บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


27 พฤษภาคม 2552

<<< ผลเสียของการเป็นหนี้เยอะๆ เริ่มทยอยออกมาให้เห็นกันแล้ว >>>

ประชาชาติธุรกิจ
′มูดี้ส์′เล็งหั่นเครดิต11แบงก์ไทยเหตุประเมินศักยภาพการคลังรัฐบาลลดลง
จำนวนคนอ่าน 125 คน | วันที่ 27 พฤษภาคม 2552 - เวลา 14:06:16 น.

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตรียมทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากของธนาคารในประเทศไทย 11 แห่ง ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยธนาคารดังกล่าวได้แก่ ธ.กรุงเทพ (BBL), ธ.กรุงศรีอยุธยา (BAY), ธ.กสิกรไทย (KBANK), ธ.กรุงไทย (KTB), ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT), ธ.ทหารไทย (TMB), ธ.นครหลวงไทย (SCIB), ธ.ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ (UOBT), ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย (EXIMT) และธ.อาคารสงเคราะห์ (GHB)

แค โรลีน ซีท ผู้ช่วยรองประธานและนักวิเคราะห์ของมูดี้ส์ กล่าวว่า การทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากนั้น จะมีการพิจารณาที่บริบทของความสามารถของไทยในการให้การสนับสนุนระบบการ ธนาคารของประเทศให้สอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาล อันเนื่องมาจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจและสินเชื่อทั่วโลก

" มูดี้ส์เชื่อว่า รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนระบบการธนาคารของประเทศอยู่แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องดูแลเรื่องหนี้สินของตนเอง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารได้รับ ประโยชน์จากการยกระดับ อันเนื่องมาจากการให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี ขณะที่วิกฤตการเงินยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของประเทศและธนาคารกลางของประเทศในการให้การสนับสนุนธนาคารใน ประเทศดำเนินการสอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาลนั้น ถือเป็นเรื่องที่ถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ"

------------------------------------------------------

ประชาชาติธุรกิจ
ธปท.โต้มูดี้ส์ แบงก์ไทยแกร่ง และฐานะการคลังไม่มีปัญหา
จำนวนคนอ่าน 69 คน | วันที่ 27 พฤษภาคม 2552 - เวลา 14:50:31 น.

นาง อัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่มมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตรียมทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สินและเงินฝากของธนาคารในประเทศไทย 11 แห่ง ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือว่า สถาบันการเงินของไทยอยู่ในฐานะที่มั่นคงแข็งแรง เห็นได้จากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสียง(บีไอเอส เรโช)ที่เฉลี่ยอยู่ประมณ 14-15% เพราะฉะนั้นไม่เห็นโอกาสทีจะมีปัญหา

ส่วนเรื่องฐานะการคลังของไทยแม้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะปรับเพิ่ม ขึ้นอยู่ที่ 40% ของจีพีพี แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆมอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน จะพบว่าประเทศอื่นๆมีหนี้สาธารณะมากกว่าเกือบทั้งนั้น

"แม้เราจะใช้มาตรการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่คิดว่าเราจะมีปัญหาหนี้สาธารณะในอีก 2-3 ปี และแม้หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่ไม่น่าจะเกิน 60% ซึ่งหากมาตรการการลงทุนภาครัฐมีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ ในที่สุดก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง เพราะฉะนั้นฐานะการคลังและหนี้สาธารณะไม่น่าเป็นประเด็น"

-----------------------------------------------------

วันนี้มีข่าวว่ามูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส
เตรียมทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สิน
และเงินฝากของธนาคารในประเทศไทย 11 แห่ง
ซึ่งมีแน้วโน้มที่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือ
การทบทวนครั้งนี้พิจารณาจากความสามารถของไทย
ในการให้การสนับสนุนระบบการ ธนาคารของประเทศ
ให้สอดคล้องกับความสามารถในการดูแลหนี้สินของรัฐบาล
พูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ
เริ่มเห็นว่ารัฐบาลไทยมีหนี้เยอะ
กลัวจะไม่มีปัญญาหาเงินมาใช้หนี้เจ้าหนี้
และช่วยเหลือธนาคารทั้งหลาย
ถ้าเกิดธนาคารเหล่านี้มีปัญหา

ก็อย่างที่เคยบอกไว้หลายครั้ง
และหลายเดือนแล้วว่า
การมีหนี้มากๆ ไม่ดียังไง
เจ้าหนี้ส่วนใหญ่มักกังวลกลัวไม่ได้หนี้คืน
จะหาทางกดดันเื่พื่อให้ลูกหนี้
มีปัญญาหาเงินมาจ่ายคืน
ดังนั้นพอเห็นลูกหนี้ชักเริ่มจะก่อหนี้เพิ่ม
ในขณะที่หนี้เดิมยังใช้ไม่หมด
แถมสถานการณ์โดยรวมก็ไม่ค่อยดี
ก็ต้องมีการส่งสัญญาณเตือนกันบ้าง

