเคราะห์ประเมินว่าจะยังไม่มีการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ทำเนียบรัฐบาลในคืนนั้นแล้ว ผู้วิเคราะห์จึงเดินออกจากบริเวณที่ชุมนุมไปยังสำนักงานมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนข้างเคียงใกล้ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำรถยนต์ส่วนตัวที่จอดไว้เดินทางกลับที่พัก

ณ เวลาประมาณ 04.30 นั้น รถโดยสาร ขสมก.คันหนึ่งถูกนำมาจอดขวางถนนเลียบทางรถไฟระหว่างสถานียมราช – สวนจิตรลดาเรียบร้อยแล้วโดยผู้วิเคราะห์ไม่ทราบว่าเป็นปฏิบัติการของฝ่ายใด แต่ตำแหน่งที่รถถูกนำมาจอดนั้นอยู่หลังแนวประจำการของกองกำลังเจ้าหน้าที่ รัฐบาลซึ่งเข้ามายึดพื้นที่ดูแลความปลอดภัยที่ด่านทางด่วนยมราช ณ เวลานั้นเรียบร้อยแล้ว เพราะเหตุที่รถคันดังกล่าวปิดขวางผิวจราจรทุกช่องทางอย่างสิ้นเชิง ผู้วิเคราะห์จึงต้องกลับรถกลางถนนมุ่งหน้าไปขึ้นทางด่วนที่ด่านยมราชเพื่อ กลับที่พัก แทนที่จะใช้เส้นทางสามเสน – จตุจักร- บางเขนเช่นที่เคยใช้ในวันก่อน (ผู้วิเคราะห์พบในเวลาต่อมาว่ารถโดยสารคันดังกล่าวถูกเผาประกอบสถานการณ์ รุนแรงในช่วงวันที่ 13 เมษายน)
ระหว่างทางที่ผู้วิเคราะห์ขับรถยนต์ขึ้น ทางด่วนจากด่านยมราชมุ่งหน้าไปทางถนนกำแพงเพชรและทางลงรัชดาภิเษกตัดวิภาวดี รังสิต ผู้วิเคราะห์ยังไม่ทราบว่าได้มีการสั่งการให้ทหารใช้อาวุธระดมยิงขับไล่ รวมทั้งสังหารมวลชนเสื้อแดงที่ปักหลักชุมนุมกันอยู่ที่ทางแยกสามเหลี่ยมดิน แดงจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากแล้ว
ผู้วิเคราะห์ทราบเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อกลับถึงที่พัก
ตลอดเช้าวันที่ 12 เมษายน 2552 สถานีโทรทัศน์ไทย (ไทยพีบีเอส) และผู้ประกาศข่าวที่เป็นมิตรกับ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ไม่ได้รีรอเสียเวลาในการจัดรายการถ่ายทอดสดเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ขณะที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 รายงานเหตุการณ์เดียวกันแต่มีน้ำหนักความเห็นประกอบการรายงานแตกต่างออกไปใน บางส่วนเล็กน้อย ขณะที่สถานีโทรทัศน์อื่นบางรายแม้ว่าจะรับทราบเหตุการณ์รุนแรงแล้วแต่ยังไม่ รายงานให้ความสำคัญมากเท่ากับสองสถานีที่กล่าวถึง
การติดตามรายงานข่าวโทรทัศน์ประกอบข้อมูลจากรายงานภาคสนามที่ประชาชนจำนวนหนึ่งส่งข่าวสารให้ได้ รับทำให้ทราบได้ว่ามวลชนเสื้อแดงถูกกองกำลังทหารดำเนินยุทธการปราบปรามโดย ใช้อาวุธสังหารระดมยิงใส่จนบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในขณะที่มวลชน เสื้อแดงไม่มีอาวุธประจำกายสำหรับป้องกันตนเองหรือต่อสู้ตอบโต้นอกจากการใช้ เครื่องกีดขวางเช่นรถเมล์ ถังแก๊ส ขวดบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง หรือยางรถยนต์เผาไฟ เป็นต้น

ผู้วิเคราะห์เดินทางกลับเข้าไปใน พื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งก่อนเที่ยงวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยใช้เส้นทางอ้อมเข้าทางด้านสวนอัมพร