แต่ก็อย่างที่เห็น
ธปท. ปากแข็งรีบออกมาแก้ต่างทันควัน
ว่ายังแข็งแรงดียังงั้นยังงี้
ถามจริงๆ ใครจะเชื่อ
ถ้ายังดีอยู่ทำไมต้องเร่งรีบจะกู้อีกหลายแสนล้าน
จะก่อหนี้อีกเพียบ
ต้องรีบแก้กฏหมายเพื่อให้มีหนี้ได้เยอะขึ้น
การออกมาแก้ตัวทำนองว่า
ประเทศอื่นมีหนี้สาธารณะมากกว่า
แต่ไม่ได้มองว่าเขามีปัญญาจ่ายคืนได้มากกว่าไหม

อย่างที่เคยยกตัวอย่าง
อย่างผมมีหนี้ 1 ล้าน กับทักษิณมีหนี้ 1,000 ล้าน
คุณว่าความสามารถในการหาเงินมาใช้หนี้ต่างกันไหม
ต่อให้ผมมีหนี้น้อยกว่าหนี้ทักษิณ 1,000 เท่า
แต่ความสามารถในการหาเงินมาใช้หนี้คืน
รับประกันได้น้อยกว่าทักษิณหลายพันเท่า

และออกมาแก้ตัวด้วยมุกเดิมทำนองว่า
"หากมาตรการการลงทุนภาครัฐมีประสิทธิภาพ
ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้
ในที่สุดก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง "
แล้วได้มองไหมว่า
ถ้ามาตรการนั้นไม่ประสบผลสำเร็จหล่ะ
ก็เห็นๆ กันอยู่ว่า
ที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จไหม
หว่านเงินแจกเงินไปมากมาย
มีอะไรดีขึ้น
และยังจำรายงาน ศปร. ได้ไหม
เขาสรุปว่ายังไง
เปิดเสรีการเงินโดยไม่มีมาตรการรองรับ
ทั้งๆ ที่มีประเทศที่เปิดก่อนหน้ามีปัญหาให้เห็น
ก็เพราะคิดแบบนี้ใช่ไหมว่า
ไม่เกิดปัญหา ราบรื่นตลอด
พอเกิดปัญหาตัวใครตัวมัน
โยนกันไปโยนกันมาหาคนรับผิดชอบไม่ได้
อยากบอกคน ธปท.
ถ้าว่างๆ ลองไปหารายงานศปร.อ่านบ้างน่ะ
ถ้าหาที่ไหนไม่เจอมาที่เว็บมาหาอะไร
เก็บไว้ละเอียดยิบ

เมื่อเริ่มมีการส่งสัญญาณมาอย่างนี้
แล้วยังคิดจะเดินหน้าก่อหนี้เพิ่มกันอีก
กะให้พังกันไปข้างหนึ่งใช่ไหม
จากรายงาน ศปร. ตอนหนึ่งระบุ
ถึงความไม่เชื่อมั่นของต่างชาติ
ทำให้เร่งเกิดวิกฤตขึ้นมา
ทั้งจากการส่งออกติดลบ
และการมีหนี้ต่างประเทศสูงมากๆ
และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ลดเครดิตลงเรื่อยๆ
นี่ก็แทบไม่ต่างกันเลย
ต่อให้รีบออกมาแก้ข่าวทันควัน
ก็ไม่เกิดผลอะไร
แถมช่างไม่รู้อะไรเสียเลย
เพราะคนที่สนใจการจัดอันดับความน่าเชื่อ
ไม่ใช่ประชาชนคนไทย
ต่อให้มาแก้ตัวทันควันก็ไม่เกิดอะไร
เพราะคนที่สนใจที่แท้จริง
ก็คือเจ้าหนี้ต่างๆ
ที่จะขึ้นดอกเบี้ย
และจะเรียกเก็บหนี้คืนเร็วขึ้น
ถ้าเห็นว่าอันดับความน่าเชื่อถือลดลงเรื่อยๆ
เหมือนหุ้นนั่นแหละ
บทมันจะขาลงก็มีแต่คนหนีตายเทขายทิ้ง
แต่เจ้าหนี้ถ้าเห็นลูกหนี้มีปัญหามากขึ้น
ก็มีแต่จะมาเร่งรีบเก็บหนี้มากขึ้นเท่านั้นเอง

"วิชาต่างๆ เรียนรู้ไว้เพื่อใช้ประกอบอาชีพ
วิชาประวัติศาสตร์เรียนรู้ไว้เพื่อแก้ไขอนาคต"

โดย มาหาอะไร

------------------------------------------------------

<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญ และ คำนำ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญตารางและภาพ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สรุปความเห็น และ บทที่ 1 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 2 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 3-4 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 5-7 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( ภาคผนวก ) >>>
<<< ผลของการเป็นหนี้เยอะๆ >>>
<<< จะแปรรูปเพื่อกู้เพิ่ม ระวังจะซ้ำเติมประเทศในภายหลัง >>>
<<< อย่าลอกมาทำ อย่าจำมาตอบ โดยไม่คิดให้รอบคอบ >>>
<<< ถามว่า รัฐบาลนี้จะเร่งรีบแก้กฏหมายให้ก่อหนี้สาธารณะ ไม่เกิน 60 % ทำไม >>>
<<< ข้อมูลฐานะการคลังประเทศไทยวันนี้ ก่อนที่อีก 3-4 ปีจะเพิ่มอีกเท่าตัว >>>
<<< แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ Gumagin >>>

------------------------------------------------------