000

ตอนที่ 4 : ทำเนียบรัฐบาล/นางเลิ้ง

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 : วันอำมหิตยาธิปไตย**

ภายในเที่ยงวันที่ 13 เมษายน ที่บริเวณพื้นที่รอบนอกของเวทีศูนย์กลางการชุมนุมมีผู้พบเห็นชายสองคนแต่ง กายคล้ายคนเสื้อแดงกำลังพยายามกระตุ้นเร้าอารมณ์โกรธให้คนเสื้อแดงออกไป ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่แต่มวลชนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยกันขัดขวางและควบคุมตัวส่งสถานีตำรวจนางเลิ้ง รายงานเพิ่มเติมแจ้งว่าตำรวจตรวจพบบัตรประจำตัวข้าราชการทหารในตัวบุคคลที่ พยายามสร้างสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งบุคคลที่ถูกควบคุมตัวอ้างว่ายังไม่ต้องรีบ ดำเนินคดีกับตนเพราะ “นาย” กำลังจะมา “เคลียร์” ให้

ภายในวันเดียว กัน มีผู้ก่อเหตุการณ์รุนแรงที่บริเวณตลาดนางเลิ้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตสองราย รายงานข่าวโทรทัศน์ ช่อง 3 เปิดเผยในเวลาต่อมาว่าผู้ถูกยิงเสียชีวิตรายหนึ่งเป็นประชาชนที่มารอมุงดู เหตุการณ์ที่ตลาดนางเลิ้งในช่วงเวลาตึงเครียดหลังการสลายมวลชนสามเหลี่ยมดิน แดง โดยมีญาติผู้เสียชีวิตเห็นเหตุการณ์และยืนยันว่าผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เป็นชายสวมเสื้อแจ๊คเก็ตสีดำนั่งมอเตอร์ไซค์เข้ามาจ่อยิงขณะเกิดเหตุชุลมุน (สถานที่เกิดเหตุอยู่ไกลเลยแนวแผงเหล็กกั้นที่สะพานขาวออกไปทางหลานหลวง) ก่อนหลบหนีไป

ภายในเวลา 14.30 น. วันที่ 13 เมษายน 2552 กรุงเทพฯตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงที่ใครก็ยากจะคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าการนองเลือดที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดงจะ ขยายตัวบานปลายต่อไปเพียงใดหรือจะจบลงด้วยการจลาจลเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือลุกลามไปในต่างจังหวัด หรือไม่ เพียงใด หรือจะคลี่คลายต่อไปอย่างไรในเวลาวินาทีต่อวินาที

ถนนหน้าสำนักงานมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 จากหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ถึงสะพานขาวโล่งว่าง ไม่มีมวลชนเสื้อแดงหรือการ์ด นปช. เฝ้าระวังแล้วหลังจากข่าวลือแพร่สะพัดว่ามีกลุ่มสมาชิกพันธมิตรฯปะปนอยู่กับ ไทยมุงที่อีกฟากหนึ่งของสะพานขาวคอยก่อกวนทำร้ายใครก็ตามที่สวมเสื้อสีแดง เดินผ่าน

เลขานุการมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 แจ้งให้ทุกคนที่ทำงานในมูลนิธิออกจากอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายก่อนหน้า เวลา 14.30 แล้ว ภายในมูลนิธิเหลือเพียงพนักงานดูแล 2 คน เฝ้าระวังทรัพย์สินของมูลนิธิ

ผู้เขียนเดินจากที่ชุมนุมหน้าทำเนียบ รัฐบาลไปยังอาคารมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อตรวจสอบข้อมูลว่าสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยังคงปรึกษาประชุมกันอยู่หรือไม่และได้รับแจ้งจากผู้เฝ้าระวังอาคารมูลนิธิ ว่าทุกคนได้รับแจ้งให้ออกจากอาคารหมดแล้ว

ผู้วิเคราะห์เดินเท้ากลับ ไปที่เวทีชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลหลังจากช่วงเวลาที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบี เอสเผยแพร่การให้สัมภาษณ์ของประธานวุฒิสภาถึงความกังวลต่อสถานการณ์ที่ ลุกลามบานปลาย ผู้วิเคราะห์เดินเท้าไปถึงเวทีทำเนียบรัฐบาลขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสงกำลังปราศรัยเรียกร้องรัฐบาลให้พิจารณาดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง หลังจากนั้นนาย สุธรรม แสงประทุมขึ้นเวทีปราศรัยต่อ

เวลา 15.25 ผู้วิเคราะห์ได้พบและสอบถามข้อมูลสถานการณ์ทั่วไปจากนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. คนหนึ่ง ระหว่างนั้นนายณัฐวุฒิขัดจังหวะการปราศรัยด้วยการประกาศด่วนผ่านเครื่องขยาย เสียงเรียกการ์ด นปช. ทุกคนให้ถอนตัวจากทุกจุดเข้ามารวมตัวป้องกันรักษาพื้นที่เวทีชุมนุมหน้า ทำเนียบรัฐบาลเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการสร้างสถานการณ์รุนแรงของกลุ่มผู้ ไม่หวังดีที่รวมตัวกันอยู่รายรอบพื้นที่ชุมนุมที่เวทีหน้าทำเนียบรัฐบาล

เวลา 17.30 น. กองกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือเคลื่อนพลเข้าปิดล้อมประชิดบริเวณที่ชุมนุมใน ระยะห่างด้านหนึ่ง (ด้านถนนเลียบคลองข้างวัดเบญจมบพิตรฯ) ไม่เกิน 100 เมตรเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงกลางวัน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ผู้วิเคราะห์มองเห็นกลุ่มควันเผาไหม้ลอยคลุ้งขึ้นสูงบนท้องฟ้าอย่างน้อย 2 ด้านจากเวทีปราศรัย แต่เป็นร่องรอยการเผาไหม้ที่อยูในระยะไกลออกไปจากปริมณฑลการชุมนุมขณะนั้น

เวลา 17.50 น. มีผู้มาแจ้งกับผู้วิเคราะห์ว่าเห็นทหารใช้อาวุธปืนยิงเป็นระยะ ๆ ที่บริเวณใกล้เคียงกระทรวงศึกษาธิการที่ถนนราชดำเนินและเห็นอาคารที่มี “ตัววิ่ง” ถูกไฟเผาไหม้บางส่วน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้นมีสตรีสวมเสื้อแดงอายุประมาณ 30 ปีเศษเดินเข้ามาหาผู้วิเคราะห์ อ้างว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนเสื้อแดงที่พยายามแย่งศพแท็กซี่จากทหารที่สาม เหลี่ยมดินแดงแต่ได้มาแค่กางเกงเปื้อนเลือด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่าอยากให้ ”อาจารย์” ช่วยไปบอกแกนนำนปช.ว่าทหารโหดมาก อยากให้ส่งการ์ดนปช.ไปสู้กับพันธมิตรฯ ที่ยมราช ผู้วิเคราะห์รับฟังไว้ แต่ขอดูบัตรประจำตัวประชาชนสตรีคนดังกล่าว ไม่ปรากฏว่าพกบัตรประชาชนแต่พกใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ชั่วคราว ฉบับที่ 3 1009XXXXXXXX วันที่อนุญาต 2 พฤษภาคม 2551

เวลา 13 เมษายน 2552 เวลา 19.30 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เนื้อหาคำแถลงที่สำคัญเป็นการกล่าวหาแกนนำ นปช. อย่างน้อย 2 เรื่อง คือ การยิงอาวุธสงครามใส่อาคารศาลรัฐธรรมนูญ และ (สันนิษฐานเชิงกล่าวหาล่วงหน้า) ว่าคืนนั้น นปช. อาจก่อจลาจล นอกเหนือไปจากข้อกล่าวหาดังกล่าวแล้ว นายสุเทพอธิบายต่อประชาชนว่าการดำเนินมาตรการของทหารและรัฐบาลจนถึงขณะนั้น ยังไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต

การเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดระหว่าง นปช. กับกองกำลังทหารฝ่ายรัฐบาลดำเนินต่อไปตลอดคืนวันที่ 13 ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 14 เมษายนแต่ยังไม่มีการจู่โจม

000

ตอน ที่ 5 : ทำเนียบรัฐบาล


วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 : ถอดสลักฆาตกรคอปกขาว***

ก่อนเที่ยงวันที่ 14 เมษายน 2552 กองกำลังทางทหารพร้อมอาวุธสังหารครบมือที่โอบล้อมมวลชนนปช. ทุกด้านไว้แล้วเตรียมความพร้อมทุกขณะหากจะได้รับคำสั่งปฏิบัติการในวินาทีใด วินาทีหนึ่ง; ห่างจากแนวหลังของกองทหารเหล่านั้นออกไปยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน “เสื้อสีอื่น” ปะปนอยู่กับประชาชนชาวไทย (มุง) ซ้อนเสริมเตรียมความพร้อมอยู่ในระยะใกล้ไกลต่างกันโดยรอบปริมณฑลที่อาจมีคน เสื้อแดงแตกตื่นเตลิดหนีหลุดรอดออกไปถึงแนวหลังกองทหาร; โฆษกคณะอำนวยการตามพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินประกาศรหัสสัญญาณว่าขณะนั้น “ประชาชนในที่ชุมนุมเหลือเพียงประมาณสองพันคน” ให้ทุกฝ่ายรับทราบโดยทั่วกัน
แต่ ทว่า ก่อนที่จะถึงวินาทีออกคำสั่งปฏิบัติการจู่โจม ; ยุทธการล้อมปราบประชาชนคนเสื้อแดงก็ยุติลงโดยปริยาย และอย่างทันท่วงที โดยการประกาศยุติการชุมนุมชั่วคราว

บุคคลที่ทำให้สถานการณ์คลี่คลาย ได้เช่นนั้นในความเป็นจริงกลับไม่ใช่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือพลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์

แต่เป็นนาย วีระ มุสิกพงศ์ แกนนำอันดับหนึ่งของนปช. ที่ชิงประกาศยุติการชุมนุมแล้วเดินนำหน้าไปเจรจรกับผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติถึงรายละเอียดในการนำคนเสื้อแดงออกจากการชุมนุมโดยต้องไม่มีการเสีย เลือดเนื้อประชาชน****


พลังฝ่ายประชาธิปไตยรุกคืบเอาชัยไปได้อีก ก้าวหนึ่งในพัฒนาการอันแสนยาวนานของการค้นหาประชาธิปไตยในระบอบการเมืองไทย ภายหลังการรัฐประหารวันที่ 24 มิถุนายน 2475

แม้ว่าพลังคณาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย และอำมหิตยาธิปไตยจะไม่รู้สึกเท่าทันและยังพลัดหลงกงล้อวิวัฒนาการประวัติ ศาสตร์คิดว่าตนเองเป็นฝ่ายเอาชนะประชาชนได้อีกคำรบหนึ่งก็ตามที

หมายเหตุ :

*นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและประมวลสรุปข้อเขียนนี้โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดเผยสถานภาพนักวิชาการต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในภาค สนามอย่างจำกัดบทบาทการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์

**“อำมหิตยาธิปไตย” เป็นคำเฉพาะที่ผู้เขียนกำหนดขึ้นใช้เพื่อสื่อความหมายเป็นศัพท์เทคนิคทาง วิชาการบ่งชี้ถึงระบอบการเมือง บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรทั้งในและนอกภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือพัวพันกับกรณีเหตุการณ์ วันที่ 8 – 14 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยสื่อความหมายเฉพาะถึงระบอบการเมือง บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ข้างต้นที่มีส่วนผสมของรากฐานคำศัพท์ “อำมหิต” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ผนวกกับคำว่า “อำมาตยาธิปไตย” ตามที่ปรากฏในงานเขียนทางวิชาการเช่นในการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองไทยของ นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

*** คำนี้ดัดแปลงมาจากคำว่า “อาชญากรคอปกขาว” (white-collar criminal) ในวิชาการด้านอาชญาวิทยาและสังคมวิทยา สื่อความหมายถึงอาชญากรในสังคมปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ผู้ดี มีการศึกษาสูง ตำแหน่งหรืออาชีพการงานน่านับถือ แต่มีจิตใจเป็นอาชกรกรที่อาจกระทำความผิดได้อย่างแนบเนียนกว่าคนที่มีภาพ ลักษณ์แบบ “โจร” ในวรรณกรรมทั่วไปหรือ “ผู้ร้าย” ในอดีต

**** แม้ว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์พยายามอ้างว่าการยุติการชุมนุมโดยไม่มีการนอง เลือด (นอกจากที่เกิดขึ้นก่อนแล้วที่สามเหลี่ยมดินแดง เป็นต้น) เป็นผลงานของตน แต่ข้อมูลจนถึงปัจจุบันยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลไม่เคยออกคำสั่งถอนกำลังทหาร ก่อนนายวีระ มุสิกพงศ์ประกาศสลายการชุมนุม และไม่มีรายงานข่าวกรองใด ๆ ยืนยันว่ารัฐบาลหรือตัวแทนรัฐบาลเข้าดำเนินการเจรจากับนายวีระหรือแกนนำคน อื่น ๆ ให้สลายการชุมนุมด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อหน้าหรือลับหลังสาธารณชน

http://newskythailand.multiply.com/reviews/item/140
http://newskythailand.multiply.com/reviews/item/141
http://newskythailand.multiply.com/reviews/item/142

----------------------------------------------------------

เหตุการณ์ความไม่สงบทางการ เมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนนที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 10 เมษายน

เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ สงกรานต์เลือด เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2552 มีชนวนเหตุมาจากการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจร โดยกลุ่มแนว ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งมีการออกอากาศทางสถานีประชาธิปไตย โดยมี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ทางไกลให้สัมภาษณ์และปราศรัยผ่านระบบวิดีโอลิงก์จากต่างประเทศถึง กลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้ง โดยกล่าวว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่สามารถแก้ไข ปัญหาของประเทศได้ รวมไปถึงได้มีการกล่าวพาดพิงไปยังองคมนตรีและตุลาการบางท่านว่าได้มีการแทรก แซงการเมือง ในการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 5 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ประกาศการชุมนุมแดง ทั้งแผ่นดินสัญจรครั้งที่ 6 ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยประกาศเจตนาปักหลักชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาลอย่างยืดเยื้อจนกว่ารัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี จะลาออกจากตำแหน่ง

การชุมนุมดังกล่าวได้มีการยืดเยื้อและทวีความรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น และมีการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารบ่อยครั้ง จนในที่สุดจำเป็นต้องยุติการชุมนุมในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 จนในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และบางอำเภอของปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา โดยมีผลตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป [1]

...

ลำดับ เหตุการณ์

26 มีนาคม

7 เมษายน

  • กลุ่มคนเสื้อแดงได้ล้อมรถยนต์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่พัทยา โดยนำรถมอเตอร์ไซต์จอดขวาง แล้วเข้าไปตะโกนด่านายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งมีการขว้างหมวกกันน็อคใส่กระจกด้านหลังรถจนแตกเสียหาย[2]

8 เมษายน

  1. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี
  2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  3. การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปรับปรุงใด ๆ ให้ดีขึ้นตามหลักสากล ต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างนักประชาธิปไตยผู้มีประวัติและพฤติกรรมเชิด ชูระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์

ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงได้เรียกร้องให้เวลา 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นจะมีการยกระดับการชุมนุม[3]

10 เมษายน

กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการทำลายประตูโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท เพื่อขัดขวางการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อวันที่ 11 เมษายน
นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แถลงข่าวหลังสามารถบุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท และขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่ 11 เมษายน
  • ผู้ชุมนุมนำโดยกลุ่มแท๊กซี่ได้ทำการปิดถนนตามแยกต่าง ๆ ภายในกรุงเทพมหานคร และขู่ว่าจะก่อจลาจลในสถานที่ต่าง ๆ รัฐบาลประกาศให้วันที่ 10 เมษายนเป็นวันหยุดราชการ
  • นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นำผู้ชุมนุมจากกรุงเทพมหานคร ไปชุมนุมที่พัทยา นายอริสมันต์เจรจากับ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อขอยื่นหนังสือกับตัวแทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน แล้วจะเดินทางกลับ โดยยืนยันจะไม่ขัดขวางการประชุมในวันที่ 11 เมษายน

11 เมษายน

  • กลุ่มผู้ชุมนุมจากหน้าทำเนียบรัฐบาล และในจังหวัดชลบุรี นำโดยนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เคลื่อนการชุมนุมสู่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำ เอเชียตะวันออก เพื่อต่อต้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่ถูกอาสาสมัครกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินป้องกัน จึงเกิดการปะทะกัน แต่เมื่อมีการเจรจา การปะทะจึงยุติลง ทั้งสองฝ่ายร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน กลุ่มคนเสื้อแดงจึงเดินเท้าเข้าไปชุมนุมหน้าโรงแรมได้ ต่อมามีการบุกเข้าไปในศูนย์นักข่าว และมีการแถลงข่าวโดยนายอริสมันต์ เพื่อแถลงถึงสาเหตุที่ต้องบุกเข้ามาภายในโรงแรม โดยอ้างว่ามีคนเสื้อแดงถูกคนเสื้อน้ำเงินยิงได้รับบาดเจ็บ และได้เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิด ภายใน 1 ชั่วโมง
  • แต่ทว่า รัฐบาลไม่ดำเนินการตามที่กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้อง จึงได้ทำการบุกเข้ามาในโรงแรม จนทำให้สถานที่ประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกเสียหาย[7] จนรัฐบาลร่วมกับที่ประชุมอาเซียนประกาศเลื่อนการประชุมนานาชาติออกไป และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขต พื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี[8] จนกระทั่งส่งผู้นำต่างประเทศกลับเสร็จสิ้น จึงได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

12 เมษายน

  • กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมารวมตัวที่กรุงเทพมหานคร และเกิดการปิดถนนทั่วกรุงเทพ โดยเริ่มจากนำขบวนแท็กซี่มาปิดบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองถูกควบคุม ตัว แกนนำได้ประกาศบนเวทีว่า ขณะนี้นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรองถูกจับกุมตัว เนื่องจากไปขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก[9] และได้มีรายงานว่านายกรัฐมนตรีกำลังจะประกาศภาวะพระราชบัญญัติบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสลายการชุมนุม นายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี บางอำเภอของปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐมและพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 12 เมษายน
  • หลังจากที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กลุ่มคนเสื้อแดงได้บุกเข้าไปภายในกระทรวงมหาดไทย ในเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่อารักขานายกได้มีการยิงปืนเพื่อปราม เมื่อรถยนต์ของนายกรัฐมนตรีได้ขับรถฝ่าออกไป โดยมีเจ้าหน้าที่คุ้มกัน ผู้ชุมนุมได้เข้าไปแย่งปืนจากเจ้าหน้าที่คนนายหนึ่งและทำร้ายเจ้าหน้าที่ได้ รับบาดเจ็บ ต่อมามีรถเก่งสีดำพยายามขับไปรอบๆ กระทรวงมหาดไทย แต่ปรากฏว่ารถคันดังกล่าวไปอยู่ท่ามกลางคนเสื้อแดงและได้มีการปาสิ่งของต่าง ๆ จากนั้น การ์ดเสื้อแดงและคนเสื้อแดงได้ลากนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ออกมาจากรถ[10][11] ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หมายเอาชีวิต[12] [13] ทั้งนี้ นายสุพร อัตถาวงศ์ แกนนำคนเสื้อแดงที่ไปชุมนุมหน้ากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศบนเวทีชุมนุมว่ามีคน เสื้อแดงเสียชีวิต 2 คน โดยอ้างว่าผู้ที่รักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรียิงและมีการนำตัวเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีมายังหน้าเวที และมีการยึดปืนของเจ้าหน้าที่ไว้และยังอ้างว่าปืนของเจ้าหน้าที่สามารถใช้ เก็บเสียงได้ ต่อมาในวันที่ 19 เมษายน 2552 พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.ได้ตั้งข้อหา"พยายามฆ่า" และมีรางวัลนำจับให้ประชาชนที่แจ้งเบาะแสผู้ต้องหารายละ 50,000 บาท ซึ่งผู้ต้องหามีทั้งหมด 20 ราย รวม นายสุพร อัตถาวงศ์[14]

13 เมษายน

รถแก๊สแอลพีจีที่มีการอ้างว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนำไปจอดไว้ที่หน้าแฟลตดินแดง (13 เม.ย. 52)
ภาพบนจอโทรทัศน์จากสถานี D-Station หลังถูกสถานีดาวเทียมไทยคมระงับสัญญาณ
บริเวณถนนพิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล หลังมีการประกาศยุติการชุมนุม] (14 เม.ย. 52)
  • กำลังทหารและตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตา กระสุนจริงและกระสุนฝึกหัดเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณแยกดินแดง จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 70 คน[15][16] และมีรายงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุมเองว่า มีผู้เสียชีวิตจากการเข้าสลายการชุมนุมด้วย[17] ซึ่งกองทัพได้ออกมากล่าวในภายหลังว่ามีการยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าแต่ไม่ได้ยิง เข้าใส่ผู้ชุมนุม ทว่า ทางฮิวแมน ไรท์ วอทซ์ได้ ยืนยันว่ากองทัพมีการยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมจริง[18]
  • ในเวลาประมาณ 12.00 น.นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว.สิงห์บุรี ได้เข้ายื่นหนังสือต่อราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่สำนักพระราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีนายอินทร์ จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้รับหนังสือแทน[19]
  • ในเวลาประมาณ 16.00 น. สัญญาณภาพจากสถานี D-Station ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้ถ่ายทอดการชุมนุมโดยตลอด ถูกแทนที่ด้วยข้อความบนจอโทรทัศน์ว่า "ขออภัย ทางสถานีดาวเทียมไทยคม มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณ D-Station ตามคำสั่งของรัฐบาลในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน[20]
  • ในเวลาราว 21.30 น.เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับชาวบ้านหลายกลุ่มที่พยายามปกป้อง พื้นที่ของตนเองจากผู้ก่อการจลาจลจนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่ตลาดนางเลิ้ง[21] และกลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวว่ามีผู้ชุมนุมจำนวน 3 คนเสียชีวิต

14 เมษายน

จนกระทั่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการยกเลิก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในตอนเย็นวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 กลุ่มแนว ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ รุ่น 2 นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นำคนเสื้อแดงชุมนุมบริเวณท้องสนามหลวง และนัดเดินสาย 5 จังหวัด ก่อนรวมพลใหญ่ที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยใช้ฤกษ์พฤษภาทมิฬ 17-20 พ.ค. [25]

ผลกระทบ

สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 14 เมษายน ว่าการบริการสาธารณะของรัฐเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและการสูญเสียรายได้ ประมาณ 330 ล้านบาท แบ่งเป็น ความเสียหายต่อทรัพย์สินและการสูญเสียรายได้ของรถโดยสารประจำทางประมาณ 76 ล้านบาท การสูญเสียรายได้จากการให้บริการของรถไฟประมาณ 12 ล้านบาท ทางด่วนประมาณ 3 ล้านบาท สูญเสียรายได้จากการยกเลิกเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารทางอากาศประมาณ 10 ล้านบาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินและการสูญเสียรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการไฟฟ้าประมาณ 118 ล้านบาท และความเสียหายต่อทรัพย์สินของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ประมาณ 119 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้ประเมินผลกระทบต่อเนื่องในด้านการท่องเที่ยวโดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะลดลงประมาณ 877,474 คน และรายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ 102,385 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2551[26][27][28] และทำให้คนตกงานถึง 257,000 ตำแหน่ง[29]

( โดยความเห็นของผม กรณีนักท่องเที่ยวลดลงในปี 2551 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก มีผลทำให้นักท่องเที่ยวลดลง โดยเฉพาะในประเทศท่องเที่ยวระดับโลกแถวยุโรปล้วนได้รับผลกระทบทั่วหน้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อกล่าวหาที่ฝ่ายรัฐพยายามยัดเยียดให้ )

ทางรัฐบาลได้ออกมาประมาณตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ ที่ 120 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง[30] ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้อ้างว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 6 คนจากการชุมนุมดังกล่าว[31] ทั้งนี้ ศพคนเสื้อแดง 2 ศพที่ถูกพบว่าลอยอยู่เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตำรวจได้สรุปว่าเป็นการฆาตกรรมที่มีเหตุจูงใจมาจากการเมือง[32] ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาสรุปรายงานว่า ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด[33]

อ้างอิง

  1. ^ รัฐบาลแถลงประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มติชนออนไลน์ 24 เมษายน 2552
  2. ^ = ขบวนรถ ‘อภิสิทธิ์’ ชนมอเตอร์ไซค์เสื้อแดง ผู้ชุมนุมตามด่า-ทุบรถ แต่ขับหนีได้สำเร็จ ประชาไท 8 เมษายน 2552
  3. ^ คมชัดลึก. แถลงการณ์เสื้อแดงจี้"เปรม-สุ รยุทธ์-ชาญชัย-มาร์ค"ลาออกทันที
  4. ^ UPDATE 4-Anti-govt rally in Bangkok, PM says Asia summit on."Reuters". April 8, 2009
  5. ^ UDD Demonstration, Victory Monument, Bangkok. 9th April 2009.
  6. ^ คมชัดลึกแม้วปลุกเสื้อแดง3วัน สู้นำปชต.กลับบ้าน
  7. ^ คมชัดลึก. เสื้อแดงบุกรร.ที่ประชุมอาเซียน
  8. ^ คมชัดลึก. ประกาศพรก.ฉุกเฉินฯเมืองพัทยา
  9. ^ http://www.vancouversun.com/news/Thai+ministry+stormed+after+govt+declares+emergency/1489466/story.html
  10. ^ [1]และมีข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีออกมาออก จากกระทรวงมหาดไทยแล้ว
  11. ^ โพสต์ทูเดย์เสื้อแดงทุบรถนายกฯ
  12. ^ http://www.ft.com/cms/s/55e5ef2c-2fe4-11de-a2f8-00144feabdc0,Authorised=false.html?_i_location=http%3A%2F%2Fwww.ft.com%2Fcms%2Fs%2F0%2F55e5ef2c-2fe4-11de-a2f8-00144feabdc0%2Cs01%3D1.html%3Fnclick_check%3D1&_i_referer=http%3A%2F%2Fthaipoliticalprisoners.wordpress.com%2F2009%2F04%2F25%2Fnew-abhisit-in-the-financial-times%2F&nclick_check=1
  13. ^ http://www.torontosun.com/news/world/2009/04/12/9093661.html#/news/world/2009/04/12/pf-9093661.html
  14. ^ คมชัดลึก 19 เมยฬ 2552ตั้งข้อหา พยายามฆ่า"อภิสิทธิ์"20เสื้อแดง
  15. ^ Abhisit Vejjajiva won the media battle but the hardest job is yet to come. The Times. April 14, 2009
  16. ^ Thai troops open fire on protesters in Bangkok. The Times. April 13, 2009
  17. ^ ทหารตรึงกำลังเข้มคุมสถานการณ์ตาม จุดสำคัญ ข่าวจากสำนักข่าวไทย
  18. ^ Human Rights Watch calls for Thailand inquiry after riots. The Telegraph. April 16, 2009
  19. ^ มติชน กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นถวายฎีกา"ในหลวง" ด้าน"สมเจตน์"อัดเจตนาป้องเสื้อแดง
  20. ^ [2]ไทยคมตัดสัญญาณ โทรทัศน์D-Stationแล้ว
  21. ^ คมชัดลึกคนชุมชนนางเลิ้งปะทะ เสื้อแดงดับ2
  22. ^ Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence. The Guardian. April 14, 2009
  23. ^ ASTVผู้จัดการออนไลน์3 แกนนำโจรแดงโวย!!ไม่ได้รับประกันตัว-ถูกแยกขังเดี่ยว
  24. ^ สำนักข่าวไทยการส่งผู้ชุมนุม กลับภูมิลำเนาเป็นไปอย่างเรียบร้อย
  25. ^ ส.ส.พท.เล่นเกม"ศพทหาร" เผา"หลอก" "ม็อบแดง"ยังชุมนุมหนาตา ถือฤกษ์พ.ค.ทมิฬลุยรอบใหม่มติชนรายวัน วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11369
  26. ^ สศช.ประเมินความเสียหายจากม็อบเสื้อ แดง 330 ล.. เดลินิวส์ (29 เมษายน 2552). สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2552
  27. ^ สศช.ประเมินเสื้อแดงทำบริการสาธารณะ เสียหาย 330 ล้าน. มติชนออนไลน์ (29 เมษายน 2552). สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2552
  28. ^ สภาพัฒน์ฯ สรุปเสื้อแดงก่อจลาจลเสียหายยับ. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (29 เมษายน 2552). สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2552
  29. ^ http://www.thailandoutlook.com/thailandoutlook1/top%20menu/investor%20news/Daily%20News%20Summary?DATEDAILY=Monday,%20April%2020,%202009
  30. ^ Army pressure ends Thai protest. April 14, 2009
  31. ^ It Begins. Bangkok Pundit. April 13, 2009
  32. ^ Police probe 'Red Shirt' deaths. The Straits Times. April 16, 2009
  33. ^ No death inflicted by crowd control during Songkran mayhem. The Nation. september 11, 2009
http://th.wikipedia.org/wiki/เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย_เมษายน_พ.ศ._2552

------------------------------------------------------

ม็อบเสื้อแดง (นปช.)
Red Shirt Mob (
UDD)
<<< ฉลองยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน กันคึกคัก >>>
<<< โดนรุมกล่าวหาว่าเป็นแดงเทียมที่สนามหลวงเมื่อคืนนี้ >>>
<<< รัฐบาลจำลองภาพยุคมืดให้ประชาชนที่สนใจไปดู >>>
<<< เมื่อวานไปดูว่าวที่สนามหลวงมา >>>
<<< ไปกินข้าวที่สนามหลวงมา คนเริ่มเยอะขึ้น >>>
<<< ภาพเหตุการณ์ หน้าศาลอาญาวันนี้ >>>
<<< ย้อนรอย ข้อกล่าวหาทักษิณสนับสนุนคนเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมนุมเพชรบุรีซอย7 รวมถึงเผามัสยิด >>>
<<< มาเล่าเรื่องที่ไปพัทยา >>>
<<< วันที่ 8 เมษา ประกาศศักดาคนเสื้อแดง >>>

ทหารปะทะม็อบเสื้อแดง
Soldier clashed with Red Shirt Mob

<<< ลูกเห็บตกใส่หลังคาบ้านยังทะลุ แล้วลูกกระสุนตกใส่หัวหล่ะจะเป็นยังไง >>>
<<< เสื้อน้ำเงิน กองกำลังของใคร ? >>>
<<< Whose Blue Shirt mop?>>>

<<< พวกนี้เป็นใคร? >>>
<<< Who are they? >>>

<<< ชนิดกระสุน >>>
<<< ดูอาวุธที่ใช้ ดูท่าที่ยิง >>>
<<< See the weapon used, See manner at shooting >>>

<<< ประกาศคนหาย >>>
<<< ต้องการพิสูจน์ ยิงปืนหัวกระสุนกระดาษใส่ทหารกล้า ว่าอันตรายไหม >>>


http://maha-arai.blogspot.com/

------------------------------------------------------


FfF